สาเหตุของโรคตับแข็ง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สาเหตุของโรคตับแข็ง

แม้ว่าจะมีโรคตับแข็งบางส่วนที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้แน่ชัด แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าสาเหตุเฉพาะอยู่มากมายจากการศึกษาที่ผ่านมา การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง หรือภาวะเหล่านั้นจะช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงได้

โรคตับแข็งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อเป็นระยะเวลานาน การได้รับสารพิษ การติดเชื้อ และโรคหัวใจ รวมถึง โรคพิษสุราเรื้อรังเรื้อรังและโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังซึ่งเป็นสองสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคตับแข็ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ป่วยโรคตับแข็งถึง 30-50 เปอร์เซ็นต์ไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดใดๆ โดยทั่วไป ความคืบหน้าไปสู่ภาวะตับวายนั้นช้าและค่อยๆ เกิด ไม่มีการรักษาโรคตับแข็งให้หายขาด อย่างไรก็ตาม การกำจัดสาเหตุต่าง ๆ อาจช่วยลดการเกิดอาการแทรกซ้อน และ หากความเสียหายไม่รุนแรงมากเกินไป ตับจะสามารถรักษาตัวเองได้เมื่อเวลาผ่านไป

สาเหตุของโรคตับแข็งที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้:

โรคพิษสุราเรื้อรัง:

แอลกอฮอล์เป็นพิษต่อเซลล์ที่มีชีวิตทั้งหมดในร่างกาย และทำให้เซลล์ตับอักเสบและตายได้

  • การตายของเซลล์ตับทำให้ร่างกายของคุณสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็นรอบ ๆ หลอดเลือดดำของตับ เซลล์ตับที่กำลังรักษาตัวจะรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งสามารถกดทบบนหลอดเลือดดำตับได้เช่นกัน
  • กระบวนการเกิดแผลเป็นนี้เกิดขึ้นในผู้ป่วยจำนวนมากที่ติดสุรา และเป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดของโรคตับแข็งในประเทศสหรัฐอเมริกา และไทย
  • ความรุนแรงของกระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับว่า คุณดื่มมากแค่ไหน และคุณดื่มแอลกอฮอล์มานานเท่าใด ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ทำให้เกิดการทำร้ายตับแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
  • พันธุกรรมในบางครอบครัวมีความไวต่อโรคตับแข็งมากกว่าคนอื่น ๆ

โรคตับอักเสบ (Hepatitis):

ตับอักเสบหมายถึงการอักเสบของตับจากสาเหตุใด ๆ แต่โดยปกติแล้ว หมายถึงการติดเชื้อไวรัสของตับ

  • การอักเสบเป็นเวลาหลายปีก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ตับ และทำให้เกิดรอยแผลเป็น
  • การติดเชื้อไวรัสของตับทั้งสี่ชนิด คือ Hepatitis A, hepatitis B, hepatitis C และ hepatitis D ทั้งหมดนี้อาจทำให้เกิดโรคตับแข็งได้เช่นกัน
  • จากสถิติทั่วโลก ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคตับแข็ง แต่ในสหรัฐอเมริกา โรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยกว่า

โรคตับแข็งทางเดินน้ำดี (Biliary cirrhosis):

น้ำดีเป็นสารที่ผลิตจากตับ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยไขมันได้

  • น้ำดีจะถูกลำเลียงออกจากตับไปเก็บยังถุงน้ำดี และสุดท้ายก็จะถูกลำเลียงเข้าไปในลำไส้โดยท่อเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ท่อน้ำดี
  • หากท่อเหล่านี้อุดตัน หรือถูกบีบ น้ำดีจะคั่งในที่ผลิต และทำให้ตับเสียหายได้ ตับจะเริ่มอักเสบ  และค่อย ๆ เริ่มกระบวนการเสียหายของเซลล์ไปเป็นระยะเวลานานจนนำไปสู่โรคตับแข็ง
  • เด็กอาจเกิดมาพร้อมกับภาวะทดขวางท่อน้ำดีที่เรียกว่า ภาวะท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด (biliary atresia)
  • โดยทั่วไป โรคนี้มักจะเกิดกับผู้หญิงช่วงอายุ 35-60 ปี

