กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

แอสตาแซนธิน

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) คือสารสีแดงซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มคาโรเทนอยด์ (Carotenoids) ซึ่งเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติในสาหร่ายบางประเภทซึ่ง และทำให้เกิดสีแดงหรือสีชมพูในเนื้อปลาแซลมอน ปลาเทราท์ กุ้ง ล็อบสเตอร์ และอาหารทะเลอื่นๆ

แอสตาแซนธินเป็นสารที่ใช้เพื่อการป้องกันมะเร็งและใช้รักษาโรคดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)
  • โรคพากินสัน (Parkinson's disease)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • ภาวะคอเลสเตอรอลสูง
  • โรคตับ
  • โรคทางตา ได้แก่ ต้อกระจก (Cataract) และจุดภาพตาเสื่อมตามวัย (Macular degeneration) โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกับเบาหวานสูง
  • โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome)
  • โรคข้อต่อรูมาตอยด์อักเสบ (Rheumatoid arthritis)

แอสตาแซนธินยังใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายในการออกกำลังกาย ลดความเสียหายและการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอีกด้วย

แอสตาแซนธินชนิดรับประทานใช้ป้องกันการเกิดภาวะผิวหนังไหม้แดด ทำให้หลับดีขึ้น บรรเทาอาการปวดหรือไม่สบายช่องท้องส่วนบนหรืออาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ควบคุมอาการจากภาวะหมดประจำเดือน แอสตาแซนธินที่ใช้ทาผิวโดยตรงจะใช้ในการป้องกันการเกิดภาวะผิวหนังไหม้แดดและลดริ้วรอย จึงใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง 

แอสตาแซนธินยังใช้ย้อมสีอาหาร เช่น แซลมอน ปู กุ้ง ไก่ และผลิตภัณฑ์จากไข่ต่างๆ และใช้เป็นอาหารเสริมแก่ไก่ไข่อีกด้วย

แอสตาแซนธินทำงานอย่างไร?

แอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

การใช้และประสิทธิภาพของแอสตาแซนธิน

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้แอสตาแซนธินรักษาได้หรือไม่

  • ภาวะสูญเสียการมองเห็นตามอายุ (age-related macular degeneration (AMD)) AMD เกิดจากเรตินาได้เสียหายไปบางส่วน โดยงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการกินอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของแอสตาแซนธิน ลูทีน ซีอาแซนทีน วิตามินอี วิตามินซี สังกะสี และทองแดงจะช่วยลดความเสียหายที่ศูนย์กลางของเรตินาในผู้ป่วย AMD ได้ แต่จะไม่ช่วยหากความเสียหายนั้นเกิดขึ้นโดยรอบพื้นที่ของเรตินา
  • ภาวะการกดรัดเส้นประสาทมีเดียน (carpal tunnel syndrome) งานวิจัยกล่าวว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแอสตาแซนธิน ลูทีน บีตา-แคโรทีนและวิตามินเอ ไม่ได้ช่วยลดอาการเจ็บปวดจากโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือแต่อย่างใด
  • อาหารไม่ย่อย (dyspepsia) งานวิจัยพบว่าการกินแอสตาแซนธิน 40 mg ทุกวันจะลดอาการกรดไหลย้อนของผู้ป่วยอาหารไม่ย่อยได้ อีกทั้งยังสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างดีในผู้ป่วยภาวะอาหารไม่ย่อยจากการติดเชื้อ H. pylori แต่หากเป็นการกินขนาดต่ำ 16 mg ทุกวันจะไม่ช่วยให้อาการกรดไหลย้อนดีขึ้น รวมถึงไม่ลดอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย หรือลดปริมาณแบคทีเรีย H. pylori ในกระเพาะอาหาร
  • กล้ามเนื้อเสียหายจากการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการกินแอสตาแซนธินต่อเนื่องนาน 90 วันไม่ได้ช่วยลดความเสียหายของกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย (กลุ่มที่สังเกตคือนักฟุตบอลชาย)
  • ปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีแอสตาแซนธิน ลูทีน และน้ำมันดอกคำฝอย ไม่ได้ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย 4 วันแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับการกินน้ำมันดอกคำฝอยเพียงอย่างเดียว
  • ประสิทธิภาพการออกกำลังกาย งานวิจัยที่กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้แอสตาแซนธินกับศักยภาพการออกกำลังกายนั้นยังคงขัดแย้งกัน บางชิ้นกล่าวว่าการกินแอสตาแซนธินจะลดเวลาที่นักกีฬาชายใช้ในการออกกำลังกายในแต่ละรอบลง แต่งานวิจัยชิ้นอื่นๆ กลับแสดงให้เห็นว่าแอสตาแซนธินไม่ได้ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการออกกำลังกายของนักกีฬาลงแต่อย่างใด
  • คอเลสเตอรอลสูง งานวิจัยกล่าวว่าการกินแอสตาแซนธินจะช่วยลดระดับไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) และเพิ่มไขมันดี (HDL) งานวิจัยชิ้นอื่นๆ ได้กล่าวอีกว่าการกินแอสตาแซนธิน, เบอร์แบร์ริน (Berberine), โพลีโคซานอล (Policosanol), ข้าวยีสต์แดง, โคเอนไซม์คิว10 (coenzyme Q10) และกรดโฟลิก จะเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) และลดปริมาณคอเลสเตอรอลโดยรวม ไขมันไม่ดี (LDL) และลดไตรกลีเซอไรด์ของผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติลง
  • ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย งานวิจัยบางชิ้นได้กล่าวว่าการกินแอสตาแซนธินจะช่วยเพิ่มอัตราการมีบุตรของผู้ชายที่มีปัญหามีบุตรยาก
  • อาการจากภาวะหมดประจำเดือน (Menopausal symptoms) งานวิจัยกล่าวว่าการกินผลิตภัณฑ์ที่มีแอสตาแซนธิน วิตามินดี3 ไลโคปีน (lycopene) และซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ (citrus bioflavonoids) ทุกวันจะช่วยลดอาการต่างๆ จากการหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ ปวดข้อต่อ อารมณ์แปรปรวน และปัญหาการขับถ่าย
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis (RA)) งานวิจัยพบว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีแอสตาแซนธิน ลูทีน วิตามินเอ วิตามินอี และน้ำมันดอกคำฝอยจะช่วยลดอาการเจ็บปวดและทำให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์รู้สึกดีขึ้น

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • แดดเผา แอสตาแซนธินอาจช่วยลดความเสียหายบนผิวหนังจากแสงอาทิตย์ได้ โดยแอสตาแซนธินชนิดรับประทานจะใช้เวลา 9 สัปดาห์ในการลดอาการแดงและสูญเสียความชุ่มชื้นของผิวหนังที่เกิดจากรังสียูวี

  • ผิวหนังเหี่ยวย่น งานวิจัยพบว่าการกินแอสตาแซนธินจะช่วยดึงให้ผิวหนังเกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดริ้วรอยบนผิวหนังของทั้งชายและหญิงวัยกลางคน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นภายในผิวหนังอีกด้วย งานวิจัยอื่นๆ ยังได้แสดงให้เห็นว่าการกินแอสตาแซนธินพร้อมกับการทาครีมแอสตาแซนธินบนใบหน้า 2 ครั้งต่อวันจะช่วยลดริ้วรอยได้จริง

  • ภาวะอื่นๆ

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของแอสตาแซนธิน

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของแอสตาแซนธิน

แอสตาแซนธินค่อนข้างปลอดภัยเพราะเป็นสารที่พบได้ในอาหาร เมื่อใช้เป็นอาหารเสริมในปริมาณ 4-40 mg ต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ หรือ 12 mg ทุกวันเป็นเวลา 6 เดือน 

แอสตาแซนธินสามารถใช้ร่วมกับคาโรทีนอยด์ วิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ อย่างปลอดภัยที่ 4 mg ต่อวันเป็นเวลานาน 12 เดือน ส่วนผลข้างเคียงจากแอสตาแซนธินอาจมีทั้งทำให้ลำไส้ทำงานมากขึ้นและทำให้อุจจาระมีสีแดง อีกทั้งแอสตาแซนธินขนาดสูง ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้แอสตาแซนธินในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้แอสตาแซนธินเพื่อความปลอดภัย

การใช้แอสตาแซนธินร่วมกับยาชนิดอื่น

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มยาที่มีปฏิกิริยากับแอสตาแซนธิน

ปริมาณยาที่ใช้

ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับแอสตาแซนธินนั้นจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นอายุ สุขภาพ และภาวะสุขภาพอื่นๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของแอสตาแซนธิน ดังนั้นพึงตระหนักว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้แอสตาแซนธินทุกครั้ง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acta Biochim Pol, Cosmetic benefits of astaxanthin on humans subjects. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22428137), 17 Mar 2012.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)