ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (Low Birth Weights)

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หรือทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม มักเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด และการไม่ดูแลสุขภาพของมารดาในขณะที่ตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (Low Birth Weights)

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หรือทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม มักเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด และการไม่ดูแลสุขภาพของมารดาในขณะที่ตั้งครรภ์

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หมายถึง ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม มักพบได้ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือ คลอดก่อน 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ และยังพบได้บ่อยในครรภ์แฝด เช่น แฝดสองหรือแฝดสาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ จะมีขนาดตัวเล็กกว่าเด็กแรกเกิดทั่วไป ตัวผอม มีไขมันในร่างกายน้อย มีศีรษะโตแบบไม่สมส่วนกับร่างกาย และยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาด้านพัฒนาการ ภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพจกความอ่อนแอ ซึ่งทารกบางรายอาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเมื่อเทียบกับเด็กที่คลอดออกมาน้ำหนักปกติ

สาเหตุของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

สาเหตุส่วนใหญ่ของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย คือ การคลอดก่อนกำหนด เพราะส่วนมากทารกจะเจริญเติบโตและตัวใหญ่ขึ้นในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ หากทารกคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ก็จะทำให้ตัวเล็กและมีน้ำหนักตัวน้อย ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย ได้แก่

  • ปัญหาที่เกิดกับรกของมารดา (Placenta)
  • ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intrauterine growth restriction (IUGR))
  • ความผิดปกติของทารกแต่กำเนิด
  • การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอขณะตั้งครรภ์
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์

การวินิจฉัยทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

ทารกแรกเกิดจะได้รับการชั่งน้ำหนักทันทีหลังคลอด ถ้าน้ำหนักทารกน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือ 2.5 กิโลกรัม จะได้รับการวินิจฉัยว่ามีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติ และถ้าน้ำหนักทารกน้อยกว่า 1,500 กรัม หรือ 1.5 กิโลกรัม จะวินิจฉัยว่ามีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติมาก (Very low birth weight (VLBW))

การฝากครรภ์ตั้งแต่อายุน้อย จะทำให้แพทย์สามารถตรวจติดตามขนาดร่างกายและน้ำหนักตัวเด็กขณะอยู่ในครรภ์ และอาจช่วยให้แพทย์ตรวจเจอสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดมามีน้ำหนักตัวน้อยได้ก่อนที่ทารกจะคลอดออกมา

การรักษาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

การรักษาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยจะขึ้นกับสถานการณ์เฉพาะบุคคล ทารกบางคนจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลจนกว่าน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นจนอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงจะออกจากโรงพยาบาลได้

แต่ถ้าทารกมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดทำงานน้อยกว่าปกติ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ กรณีนี้จำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาลจนกว่าภาวะแทรกซ้อนจะได้รับการรักษา ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์จะใช้เตียงพิเศษควบคุมอุณหภูมิ และให้อาหารเด็กด้วยเทคนิคพิเศษเพื่อดูแลเด็กทารกเหล่านี้ให้หายเป็นปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยควรได้รับนมแม่เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มน้ำหนักตัว ถ้าแม่ไม่สามารถให้นมได้ ก็อาจต้องขอรับบริจาคน้ำนมแม่จากแม่ท่านอื่น หรืออาจต้องใช้นมผงสูตรทดแทนน้ำนมแม่มาใช้แทน

แนวโน้มในอนาคตสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ จะสามารถเจริญเติบโตและมีน้ำหนักตัวเป็นปกติได้ในอนาคต แต่ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาพัฒนาการช้า มีปัญหาทางสติปัญหาในระดับไม่รุนแรง หรืออาจมีปัญหาทางสุขภาพบางอย่างถาวร ซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ที่มาของข้อมูล

Amber Erickson Gabbey, What Causes Low Birth Weights? (https://www.healthline.com/symptom/low-birth-weights), December 7, 2016.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Birth Weight. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/birthweight.html)
Global Nutrition Targets 2025: Low birth weight policy brief. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/nutrition/publications/globaltargets2025_policybrief_lbw/en/)
Low Birth Weight Baby Risks, Types, and Causes. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/what-is-a-low-birth-weight-baby-2748477)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยังไม่อยากท้อง...ต้องรู้!
ยังไม่อยากท้อง...ต้องรู้!

โอกาสตั้งครรภ์ ข้อดี ข้อเสีย ของการคุมกำเนิดแต่ละวิธี

อ่านเพิ่ม
รู้ครบทุกข้อเกี่ยวกับ "ยาสตรี" หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ยาขับเลือด”
รู้ครบทุกข้อเกี่ยวกับ "ยาสตรี" หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ยาขับเลือด”

ประโยชน์ของ “ยาขับเลือด” ที่จริง ข้อควรระวัง และข้อแนะนำที่ปลอดภัยสำหรับผู้ต้องการยุติการตั้งครรภ์เพราะความจำเป็น

อ่านเพิ่ม