คำถามเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน 2

ตอบคำถามเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน
เผยแพร่ครั้งแรก 13 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
คำถามเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน 2

สมุนไพรพื้นบ้าน พืชผัก หรือผลไม้ต่างๆ ที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยรักษา บรรเทาอาการ หรือบำรุงร่างกายให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งบทความนี้จะเป็นบทสนทนาถามตอบของคนทั่วไปที่สนใจสมุนไพรและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน มาติดตามอ่านกันได้เลย

Q: เจอร์เมเนียมคืออะไร เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน หรือแร่ธาตุ และมาจากไหน

A: เจอร์เมเนียม เป็นหนึ่งในสารที่เราเรียกว่า แร่ธาตุรอง (ชื่อเคมี Ge-132) ดร. พาร์ริส เอ็ม. คิดส์ ผู้อำนวยการศูนย์เจอร์เมเนียมแห่งสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่า มันมีคุณสมบัติในการฟื้นฟูและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และให้ออกซิเจนกับเนื้อเยื่อ (สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง ถึงแม้เจอร์เมเนียมจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ แต่จะทำให้ร่างกายสูญเสียออกซิเจนแทน) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อีกทั้งช่วยยับยั้งการเติบโตของเนื้องอก และบรรเทาอาการของโรคร้ายแรงต่างๆ สามารถพบได้ในปริมาณเล็กน้อยในกระเทียม โสม เก๋ากี้ ซูชิ คอลเรลลา ลูกเดือย และคัมฟรีย์ 

Q: ผมเคยได้ยินมาว่าสมุนไพรพื้นบ้านใบบัวบก มีคุณสมบัติในการเยียวยาผิว ผมอยากลองรับประทานดู แต่ติดตรงที่ว่ามันมีสารกาเฟอีนสูง

A:  ใบบัวบก ไม่ได้มีสารกาเฟอีน เลย แม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษคือ gotu kola แต่มันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมล็ดโคลาเลยแม้แต่น้อย

Q: อยากรู้เกี่ยวกับสมุนไพรชื่อ โพว์ดาร์โก 

A:  บทบาทของ โพว์ดาร์โก ในการแพทย์ทางเลือกเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น ซึ่งพบว่าโพว์ดาร์โก ยับยั้งการเติบโตของเชื้อราแคนดิดา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังรักษาภูมิแพ้ที่มีอาการหอบหืด ผื่นผิวหนังอักเสบและไซนัสบวมอย่างได้ผล 

และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายที่สุด คือ ช่วยฟื้นฟูระบบต่างๆ ในร่างกายหลังจากรับประทานยาปฏิชีวนะ ยากดภูมิคุ้มกัน และยาสเตียรอยด์เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน

เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรรับประทานโพว์ดาโกร่วมกับวิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม แมกนีเซียมและเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร

Q: ฉันควรจะรับประทานสมุนไพรพื้นบ้านแบบน้ำหรือทิงเจอร์ดี

A: สมุนไพรแบบน้ำมักถูกปรุงให้มีความเป็นกรดอ่อนๆ เพื่อช่วยให้สารสำคัญผ่านเข้ากระเพาะอาหารในภาวะเป็นกรด ซึ่งจะช่วยให้ดูดซึมได้ดีขึ้น ส่วนทิงเจอร์หรือยาดองนั้น สมุนไพรจะเป็นสารแขวนลอยในแอลกอฮอล์หรือน้ำส้มสายชูหมักและน้ำ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทั้งสองรูปแบบ จะถูกดูดซึมจากระบบย่อยอาหารได้รวดเร็ว หลายคนสังเกตว่า ทิงเจอร์จะมีความเข้มข้นของสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่ารูปแบบน้ำ แต่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วย ดังนั้น แนะนำให้คุณเลือกสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณจะดีที่สุด

Q: ฉันอยากจะลองรับประทานทิงเจอร์แต่ไม่ชอบรสชาติแอลกอฮอล์ มีวิธีแก้ไขไหมคะ

A: คุณสามารถทำให้แอลกอฮอล์ระเหยได้ โดยแช่ทิงเจอร์ในน้ำร้อน

Q: ฉันเคยได้ยินคนพูดเกี่ยวกับ Ev. Ext-77 เป็นสมุนไพรพื้นบ้านอะไรหรือคะ และทำหน้าที่อะไร

A: เป็นสารสกัดจากขิงสายพันธุ์ย่อยชนิดหนึ่งที่มีการจดสิทธิบัตรและดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพในการลดการอักเสบ และอาจช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับข้อ สามารถยับยั้งการสร้างของสารโพรสตาลิน (ซึ่งทำให้เกิดอาการทางข้อในระยะสั้น) และลิวโคไทรอีน (ซึ่งทำให้เกิดอาการทางข้อในระยะยาว) 

ขนาดที่แนะนำ คือ 1 แคปซูล วันละ 2 เวลาพร้อมอาหาร

ทุกปี มีคนกว่า 1 ล้านคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อ ซึ่งร้อยละ 80 ของคนที่อายุเกิน 50 ปีล้วนมีข้อที่ไม่แข็งแรง และมีการประมาณว่าในปีคริสตศักราช 2020 ชาวอเมริกันกว่า 60 คนจะมีปัญหาโรคข้อหรืออีกนัยหนึ่งคือ สารสกัดตัวนี้จะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จะได้รับการตอบรับมากมายแน่นอน

Q: ช่วยเล่าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีชื่อ hupA ให้หน่อยได้ไหม

A:  ฮุปเปอร์ซีนเอ (Huperzine A) เป็นสารสกัดจากพืชตระกูลคลับมอสส์ ซึ่งเป็นพืชหายาก มีปลูกกันในประเทศจีนและใช้กันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในการรักษาโรคทางระบบประสาท ช่วยบำรุงความจำและอาจช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับอัลไซเมอร์ มีจำหน่ายในรูปเจลนิ่มและเม็ด ซึ่งหญิงมีครรภ์และผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรรับประทาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Q: มะระจีนช่วยลดน้ำตาลในเลือดหรือไม่ และปลอดภัยพอที่จะนำมารับประทานหรือเปล่า

A: เรื่องนี้ยังคงต้องการศึกษาเพิ่มเติม แต่การศึกษาเบื้องต้นระบุว่า ผักรสขมนี้ไม่เพียงแต่ลดระดับน้ำตาลในเลือดยังอาจช่วยเพิ่มระดับเอชดีแอล(HDL) คอเลสเตอรอลชนิดดีด้วย อีกไม่นานคงจะได้ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนกว่านี้ 

มีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายตามร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพในรูปของสารสกัด ขนาดรับประทาน คือ  1/4 ถึง 1/2 ช้อนชา วันละ 3 เวลา จัดเป็นปริมาณที่ปลอดภัย หากรับประทานเกินกว่าที่กำหนดอาจทำให้ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือเป็นไข้ได้ ไม่แนะนำให้รับประทานหากคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ตั้งครรภ์ หรือรับประทานยารักษาโรคเบาหวาน

มะระจีนสดๆ สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป โดยแพทย์สมุนไพรชาวเท็กซัสชื่อดัง โรเบิร์ต ริสเตอร์ แนะนำให้ทำน้ำมะระปั่นด้วยแกะเมล็ดออกตัดเนื้อเป็นชิ้นบางๆ แล้วนำไปนึ่งหรือต้มจนนุ่ม เมื่อนุ่มแล้วจึงตัดด้วยช้อน ใส่ในเครื่องปั่นน้ำผลไม้พร้อมด้วยน้ำเปล่าปริมาณเท่ากันปั่นประมาณ 2 นาที

Q: ฉันเคยได้ยินว่ามีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้ในการรักษาเบาหวานและมีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักด้วย คุณมีข้อมูลบ้างไหมฉันคิดว่ามีการนำมาใช้ในการแพทย์แผนอายุรเวท

A: เรื่องนี้ผมทราบเล็กน้อย แต่คุณพูดถูกครับมีการใช้มาเป็นเวลาหลายพันปีในทางการแพทย์อายุรเวทเพื่อรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งมีชื่อว่า จินนีมาซิลเวสตร์ (Gymnema sylvestre) “ตัวทำละลายน้ำตาล” 

เป็นไม้เลื้อยพื้นเมืองจากป่าแถบอินเดีย มีการนำรากและใบมาใช้ในการรักษาโรคหลายประเภทมาเป็นเวลานาน (ตั้งแต่ถูกสารพิษ เป็นไข้ ไปจนถึงหอบหืดและไอ) แต่การใช้งานหลัก คือ รักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและด้วยเหตุผลนี้เองจึงช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย

เมื่อวางใบของจิมนีมา ลงมาบนลิ้น มันจะระงับการรับรู้รสหวาน แม้จะโยนลูกกวาดเข้าปากทันทีก็ตาม สำหรับผู้ที่อ่อนไหวต่อความหวาน แนะนำให้รับประทานจิมนีมาสกัด 400 mg อาจช่วยคุณได้

ข้อควรระวัง: หากคุณกำลังรับการรักษาเบาหวาน หรือกำลังรับประทานยาที่ควบคุมระดับน้ำตาล หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ก่อนรับประทานจิมนีมา

อ่านต่อ สมุนไพรพื้นบ้าน ถาม-ตอบ ไขทุกข้อสงสัยของสมุนไพร ตอนที่ 1


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) หนังสือวิตามินไบเบิล

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม