กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ออฟฟิศซินโดรม โรคของคนทำงานที่อันตรายไม่ใช่เล่น!

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไรกันแน่ สังเกตอาการเบื้องต้นด้วยตัวคุณเอง และศึกษาวิธีบรรเทาอาการจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้ในบทความนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 15 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ออฟฟิศซินโดรม โรคของคนทำงานที่อันตรายไม่ใช่เล่น!

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับคนที่นั่งทำงานท่าเดิมนานๆ นั่งในท่าที่ผิด ทำงานนานเกินไป หรือใช้สายตามองคอมมากเกินไป 
  • อาการของออฟฟิศซินโดรม เช่น ปวดศีรษะร้าวไปถึงตา ปวดเกร็งกล้ามเนื้อไหล่ คอ หลัง แขน ข้อมือ เหน็บชาตามส่วนต่างๆ นิ้วล็อก เป็นต้น
  • ในระยะแรกอาการจะไม่รุนแรง ทำให้หลายคนละเลยจนเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรง 
  • แต่โรคนี้สามารถรักษาได้โดยไปพบแพทย์ได้ ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์ก็จะแนะนำให้ปรับพฤติกรรมและอาจให้ใช้ยาบางชนิด หากอาการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงาน อาจต้องใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือการทำกายภาพบำบัด
  • ดูแพ็กเกจกายภาพบำบัดได้ที่นี่

รู้หรือไม่ การนั่งทำงานในออฟฟิศเฉยๆ เป็นเวลานานก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายได้เหมือนกัน หากคุณเป็นมนุษย์ออฟฟิศที่ทุ่มเทเวลาและแรงกายในการทำงาน จนเริ่มมีอาการปวดตามหลัง ไหล่ คอ ปวดหัว ปวดตา อย่าได้มองข้ามเป็นอันขาด 

เพราะที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นอาการของโรค “ออฟฟิศซินโดรม” ซึ่งหากไม่ได้รับการบำบัดรักษาหรือป้องกันอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้น อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพในภายหลังได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
นวดจัดกระดูก (Chiropractic) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 765 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง?

อาการออฟฟิศซินโดรมในระยะแรกนั้นมักจะไม่รุนแรง ทำให้หลายคนชะล่าใจ ละเลยการรักษา และไม่ยอมปรับเปลี่ยนท่าทางหรือพฤติกรรมการทำงานให้เหมาะสม เมื่อนานวันเข้าจึงสะสมและกลายเป็นอาการที่รุนแรงในที่สุด มาลองสังเกตกันดูว่าคุณมีอาการขั้นต้นของโรคออฟฟิศซินโดรมต่อไปนี้หรือไม่

  1. ปวดศีรษะ อาจปวดร้าวไปถึงตา และมีอาการปวดตุ๊บๆ คล้ายไมเกรนบ่อยๆ เกิดได้จากการใช้สายตาในการทำงานมาก ประกอบกับมีความเครียดสะสม วิตกกังวล และพักผ่อนไม่เพียงพอ

  2. ปวดเมื่อยหรือเกร็งตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น หลัง ไหล่ สะบัก ต้นคอ แขน ข้อมือ นิ้วมือ เนื่องจากการนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งมากเกินไป ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่แก้ไข จะกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นอยู่เฉยๆ ก็ปวดขึ้นมาเองได้

  3. มีอาการเจ็บ ตึง และชาตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งพัฒนามาจากอาการปวดเรื้อรัง อาการเหล่านี้เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ มีเอ็นอักเสบทับเส้นประสาท หรือเส้นประสาทตึงตัว จนกลายเป็นอาการชาตามมือตามแขน เส้นยึด และนิ้วล็อกในที่สุด

  4. อาการเหน็บชาและแขนขาอ่อนแรง เกิดขึ้นได้หากนั่งนานเกินไปจนทำให้มีการกดทับเส้นประสาทหรือการไหลเวียนเลือดผิดปกติ โดยมักจะมีอาการชาบริเวณนิ้วกลาง นิ้วนาง และปวดแปล๊บๆ บริเวณข้อมือได้

  5. นิ้วล็อก การจับเมาส์หรือการใช้นิ้วมือและข้อมือจับโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้นและส่งผลให้ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือได้ตามปกติ

  6. นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท เกิดจากความเครียด รวมถึงการมีอาการปวดเมื่อยและปวดหัวมารบกวนในเวลานอนเป็นระยะ

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม?

