ถามมาก็ตอบไป : ยาคุม Safyral

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 16 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

       “สวัสดีค่ะ เพื่อนชาวต่างชาติต้องการหายาคุมตัวยาเดียวกันที่เค้าทานที่ต่างประเทศ พอแนะนำได้มั้ยคะ เพราะไม่รู้ต้องทานยี่ห้อไหนของไทยที่ตัวยาเดียวกัน เพื่อนทานยี่ห้อ SAFYRAL ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ”

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

 

 

 

            Safyral เป็นยาคุมที่มีการผสมโฟเลท (Folate) ในปัจจุบันยังไม่มียาคุมที่มีสูตรดังกล่าวจำหน่ายในประเทศไทยค่ะ

 

                การมีโฟเลทผสมอยู่ ทำให้ Safyral แตกต่างจากยาคุมยี่ห้ออื่น ๆ ซึ่งบริษัทยาตั้งเป็น ‘จุดขาย’ ว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด Neural tube defect (NTD)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

                Neural tube defect (NTD) คือ ความผิดปกติของสมองและไขสันหลังในทารก โดยพบว่า การขาดโฟเลทในหญิงก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว จึงมีข้อแนะนำให้รับประทานวิตามินโฟลิคก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน (ดูเพิ่มเติมได้ที่ "กินวิตามินโฟลิคก่อนการตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะพิการในทารกแรกเกิด" )

 

                โดยปกติ ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิด คือผู้ที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร การที่มีหรือไม่มีโฟเลท ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์  จึงไม่ใช่ "ส่วนประกอบสำคัญ" ที่จะต้องมีในยาคุมกำเนิดค่ะ

 

                แต่เนื่องจาก ผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แม้จะใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน  เมื่อเลิกใช้ ก็ไม่มียาตกค้างอยู่ในร่างกาย ดังนั้น หากพร้อมที่จะมีบุตรแล้ว เพียงหยุดใช้ยาต่อ ในทางทฤษฎีก็สามารถมีบุตรได้ทันที

                การใช้ Safyral จึงอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะขาดโฟเลท ซึ่งต้องการคุมกำเนิดชั่วคราวในระยะท้าย ๆ ก่อนที่จะหยุดใช้เมื่อพร้อมมีบุตร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

 

                อย่างไรก็ตาม สำหรับในประเทศไทยซึ่งไม่มียาคุมสูตรผสมโฟเลทจำหน่าย ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะสามารถเสริมโดยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินโฟลิคให้มากขึ้น หรือซื้อวิตามินโฟลิคในรูปแบบเม็ดมารับประทานเสริมก่อนตั้งครรภ์ได้ค่ะ

 

       สำหรับกรณีเพื่อนของคุณเจน แนะนำทางเลือก 2 ทาง ดังนี้นะคะ...

 

  1. เลือกใช้ยาคุมยี่ห้อ Yasmin, Melodia หรือ Justima แทน

                แต่มีข้อแตกต่างคือ…

                ยาคุม Safyral 1 แผงจะมีเม็ดยา 28 เม็ด โดยที่ 21 เม็ดแรกเป็น ฮอร์โมน+โฟเลท และ 7 เม็ดสุดท้ายเป็นยาหลอก มีเฉพาะโฟเลท ไม่มีฮอร์โมนคุมกำเนิด เมื่อรับประทานหมดแผง 28 เม็ด ก็รับประทานแผงใหม่ต่อเลย

                แต่ Yasmin, Melodia และ Justima จะมีเม็ดยา 21 เม็ด/แผง (เป็นฮอร์โมนเดียวกันและมีขนาดเท่ากันกับ Safyral คือ Drospirenone 3 mg + Ethinylestradiol 0.03 mg) เนื่องจากไม่มีเม็ดยาหลอก ดังนั้น เมื่อรับประทานหมดแผงแล้ว จึงต้องเว้น 7 วันก่อนเริ่มแผงต่อไปค่ะ

 

  1. เลือกใช้ยาคุมยี่ห้อ Yaz หรือ Synfonia แทน

                โดยที่ Yaz และ Synfonia จะมียา 28 เม็ด/แผง เหมือนกับ Safyral

                แต่มีข้อแตกต่างคือ...

  • Yaz และ Synfonia มีเม็ดยาฮอร์โมน 24 เม็ด + เม็ดยาหลอก(เม็ดแป้ง) 4 เม็ด ไม่ใช่ 21+7 อย่าง Safyral
  • Yaz และ Synfonia มีปริมาณ Ethinylestradiol ต่ำกว่า Safyral (Yaz และ Synfonia จะมี Drospirenone 3 mg + Ethinylestradiol 0.02 mg)

 

                หากเพื่อนของคุณเจนสะดวกที่จะใช้ยาคุมแบบ 28 เม็ด สามารถใช้ Yaz หรือ Synfonia แทนได้ค่ะ ไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณ Ethinylestradiol (EE) ที่น้อยกว่า เพราะการที่มี EE ต่ำ จะช่วยลดผลข้างเคียงจากยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ

                อีกทั้งยาสูตร 24+4 เม็ดนี้ จะช่วยลดอาการก่อนเป็นประจำเดือน เช่น ปวดท้องน้อย ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ได้ด้วยค่ะ

                แต่คงต้องเน้นย้ำให้เพื่อนเข้าใจว่า หากเปลี่ยนมาใช้ Yaz หรือ Synfonia จะทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าสมัยที่ใช้ Safyral นะคะ ซึ่งไม่ต้องตกใจ เนื่องจากประจำเดือนจะมาเมื่อไม่ได้รับฮอร์โมนต่อเนื่องกัน 2-3 วัน จึงมักมีประจำเดือนในช่วงที่ใช้เม็ดยาหลอกไปแล้ว 2-3 เม็ด เมื่อใช้ Yaz และ Synfonia ซึ่งมีเม็ดยาฮอร์โมน 24 เม็ด + เม็ดยาหลอก 4 เม็ด ผู้ใช้จึงน่าจะมีประจำเดือนเมื่อใช้ยาเกือบหมดแผงค่ะ

                สำหรับวิธีใช้ Yaz หรือ Synfonia ก็จะเหมือนกันกับ Safyral คือ เมื่อรับประทานหมดแผง วันรุ่งขึ้นก็ต่อแผงใหม่ได้เลยค่ะ

 

ขอบคุณ ภาพประกอบและข้อมูลยา Synfonia


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Safyral (Drospirenone/Ethinyl Estradiol/Levomefolate Calcium Tablets and Levomefolate): Uses, Dosage, Side Effects, Interactions, Warning. RxList. (https://www.rxlist.com/safyral-drug.htm)
Generic Safyral Availability. Drugs.com. (https://www.drugs.com/availability/generic-safyral.html)
Safyral Oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing. WebMD. (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-155171/safyral-oral/details)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยังไม่อยากท้อง...ต้องรู้!
ยังไม่อยากท้อง...ต้องรู้!

โอกาสตั้งครรภ์ ข้อดี ข้อเสีย ของการคุมกำเนิดแต่ละวิธี

อ่านเพิ่ม
แผ่นแปะคุมกำเนิด (Birth Control Patch)
แผ่นแปะคุมกำเนิด (Birth Control Patch)

รู้จักแผ่นแปะคุมกำเนิด การใช้งานอย่างถูกต้อง เหมาะกับใครและไม่เหมาะกับใคร

อ่านเพิ่ม
รู้ครบทุกข้อเกี่ยวกับ "ยาสตรี" หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ยาขับเลือด”
รู้ครบทุกข้อเกี่ยวกับ "ยาสตรี" หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ยาขับเลือด”

ประโยชน์ของ “ยาขับเลือด” ที่จริง ข้อควรระวัง และข้อแนะนำที่ปลอดภัยสำหรับผู้ต้องการยุติการตั้งครรภ์เพราะความจำเป็น

อ่านเพิ่ม