กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดหัวใจ

รู้จักความเสี่ยงในการผ่าตัดหัวใจ การผ่าตัดใหญ่ที่มีชีวิตเป็นเดิมพัน
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดหัวใจ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การผ่าตัดเปิดหัวใจทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยงในการผ่าตัด ยิ่งหากมีการทำให้หัวใจหยุดเต้นและใช้เครื่องมือสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายแทนหัวใจระหว่างการผ่าตัด ผู้ป่วยจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
  • ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 70 ปี และเคยได้รับการผ่าตัดเปิดหัวใจมาก่อน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดหัวใจสูงกว่าคนทั่วไป 
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้ระหว่างและหลังผ่าตัดเปิดหัวใจ เช่น เลือดออก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจขาดเลือด เกิดลิ่มเลือดบริเวณภายในและรอบๆ หัวใจ หรืออาจเคลื่อนที่ไปตามกระแสเลือด ภาวะบีบรัดหัวใจ และการเสียชีวิต 
  • ควรตั้งรับว่า หากมีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดเปิดหัวใจ อาจต้องมีการผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
  • วิธีป้องกันความเสี่ยงจากการผ่าตัดหัวใจที่ดีที่สุดคือ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัดเปิดหัวใจอย่างเคร่งครัด ไปพบแพทย์ตามนัด และหมั่นตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจได้ที่นี่)

ทุกๆ ครั้งที่มีการผ่าตัดเปิดหัวใจล้วนแต่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามหัตถกานั้นๆ เพิ่มจากความเสี่ยงของการผ่าตัดและการดมยาสลบทั่วไป โดยความเสี่ยงดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับการผ่าตัดเปิดหัวใจแต่ละชนิด เช่น 

ความเสี่ยงเหล่านี้อาจจะสูงขึ้นอีก หากมีการทำให้หัวใจหยุดเต้นและใช้เครื่องมือในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายแทนหัวใจในระหว่างการผ่าตัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การประเมินระดับความเสี่ยงในการผ่าตัดหัวใจ

ศัลยแพทย์จะประเมินความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่ได้รับจากการผ่าตัดเปิดหัวใจด้วยข้อมูลต่อไปนี้ 

  • ประวัติสุขภาพปัจจุบัน 
  • การกระทำหัตถการที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด 
  • ปัจจัยส่วนตัวอื่นๆ เช่น เพศ อายุ 

ข้อมูลเหล่านี้ต่างมีผลต่อระดับความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งหมด โดยความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นในกรณีต่อไปนี้

  • หากผู้เข้าผ่าตัดอายุมากกว่า 70 ปี และเคยได้รับการผ่าตัดเปิดหัวใจมาก่อน 
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคความดันโลหิตสูง 

แต่ในบางกรณี ความเสี่ยงนั้นอาจจะลดลงจากการใช้ยาตามแพทย์สั่ง การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการก่อนได้รับการผ่าตัด การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การงดสูบบุหรี่ และการหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้ระหว่างและหลังการผ่าตัดหัวใจ

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยจากการผ่าตัดเปิดหัวใจมักเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนชั่วโมงและจำนวนวัน หลังได้รับการผ่าตัดเสร็จแล้วและอยู่ในระยะช่วงพักฟื้นในโรงพยาบาล 

ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนดังนี้

  • เลือดออก อาจเกิดขึ้นที่บริเวณแผลผ่าตัด หรือบริเวณของหัวใจซึ่งมีการผ่าตัด
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ ในบางกรณีอาจมีการใส่เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจภายนอกชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหานี้
  • หัวใจขาดเลือด เกิดการทำลายเนื้อเยื่อหัวใจจากการขาดเลือดที่ไหลเข้าสู่หัวใจ
  • เสียชีวิต ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นในการผ่าตัดที่มีการหยุดการทำงานของหัวใจ
  • ลิ่มเลือด อาจเกิดลิ่มเลือดบริเวณภายในและรอบๆ หัวใจ หรืออาจเคลื่อนที่ไปตามกระแสเลือด
  • เส้นเลือดในสมองตีบ มักเกิดจากการมีลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัด
  • การผ่าตัดฉุกเฉิน หากมีปัญหาเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัด อาจต้องมีการผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
  • ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac tamponade) เป็นภาวะที่เยื่อหุ้มหัวใจมีเลือดอยู่ภายใน ทำให้หัวใจทำงานได้ยากขึ้น หรือทำงานไม่ได้เลย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ความเสี่ยงของการผ่าตัดโดยใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม

ในระหว่างที่มีการผ่าตัดหัวใจบางประเภท อาจต้องมีการหยุดการทำงานของหัวใจเพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้สำเร็จ ซึ่งมีเหตุผลอยู่ 2 ประการ คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. ทำให้การผ่าตัดหัวใจยากขึ้น เนื่องมาจากหัวใจยังมีการทำงานอยู่ และจะทำให้หัวใจยังมีการเคลื่อนไหว 
  2. การผ่าตัดบางอย่างที่แพทย์อาจต้องมีการเปิดแผลที่หัวใจ เพื่อเข้าไปทำงานภายในห้องหัวใจซึ่งจะทำให้เกิดเลือดออกในปริมาณที่ไม่สามารถควบคุมได้ 

หากระหว่างที่ทำการผ่าตัด แพทย์จำเป็นต้องหยุดการทำงานของหัวใจแล้วจะใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม เพื่อทำหน้าที่เติมออกซิเจนเข้าสู่เลือดและสูบฉีดเข้าในกระแสเลือดแทนหัวใจและปอดที่ไม่สามารถทำงานได้ 

การผ่าตัดที่ต้องมีการใช้เครื่องนี้มักเรียกว่า "การผ่าตัดแบบ On-pump” 

ถึงแม้เครื่องนี้จะได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังพบว่า มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องนี้อยู่ไม่น้อย เช่น

  • เลือดออก ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการใช้ยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือดระหว่างการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม
  • ลิ่มเลือด การใช้เครื่องนี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดที่อาจจะเดินทางเข้าไปที่สมองได้
  • เส้นเลือดหัวใจตีบ
  • มีการทำลายไต หรือปอด
  • อาการมึนงงภายหลังจากการผ่าตัดโดยใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม (Pump head syndrome)
  • เสียชีวิต ในบางกรณีหลังจากหยุดการทำงานของหัวใจแล้ว หัวใจอาจไม่สามารถกลับมาทำงานได้อีกภายหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัด

ถึงแม้วิทยาการทางการแพทย์ในปัจจุบันจะมีความก้าวหน้าไปมาก แต่จะเห็นได้ว่า ความเสี่ยงในการผ่าตัดเปิดหัวใจก็ยังคงอยู่ในระดับที่อันตรายและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย 

อย่างไรก็ตาม หลังผ่าตัดแล้วเสร็จ แพทย์จะมีการนัดผู้ป่วยเพื่อตรวจติดตามอาการเป็นระยะๆ พร้อมแนะนำการปฏิบัติตนในระยะต่างๆ ผู้ป่วยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมาพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด 

นอกจากนี้หากมีปัญหา หรือความผิดปกติใดๆ ก็ตามเกิดขึ้นกับหัวใจและร่างกาย ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

หากไม่อยากเป็นหนึ่งในผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับความเสี่ยงในการผ่าตัดเปิดหัวใจ ควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงนับแต่วันนี้เพื่อป้องกันตนเองจากโรคหัวใจและความผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับหัวใจ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะผักสดและผลไม้สด 
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของมัน ของทอด อาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ออกกำลังอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ยังควรหมั่นไปตรวจหัวใจ หรือตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อได้รู้เท่าทันความผิดปกติของร่างกายที่อาจเกิดขึ้น คุณจะได้สามารถรักษาและแก้ไขได้ทันเวลา และอาจไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตเช่นนี้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Knatterud, Mary (2015-12-08). "C. Walton Lillehei, Ph.D., M.D.: The Father of Open-Heart Surgery". Lillehei Heart Institute. University of Minnesota, 7 April 2020.
Shumway, Norman E. (January 1996). "F. John Lewis, MD: 1916-1993". The Annals of Thoracic Surgery. 61 (1): 250–251. doi:10.1016/0003-4975(95)00768-7. PMID 8561575
NHS.UK, Risks-and-complications-of-heart-surgery (https://www.nhs.uk/conditions/coronary-artery-bypass-graft-cabg/risks/), 10 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)