ทน. ปภัสรา กัลปพฤกษ์ นักเทคนิคการแพทย์
เขียนโดย
ทน. ปภัสรา กัลปพฤกษ์ นักเทคนิคการแพทย์
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ควรรู้จัก

ทำความรู้จักกับโรคติดต่อที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ อาการของโรค การตรวจวินิจฉัย วิธีการรักษาและป้องกันการเกิดโรค
เผยแพร่ครั้งแรก 28 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ควรรู้จัก

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease) 

เป็นโรคที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเพียงเชื้อ HIV แต่ความจริงแล้วยังมีเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคอีกหลายชนิด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  1. โรคหนองใน (Gonorrhoea)

    เชื้อที่ก่อโรคหนองใน : Neisseria gonorrhoeae ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ต้องมีโเทฮสต์ (Host) ในการเจริญเติบโต
    ลักษณะของเชื้อ Neisseria gonorrhoeae : แบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างกลมเรียงตัวเป็นคู่โดยหันหน้าแบนเข้าหากันคล้ายรูปไต เป็นเชื้อที่ตายง่าย ไม่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความแห้ง หรือความเป็นกรด-ด่าง

    การติดต่อ อาการของโรค

    การตรวจวินิจฉัย
    สามารถทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    การป้องกันและรักษา : โรคหนองในนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นการป้องกันตัวไม่ให้ติดโรคจึงเป็นการสวมถุงยางทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ส่วนการรักษาใช้วิธีทายาปฏิชีวนะ

    • สามารถติดต่อโดยการสัมผัสเชื้อที่บริเวณเซลล์เยื่อบุผิว เช่น ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ช่องทวาร คอหอย หรือเยื่อบุตา
    • สามารถติดเชื้อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ ทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบหากไม่รักษาจะทำให้ตาบอดได้
    • เพศชาย เมื่อได้รับเชื้อจะแสดงอาการปวดแสบปวดร้อน ท่อปัสสาวะอักเสบ
    • เพศหญิง ในระยะแรกจะยังไม่แสดงอาหาร จนเริ่มปัสสาวะไม่ออก มีหนองไหลจากช่องคลอด หากไม่รักษาเชื้อจะลุกลามไปที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ปีกมดลูก ปากช่องคลอด รวมไปถึงอุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดการท้องนอกมดลูกหรือเป็นหมันได้
    • เพาะเลี้ยงเชื้อ : ทำโดยเก็บสิ่งส่งตรวจแล้วนำส่งห้องปฏิบัติการทันที เก็บที่อุณหภูมิห้อง ไม่ต้องแช่เย็น เพื่อเพาะเลี้ยงและนำไปทดสอบปฎิกิริยาเคมีเพื่อระบุสายพันธุ์ของเชื้อโรค
    • การตรวจหาปริมาณเชื้อโดยตรง : วิธีนี้เป็นวิธีที่รวดเร็ว และสามารถเจอเชื้อได้แม้มีเพียงปริมาณเล็กน้อย
  2. โรคหนองในเทียม (Chlamydia)
    เชื้อที่ก่อโรคหนองในเทียม : Chlamydia trachomatis เป็นแบคทีเรียที่ต้องมีโฮสต์ในการเจริญเติบโต เพราะเชื้อไม่สามารถสร้างพลังงานภายในเซลล์ได้ จำเป็นต้องใช้พลังภายในเซลล์จากโฮสต์

    ลักษณะของเชื้อ Chlamydia trachomatis : แบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างกลม สามารถเพิ่มจำนวนได้เมื่ออยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตเท่านั้น นอกจากนี้ C.trachomatis สามารถแบ่งแยกชนิด (Subtype) ได้อีกหลายชนิด แต่ละชนิดย่อยจะก่อให้เกิดโรคต่างกัน เช่น
    Subtype A,B,Ba ก่อให้เกิดโรคริดสีดวงตา
    Subtype L1, L2, L3 ก่อให้เกิดโรคฝีมะม่วง
    Subtype D-K ก่อให้เกิดโรคท่อปัสสาวะอักเสบ ปากมดลูกอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ

    การตรวจวินิจฉัย

    สามารถทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

    การป้องกันและรักษา : โรคหนองในเทียมยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ควรป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หากติดเชื้อแล้วสามารถรักษาได้ด้วยการทายาปฏิชีวนะ เช่น อะชิโทรมัยซิน (Azithromycin) เอรีโทรมัยซิน (Erythromycin) ดอกซีชัยคลีน (Doxycycline)

    • เมื่อมีการติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ จนกระทั่งในผู้หญิงเริ่มมีการตกขาวที่ผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือมีเลือดออกภายในหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หากไม่ได้รับการรักษาเชื้อจะแพร่กระจายจนทำให้ปากมดลูกอักเสบ ท้องนอกมดลูก รวมถึงยังเป็นปัจจัยให้เกิดการเป็นหมันในเพศหญิงได้

    • ผู้ชาย จะมีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ มีอาการปวดแสบ ปวดขัดเวลาปัสสาวะ

      แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
      ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

      จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

    • สามารถติดเชื้อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ โดยทารกจะได้รับเชื้อเมื่อคลอด แล้วสัมผัสกับเยื่อบุปากมดลูก ก่อโรคริดสีดวงตา โดยจะแสดงอาการหลังคลอดประมาณ 5-12 วัน

    • เพาะเลี้ยงเชื้อ : เลี้ยงเชื้อในเซลล์ McCoy ส่งตรวจจากผู้ป่วยในบริเวณที่ติดเชื้อ เช่น เซลล์หนองที่ขุดจากท่อปัสสาวะ ปากมดลูก หรือเยื่อบุตา
    • การตรวจหาเชื้อโดยตรง : เป็นวิธีที่รวดเร็วและสามารถเจอเชื้อได้ในปริมาณที่เล็กน้อย ด้วยวิธี Polymerase chain reaction (PCR) ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจวิเคราะห์โดยการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม DNA โดยการใช้ DNA ของเชื้อเป็นต้นแบบ แล้วจำลอง DNA ขึ้นมาใหม่ให้ได้ปริมาณ DNA ที่มากพอจะสามารถตรวจวิเคราะห์ได้
  3. อาการของโรค

  4. โรคซิฟิลิส(Syphilis)

    เชื้อที่ก่อโรคซิฟิลิส : Treponema pallidum subsp. pallidum เป็นแบคทีเรียที่ต้องการปริมาณออกซิเจนเล็กน้อย เชื้อจะมีการบุกรุกผ่านเยื่อบุที่มีบาดแผล และเพิ่มจำนวนทุก 30 ชั่วโมงเข้าสู่กระแสเลือด หลังจากนั้นจะแพร่ไปตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เชื้อจะทำให้หลอดเลือดแดงเป็นแผล ผนังหนาขึ้น ทำให้เลือดไหลผ่านเนื้อเยื่อต่างๆลดลง ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย

    ลักษณะของเชื้อ Treponema palldium subsp. pallidum : แบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างยาวเป็นเกลียวโค้งงอ ภายนอกสุดเยื่อหุ้มตลอดความยาว สามารถเคลื่อนที่ได้โดยเป็นการเคลื่อนที่แบบควงสว่าน

    อาการของโรค
    โรคซิฟิลิสแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
    ระยะแรก : ตรงบริเวณที่ติดเชื้อจะเป็นลักษณะแผลริมแข็ง
    ระยะที่สอง : มีไข้ น้ำหนักลด ต่อมนำ้เหลืองโต มีผื่นแดงกระจายทั่วผิวหนังเรียกว่า ‘ออกดอก’ เป็นระยะที่แพร่เชื้อได้มากที่สุด
    ระยะสุดท้าย : เนื้อเยื่อถูกบุกรุกและทำลาย ใช้เวลาค่อนข้างนานถึง 10-25 ปีจะพบในผู้ป่าวยที่ไม่ได้รับการรักษา อาการที่พบเช่น โรคทางระบบประสาท เกิดอัมพาต ความจำเสื่อม หรือเกิดแผลเนื้องอก
    เชื้อสามารถผ่านรกเข้าสู่ทารกได้หลังคลอด โดยจะมีอาการน้ำหนักลด มีผื่นตามตัว และถ้าเป็นมากจะทำให้ปวดตามข้อจนทำให้เสียชีวิต

    การตรวจวินิจฉัย
    สามารถทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

    การป้องกันและรักษา : โรคซิฟิลิสยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นจึงควรป้องกันการติดเชื้อด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หากติดเชื้อแล้วรักษาด้วยการทายาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลินจี (Penicillin G) หรืออาจใช้เตตระซัยคลิน (Tetracyclin chloramphinicol) ได้ กรณีที่ผู้ป่วยแพ้เพนนิซิลิน

  5. มะเร็งปากมดลูก (Cervial cancer)
    เชื้อที่ก่อโรคมะเร็งปากมดลูก : ส่วนใหญ่คือ Human Papillomavirus เป็นไวรัสที่สามารถติดได้ตามเซลล์เยื่อบุผิว มีการเพิ่มจำนวนในเซลล์ของโฮสต์ เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์และสามารถลุกลามไปยังเซลล์อื่นข้างเคียงได้
    ลักษณะของเชื้อ Human Papillomavirus : เป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมเป็น DNA ภายนอกมีเปลือกหุ้ม ไวรัสชนิดนี้มีรูปแบบยีน (Genotype) ที่แตกต่างกันมากกว่า 200 แบบ โดยแต่ละรูปแบบก่อให้เกิดโรคที่ต่างกัน เช่น
    HPV1, HPV2 ก่อให้เกิดโรคหูดที่เท้า
    HPV2, HPV4 ก่อให้เกิดโรคหูดที่มือ
    HPV6, HPV11 ก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่
    HPV16 เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงสามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ โดยปกติเมื่อได้รับเชื้อไวรัส ภูมิคุ้มกันในร่างกายสามารถกำจัดเชื้อได้ภายใน 2 ปี แต่เมื่อติดเชื้อ HPV16 ผู้ป่วยมีโอกาสที่เยื่อบุปากมดลูกจะกลายเป็นมะเร็ง

    อาการของโรค
    ช่วงแรกที่ได้รับเชื้อจะยังไม่แสดงอาหาร จะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อมาแล้วเป็นปี อาการเริ่มแรกคือ หูดที่อวัยวะเพศ หูดมีลักษณะเล็ก มีการรวมกันเป็นกลุ่มของหูด พบได้ที่บริเวณปากช่องคลอดในเพศหญิง และบริเวณองคชาติในเพศชาย
    สามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งกลไกการก่อโรคของไวรัสคือ HPV16 มีการสร้างโปรตีน E6, E7 ที่ไปยับยั้งการแสดงออกของยีนที่ควบคุมการเหนี่ยวนำให้เซลล์ตาย (Tumor suppressor genes) หน้าที่ของยีนคือการควบคุมและตรวจสอบเซลล์ที่ผิดปกติ เมื่อมีการสร้างเซลล์ที่ผิดปกติจะเหนี่ยวนำให้เซลล์นั้นเกิดการตายในที่สุด แต่เมื่อมีโปรตีนไปยับยั้งการแสดงออกของยีนดังกล่าวทำให้ยีนทำงานได้ลดลง และเกิดเซลล์ที่ผิดปกติมากขึ้นจนทำให้กลายเป็นมะเร็งในที่สุด

    การตรวจวินิจฉัย
    การตรวจวินิจฉันทำได้ดังนี้

    • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear) : เป็นการตรวจคัดกรองขั้นแรกเท่านั้น โดยจะนำเซลล์มาดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์

    • ตรวจหาสารพันธุ์กรรมของไวรัส : เช่น การตรวจ Polymerase chain reaction (PCR)

    • ตรวจหาแอนติบอดีต่อไวรัส : เช่น การตรวจ enzyme-linked immunosorbent assay(ELISA)

    การป้องกันและรักษา : มะเร็งปากมดลูกสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ โดยควรได้รับวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ส่วนการป้องกันด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

  6. โรคเริม (Herpe)
    เชื้อที่ก่อโรคเริ่ม : Herpes simplex virus (HSV) เป็นไวรัสที่สามารถติดต่อผ่านทางผิวหนังหรือน้ำลายของผู้ที่มีเชื้อไวรัส

    ลักษณะเชื้อ Herpes simplex virus : เป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมเป็น DNA ภายนอกมีเปลือกหุ้ม โดยมีสองสายพันธุ์ที่พบว่ามีการก่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนี้

    อาการของโรค

    โดยปกติเมื่อร่างกายได้รับเชื้อจะยังไม่แสดงอาการ จนกระทั่งเชื้อลุกลาม อาการที่พบคือ มีแผลพุพองบริเวณที่ติดเชื้อ และหากติดเชื้อที่ระบบสืบพันธ์จะมีอาการปัสสาวะขัด รวมถึงมีอาการปากมดลูกหรือต่อมลูกหมากอักเสบร่วมด้วย

    หลังจากการติดเชื้อ จะมีเชื้อบางส่วนที่หลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาท ใกล้บริเวณที่มีการติดเชื้อ ทำให้ไม่ถูกระบบภูมิคุ้มกันร่างกายกำจัด ช่วงนั้นร่างกายจะไม่แสดงอาการจนกระทั่งมีสิ่งที่มากระตุ้นไวรัส เช่น ความเครียด ร่างกายอ่อนแอ ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้เชื้อออกมาจากปมประสาทและแบ่งตัวเพิ่มจำนวน จนเกิดพยาธิสภาพอีกครั้ง