โรคตับอักเสบจากภูมิต่อต้านตนเอง (Autoimmune cirrhosis):

โดยปกติ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม หรือผู้รุกราน เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือสารก่อภูมิแพ้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • โรคภูมิต้านทานต่อตนเองนี้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันเริ่มต่อสู้ และทำลายเนื้อเยื่อ และอวัยวะปกติของร่างกายของคุณ
  • ในโรคตับอักเสบจากภูมิต่อต้านตนเอง ระบบภูมิต้านทานจะโจมตีเซลล์ตับ ทำให้เกิดความเสียหายของเซลล์จนนำไปสู่โรคตับแข็ง

ไขมันพอกตับชนิดไม่เกิดจากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic fatty liver):

หมายถึงภาวะที่ไขมันถูกสร้างขึ้น และสะสมในตับทำให้เกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นขึ้นมา

  • โรคตับแข็งชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และการรักษาด้วย ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น prednisolone
  • บางครั้งเรียกว่า ไขมันแทรกตับ หรือตับอักเสบจากไขมัน (Steatohepatitis)

โรคสืบทอดทางพันธุกรรม (Inherited disease):

โรคทางพันธุกรรมหลายชนิด สามารถทำลายเซลล์ตับและทำให้เกิดโรคตับแข็งตามมาได้

  • ซึ่งโรคเหล่านี้มักกล่าวถึงโรคที่รบกวนการเผาผลาญของสารต่าง ๆ ในตับ
  • ได้แก่ โรควิลสันหรือภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson's disease) โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) โรคขาดเอนไซม์ป้องกันตนเองอัลฟาวัน (Alpha-1 antitrypsin deficiency) ภาวะธาตุเหล็กเกิน (Hemochromatosis) ภาวะขาดเอนไซม์ย่อยน้ำตาลกาแลกโตส (Galactosemia) และกลุ่มโรคขาดเอนไซม์สลายฮอร์โมนไกลโคเจน (Glycogen storage disease)
  • โรคเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่พบบ่อย แต่อาจมีความรุนแรงและเป็นอันตรายได้

การได้รับยา สารพิษ และการติดเชื้อ:

สารต่าง ๆ และเชื้อโรคอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อตับ ได้แก่

  • สารบางประเภท (เช่น ยาพาราเซตามอลในปริมาณมาก หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน) สารพิษ และมลพิษจากสิ่งแวดล้อมอาจทำให้เกิดโรคตับแข็ง
  • การตอบสนองต่อยาบางชนิดอาจทำให้ตับวายได้ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดได้ยาก
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือพยาธิบางชนิดในระยะยาว อาจทำให้เซลล์ตับเสียหาย และทำให้เกิดโรคตับแข็งตามมา

โรคตับแข็งจากหัวใจ (Cardiac cirrhosis):

หัวใจของคุณทำหน้าที่ปั๊มดันเลือดไปทั่วร่างกาย เมื่อหัวใจของคุณไม่สามารถสูบฉีดได้ดี เลือดจะสะสมและคั่งอยู่ในตับ

  • การอุดตัน และคั่งนี้ทำให้เกิดความเสียหายกับตับของคุณ
  • ตับอาจจะบวม และเจ็บปวด ต่อมาก็จะแข็งมากขึ้น ๆ และเจ็บปวดน้อยลง
  • สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว อาจมาจากปัญหาลิ้นหัวใจ การสูบบุหรี่ หรือการติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือเยื่อหุ้มหัวใจที่อยู่รอบ ๆ

 https://www.emedicinehealth.com/cirrhosis/article_em.htm#what_causes_cirrhosis_of_the_liver


27 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cirrhosis of the liver: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/172295)
John P. Cunha, DO, FACOEP, Cirrhosis (Liver) (https://www.medicinenet.com/cirrhosis/article.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป