ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD

รู้ครบทุกข้อเกี่ยวกับ "ยาสตรี" หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ยาขับเลือด”

ประโยชน์ของ “ยาขับเลือด” ที่จริง ข้อควรระวัง และข้อแนะนำที่ปลอดภัยสำหรับผู้ต้องการยุติการตั้งครรภ์เพราะความจำเป็น
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รู้ครบทุกข้อเกี่ยวกับ "ยาสตรี" หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ยาขับเลือด”

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาขับเลือด หรืออีกชื่อเรียกคือ “ยาสตรี” เป็นยาที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือดลมของผู้หญิงให้ดีขึ้น อีกทั้งมีส่วนสำคัญให้การปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้สมดุล และช่วยให้การมาของประจำเดือนให้สม่ำเสมอ
  • หลายคนมักเข้าใจผิดว่า ยาสตรีเป็นยาสำหรับการทำแท้ง แต่ความจริงแล้ว ยาสตรี คือ ยาเสริมที่จะทำให้คุณตั้งครรภ์ได้ต่างหาก แต่เพราะยาสตรีหลายยี่ห้อมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หากรับประทานขณะตั้งครรภ์ ก็มีความเสี่ยงที่ทารกจะพิการทางสมอง และการเจริญเติบโตของอวัยวะผิดปกติ
  • ถึงแม้ยาสตรีจะเป็นตัวช่วยเรื่องฮอร์โมนเพศหญิง แต่ก็มีโทษหากรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพราะยาสตรีสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และทำให้ตับทำงานหนักขึ้น
  • ทางที่ดี หากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือนมาไม่ปกติ ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาสตรีทุกชนิด เพื่อความปลอดภัยของระบบสืบพันธุ์ในร่างกาย
  • การตรวจภายในเพื่อเช็กสุขภาพระบบสืบพันธุ์ และเพื่อหาคำตอบให้กับความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการวินิจฉัยที่ปลอดภัย และจะทำให้คุณได้รับยารักษาที่เหมาะสมจากแพทย์โดยตรงด้วย (ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ได้ที่นี่)

ความหมายของยาขับเลือด หรือยาสตรี

ยาขับเลือด มีอีกชื่อเรียก คือ “ยาสตรี” เป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา หรือร้านขายของชำ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น ตังกุย ขิง ไพล พริกไทย อบเชย ว่านชักมดลูก เทียนดำ เทียนแดง โกฏหัวบัว โกฏสอ  

สมุนไพรที่กล่าวไปข้างต้นนั้นมีฤทธิ์ของฮอร์โมนไฟโตเอสโทรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกของผู้รับประทานยาหนาขึ้น ซึ่งหากไม่มีเด็กทารกในมดลูก เยื่อบุดังกล่าวก็จะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาสตรี

ผู้หญิงหลายคนเข้าใจว่า การรับประทานยาสตรีที่มีฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศหญิง จะช่วยขับตัวอ่อน หรือขับเลือดออกมาได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด และอันตรายอย่างมาก 

เนื่องจากยาสตรีเป็นยาที่ใช้สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือเลือดลมในร่างกายไม่ปกติ เพราะยาจะมีฤทธิ์กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง และปรับฮอร์โมนให้ประจำเดือนมาอย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่มีผลเกี่ยวกับการทำแท้งแต่อย่างใด

ความจริงแล้ว ยาสตรีมีผลตรงข้ามกับการทำแท้งด้วยซ้ำ นั่นคือ ทำให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้นต่อไป

การตั้งครรภ์ กับยาใช้ยาสตรี

ยาสตรีหลายยี่ห้อยังนิยมใช้แอลกอฮอล์เป็นกระสายยา (ของเหลวสำหรับละลายตัวยา) มีสรรพคุณช่วยบำรุงให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติในผู้ที่มีฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล

อย่างไรก็ตาม แอลกอฮอล์ในยาสตรีนั้นมีผลทำลายระบบประสาท และพัฒนาการของทารกได้ ทำให้เมื่อคลอดออกมาแล้ว เด็กจะพิการทางสมอง หรืออวัยวะต่างๆ 

ช่วงเวลาที่เสี่ยงอย่างมากที่ยาสตรีจะทำให้ทารกเกิดความผิดปกติ คือ อายุครรภ์ 3 เดือนแรก เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว ทารกกำลังสร้างอวัยวะสำคัญ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นหากทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนตั้งครรภ์ คุณควรงดยาสตรีทุกชนิด และปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานยาใดๆ ก็ตาม นอกจากนี้ ยาสตรียังไม่มีผลช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ หรือช่วยคุมกำเนิดอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน 

ในทางตรงกันข้าม การรับประทานยาสตรีเท่ากับเป็นการเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงจนทำให้ประจำเดือนมาได้ แต่ไม่ได้แก้ที่สาเหตุ หรือความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ 

ดังนั้นหากรับประทานไประยะหนึ่งแล้วประจำเดือนยังมาไม่ปกติ คุณควรไปพบแพทย์แทน ไม่ควรรับประทานยาสตรีต่อเนื่องยาวนาน

ข้อควรระวังในการใช้ยาสตรี

การรับประทานยาสตรีเท่ากับการรับประทานฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มเข้าไปในร่างกาย ในขณะที่ผู้หญิงปกติจะมีฮอร์โมนเพศหญิงมากพออยู่แล้ว ดังนั้นการรับประทานยาสตรีอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ จึงทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์ได้ 

นอกจากนี้ ยาสตรียังเพิ่มความเสี่ยงทำให้เป็นโรคมะเร็งได้ด้วย โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งโพรงมดลูก หรือโรคมะเร็งรังไข่ และยังเกิดผลเสียต่อตับซึ่งต้องทำงานหนักมากขึ้นด้วย และอาจเกิดอาการติดสุราได้ ซึ่งเป็นผลมาจากแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นกระสายยาในยาสตรี

อีกทั้งยาสตรียังไม่ควรใช้ในผู้ที่มีโรคตับ และโรคไตร้ายแรง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกายด้วย แต่หากต้องการใช้ ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทางออกสำหรับผู้ที่ต้องการทำแท้งด้วยการใช้ยาอย่างปลอดภัย

สำหรับผู้ที่อยู่ในเงื่อนไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 เช่น 

  • กรณีที่หญิงตั้งครรภ์เพราะถูกข่มขืนกระทำชำเรา 
  • หญิงที่ตั้งครรภ์อายุไม่ถึง 15 ปี 
  • หญิงที่ตั้งครรภ์จากการถูกล่อลวง บังคับ ข่มขู่ เพื่อทำอนาจารเพื่อสนองความใคร่ และไม่พร้อมมีบุตร 

ก็สามารถยุติครรภ์ได้อย่างถูกกฎหมายและถูกวิธีได้ โดยการทำแท้ง จะต้องทำโดยแพทย์ผู้มีใบอนุญาตเพื่อความปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้อยู่ในเงื่อนไขสามารถทำแท้งได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่เพื่อความปลอดภัยของตนเอง วิธีการนี้จะต้องอยู่ในความดูแลของคณะแพทย์ และพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น คือ วิธีการใช้ยายุติการตั้งครรภ์ในอายุครรภ์น้อยกว่า 9 สัปดาห์ 

โดยยาที่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ผลมีชื่อว่า "ไมเฟฟริสโตน (Mifepristone; Mifeprex®)" เป็นชนิดรับประทาน และ "ไมโซพรอสทอล (Misoprostol; Cytotec®)" ยามีจำหน่ายชนิดเม็ดรับประทาน และชนิดเหน็บช่องคลอด 

ปัจจุบันมียารวมเม็ดซึ่งเป็นสูตรของยาดังกล่าว และได้ขึ้นทะเบียนเป็นบัญชียาหลักขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ด้วย อีกทั้งสามารถใช้ในผู้ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 9 สัปดาห์ได้อย่างปลอดภัย

สำหรับประเทศไทย สูตรยาดังกล่าวก็ได้ขึ้นทะเบียนยาสูตร MeFi-Miso (ยาสูตรผสมระหว่าง Mifepristone และ Misoprostol) โดยได้ขึ้นเป็นบัญชียาหลัก จ (1) 

ประชาชนชาวไทยทั่วไปสามารถเข้าถึงยาไมเฟฟริสโตน (Mifepristone) ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) และเมทตาบอลได้ แต่ต้องอยู่ในโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐที่มีการติดตามประเมินการใช้ยาตามโครงการเท่านั้น

ปัจจุบันมีเครือข่ายโรงพยาบาลรัฐ และเอกชน รวมถึงคลินิกเกือบ 100 แห่งทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการ โดยยาดังกล่าวไม่มีการจำหน่ายทั่วไปตามร้านขายยา โรงพยาบาล และคลินิกที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

และทุกคนจะต้องตระหนักไว้เสมอว่า การยุติการตั้งครรภ์โดยการทำแท้งเถื่อนมักเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงได้รับบาดเจ็บ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ทั้งยังส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ได้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MedScape, Misoprostol (Rx) (https://reference.medscape.com/drug/cytotec-misoprostol-341995), Access online: 22 July 2019.
MedScape, Mifepristone (Rx) (https://reference.medscape.com/drug/mifeprex-korlym-mifepristone-343130), Access online: 22 July 2019.
Aids Access Foundation, สายด่วนท้องไม่พร้อม 1663 เผยพบหญิงท้องไม่พร้อมไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ภายใต้กฎหมายได้ แนะสถานบริการสุขภาพทุกแห่งต้องมีบริการยุติการตั้งครรภ์ (http://www.aidsaccess.com/detail.php?id=161), เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยังไม่อยากท้อง...ต้องรู้!
ยังไม่อยากท้อง...ต้องรู้!

โอกาสตั้งครรภ์ ข้อดี ข้อเสีย ของการคุมกำเนิดแต่ละวิธี

อ่านเพิ่ม
แผ่นแปะคุมกำเนิด (Birth Control Patch)
แผ่นแปะคุมกำเนิด (Birth Control Patch)

รู้จักแผ่นแปะคุมกำเนิด การใช้งานอย่างถูกต้อง เหมาะกับใครและไม่เหมาะกับใคร

อ่านเพิ่ม
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (Low Birth Weights)
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (Low Birth Weights)

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หรือทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม มักเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด และการไม่ดูแลสุขภาพของมารดาในขณะที่ตั้งครรภ์

อ่านเพิ่ม