    การตรวจวินิจฉัย

    การตรวจวินิจฉัยโรคเริมทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

    การป้องกันและรักษา : การป้องกันโรคทำได้โดยไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่มีเชื้อ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งหลังพี่เพศสัมพันธ์ ส่วนการรักษาทำได้โดยการใช้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir)

    • HSV-1 ก่อโรคเริมที่ปาก สามารถได้รับเชื้อจากการสัมผัสน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อ โดยเชื้อจะบุกรุกเข้าสู่ร่างกายตามเยื่อบุต่างๆ นอกจากนั้น HSV-1 สามารถก่อโรคเริมที่อวัยวะเพศได้ระหว่างการร่วมเพศโดยใช้ปาก
    • HSV-2 ก่อโรคเริมที่อวัยวะเพศ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้นเขื้อยัฃสามารถก่อโรคในทารกระหว่างการตั้งครรภ์ หรือช่วงการคลอดได้
    • การตรวจหาเชื้อโดยตรง : เช่น การตรวจ Polymerase chain reaction (PCR)
    • การตรวจหาแอนตืบอดีต่อเชื้อ : เช่น การตรวจ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA)
  7. โรคติดเชื้อทริโคโมแนส (Trichomonasis)
    เชื้อที่ก่อโรคติดเชื้อทริโคโมแนส : Trichomonas vaginalis เป็นโปรโตซัวที่มีแฟลกเจลลัมใช้ในการเคลื่อนที่ อาศัยอยู่บริเวณช่องคลอด ปากมดลูก หรือท่อปัสสาวะในเพศหญิง และบริเวณต่อมลูกหมาก ท่อปัสสาวะ หรือท่อเก็บอสุจิในเพศชาย สามารถติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้ออยู่แล้ว
    ลักษณะเชื้อ Trichomonas vaginalis : เป็นโปรโตซัวรุปร่างคล้ายหยดน้ำ มีแฟลกเจลลัมไว้สำหรับเคลื่อนที่ มีการแบ่งตัวแบบตามยาว

    อาการของโรค
    ในผู้หญิงจะไม่แสดงอาการ สำหรับคนที่มีอาการจะมีการอักเสบที่ช่องคลอด ตกขาวมีลักษณะเป็นมูกสีเขียว มีฟองและกลิ่นคาวปลา
    ในผู้ชาย ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการเป็นเพียงพาหะในการเกิดโรค สำหรับคนที่มีอาการจะมีการอักเสบของท่อปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากอักเสบ

    การตรวจวินิจฉัย
    การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อทริโคโมแนสทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

    • ตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์ : นำน้ำจากช่องคลอดหรือต่อมลูกหมาก ตรวจหาเชื้อดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์

    • ตรวจหาเชื้อโดยตรง : เช่น การตรวจ Polymerase chain reaction (PCR)

    การป้องกันและรักษา : สามารถรักษาด้วยยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เป็นเวลา 7 วัน การรักษาเชื้อนี้ควรรักษาคู่นอนด้วยร่วมด้วยแม้จะไม่แสดงอาการ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่า นอกเหนือจากการติดเชื้อ HIV ที่ได้รับจากการมีเพศสัมพันธ์แล้ว ยังมีเชื้ออีกหลายชนิดที่สามารถติดต่อจากการสัมผัสเชื้อขณะที่มีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเหล่านี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการที่จะได้รับเชื้อ HIV เพิ่มมากขึ้นด้วย การติดเชื้อแบคทีเรียและโปรโตซัวมียารักษาให้หายได้ แต่การติดเชื้อไวรัสยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ เพราะเชื้อไวรัสมีกลไลการหลบลีกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และมีอัตราการกายพันธุ์สูง ทำให้ยาใช้ในการฆ่าไวรัสเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จึงเป็นวิธีที่ป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุด เพราะไม่มีทางทราบได้เลยว่าในแต่ละครั้ง จะได้รับเชื้อชนิดไหนกลับมา


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) คืออะไร? ตรวจอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/std-test).
สุรพันธ์ุ คุณอมรพงศ์, สุมาลี ศิริอังกุล. การติดเชื้อ human papillomavirus(HPV) และความสัมพันธ์กับรอยโรคก่อนเป็นเป็นมะเร็ง. พยาธิวิทยาของปากมดลูก. เชียงใหม่: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561. หน้า 32-6.
O'Connell CM, Ferone ME. Chlamydia trachomatis Genital Infections. Microb Cell. 2016 Sep 5; 3(9): 390–403.PMID: 28357377

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)