โรคคออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคคออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

โรคคออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นทำให้เกิดการอักเสบและเจ็บในคอ ส่วนมากมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus กลุ่ม A โรคนี้สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ทุกช่วงอายุ แต่มักพบบ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-15 ปี การมีน้ำมูกและไอนั้นสามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้

อาการที่พบ

ความรุนแรงของอาการในโรคนี้นั้นจะขึ้นกับแต่ละบุคคล บางคนอาจจะมีอาการไม่รุนแรงเช่นเจ็บคอ ในขณะที่บางคนอาจจะมีอาการรุนแรงกว่าเช่นมีไข้ กลืนลำบาก อาการที่พบบ่อยของโรคนี้ประกอบด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นภายใน 5 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อ

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

อาการเจ็บคอนั้นไม่ได้เกิดจากโรคนี้เพียงอย่างเดียว โรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอประกอบด้วย

  • หวัด
  • การติดเชื้อในโพรงจมูก
  • มีน้ำมูกไหลด้านหลังจมูก
  • กรดไหลย้อน

อาการเจ็บคอที่เกิดจากโรคอื่นๆ นั้นมักจะดีขึ้นได้เองโดยที่อาจจะได้รับการรักษาหรือไม่ก็ได้ในเวลาไม่กี่วัน

ควรไปพบแพทย์หากคุณมีอาการต่อไปนี้

  • เจ็บคอนานกว่า 2 วัน
  • เจ็บคอและมีปื้นสีขาว
  • สีจุดสีแดงเข้มที่ต่อมทอนซิลหรือเพดานปาก
  • เจ็บคอ ร่วมกับมีผื่นสีชมพูลักษณะคล้ายกระดาษทรายที่ผิวหนัง
  • หายใจลำบาก
  • กลืนลำบาก

การวินิจฉัย

หากคุณมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง แพทย์จะทำการตรวจคอและมองหาการอักเสบที่อาจเกิดขึ้น แพทย์อาจจะมีการตรวจต่อมน้ำเหลืองที่คอและถามอาการอื่นๆ หากแพทย์สงสัยว่าเกิดจากโรคนี้ อาจมีการใช้ไม้พันสำลีป้ายที่ด้านหลังของคอเพื่อเก็บตัวอย่างก่อนนำไปตรวจว่าเกิดจากการติดเชื้อนี้หรือเชื้ออื่นๆ

การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ให้ผลเร็วและใช้เวลาเพียงไม่นาน หากพบว่าผลเป็นลบ แต่แพทย์ยังคงคิดว่าเป็นโรคนี้ อาจจะมีการตรวจซ้ำอีกครั้ง

การรักษา

ยาปฏิชีวนะ

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ แพทย์จะทำการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ ยาเหล่านี้จะยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียและการติดเชื้อ มียาหลายชนิดที่สามารถใช้ได้ แต่ยาที่มักใช้บ่อยก็คือยา penicillin และ amoxicillin

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณจำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้หมดเพื่อให้สามารถฆ่าเชื้อได้ทั้งหมด หากหยุดยาหลังจากที่อาการดีขึ้น อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำและทำให้เกิดอาการอีกครั้งได้

การดูแลที่บ้าน

นอกเหนือจากการใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว มีวิธีการรักษาที่บ้านที่อาจจะช่วยทำให้อาการของโรคนี้ดีขึ้นเช่น

  • การดื่มน้ำอุ่น เช่นน้ำผสมเลมอนและชา
  • ดื่มน้ำเย็นเพื่อช่วยให้รู้สึกชาที่คอ
  • ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ
  • รับประทานยาแก้ปวดเช่นพาราเซตามอล
  • เติมเกลือ ½ ช้อนชาลงในน้ำ 1 ถ้วยก่อนนำมากลั้วปาก

ผลลัพธ์ในการรักษา

หากได้รับการรักษา อาการมักจะดีขึ้นภายในเวลา 1 สัปดาห์ แต่ถ้าหากไม่ได้รักษา อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น

  • การติดเชื้อที่หู
  • การติดเชื้อที่โพรงจมูก
  • โรคไข้รูห์มาติกซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อ หัวใจและผิวหนัง
  • Poststreptococcal glomerulonephritis ซึ่งเป็นการอักเสบของไต
  • Mastoiditis การติดเชื้อที่กระดูก mastoid ที่กะโหลกศีรษะ
  • ไข้อีดำอีแดง เกิดจากสารพิษที่สร้างจากเชื้อ strep ทำให้เกิดผื่นสีดำแดงตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • Guttate psoriasis เป็นภาวะที่ทำให้เกิดจุดสีแดง ขนาดเล็กรูปร่างคล้ายหยดน้ำตามร่างกาย
  • Peritonsillar abscess เป็นการติดเชื้อที่มีหนองอยู่ด้านหลังต่อมทอนซิล

เพื่อลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ควรไปพบแพทย์หากคุณมีอาการของโรคนี้และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะอาจจะจำเป็นต้องใช้ยาตัวอื่นในการรักษาการติดเชื้อ


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Strep throat: Causes, diagnosis, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/155412)
Strep Throat: Symptoms, Causes, Diagnosis, and Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/oral-health/understanding-strep-throat-basics#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า

คุณมีเล็บเท้าที่หนาและเป็นสีเหลืองหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง

ผิวหนังที่บางนั้นอาจเกิดการฉีกขาดได้ง่ายแม้แต่เวลาที่คุณพยายามจะรักษามัน

อ่านเพิ่ม