นายแพทย์วรวัฒน์ เอียวสินพาณิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู กล่าวว่า ไม่ใช่แค่คนทำงานออฟฟิศเท่านั้นที่มีอาการในกลุ่มนี้ได้ 

เพราะหากทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำๆ ทุกวัน ก็อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นตึงและบาดเจ็บในภายหลังได้เช่นกัน เช่น พ่อครัวแม่ครัวที่ต้องจับตะหลิวเป็นประจำ คนที่ทำงานทาสี งานช่างต่างๆ

ปัจจุบันออฟฟิศซินโดรมยังพบได้มากขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมการใช้โซเชียลและออนไลน์ ซึ่งมักจะเผลอก้มหน้า งอคอ ห่อไหล่เมื่อดูหน้าจอ หรือทำท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานโดยไม่รู้ตัว 

นอกจากนี้คนอายุมาก ซึ่งจะเริ่มเกิดการเสื่อมของร่างกาย การทรุดตัวของกระดูก และการกดทับของเส้นประสาท ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงเกิดอาการในกลุ่มออฟฟิศซินโดรมได้สูง

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม

พฤติกรรมต่อไปนี้เป็นสาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
นวดจัดกระดูก (Chiropractic) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 765 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การนั่งทำงานในอิริยาบถเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับปรับเปลี่ยนท่าทาง เพื่อยืดหรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

  • ท่าทางการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่สูงหรือต่ำกว่าระดับสายตามากเกินไป เก้าอี้เตี้ยหรือสูงเกินไป ทำให้ต้องเงยหรือก้มหน้าตลอดการใช้งาน

  • การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป การเพ่งใช้สายตามากๆ การปรับความสว่างของหน้าจอไม่สมดุลกับความสว่างในห้อง ประกอบกับแสงสีฟ้า (Blue light) จากจอภาพที่ทำให้มีอาการปวดหัวปวดตาตามมาได้

  • การทำงานหนักเกินไป ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน รวมถึงความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดจากการทำงาน

นอกจานี้สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น ออฟฟิศแออัด อากาศไม่ถ่ายเท โต๊ะเก้าอี้ไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย อุปกรณ์ในออฟฟิศเต็มไปด้วยฝุ่น ก็ส่งผลให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน

ภาวะแทรกซ้อนของออฟฟิศซินโดรม

อาการของออฟฟิศซินโดรม หากปล่อยไว้โดยไม่บำบัดรักษา หรือไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็อาจทำให้มีอาการสะสมเรื้อรัง และเกิดอันตรายตามมาได้ เช่น

  • เสี่ยงเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรง หากรุนแรงมากอาจทำให้เดินไม่ได้ ต้องทำกายภาพบำบัด หรือผ่าตัดเลยทีเดียว

  • เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า อันมาจากความเครียดสะสม ความกดดัน และบรรยากาศไม่ดีในที่ทำงาน

  • เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง จากการรับประทานอาหารจุบจิบในเวลาทำงาน และไม่มีเวลาออกกำลังกาย

การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเอง

ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมส่วนใหญ่สามารถบำบัดรักษาได้ด้วยตนเองก่อนในเบื้องต้น เพียงหมั่นยืดคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • เมื่อไรที่เริ่มรู้สึกเมื่อยล้า ควรพักจากการทำงานเพื่อผ่อนคลายร่างกายและสมอง เช่น ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายประมาณ 5 นาที หรือเดินไปสูดอากาศข้างนอกบ้าง ไม่ควรนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป

  • หมั่นออกกำลังกายเพื่อยืดและคลายกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแนวกลางลำตัว เช่น โยคะ หรือพิลาทิส เพราะจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ป้องกันเอ็นและข้อยึด นอกจากนี้ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด และเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกายด้วย

  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น เปลี่ยนโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระ จัดการออฟฟิศให้สะอาด น่าอยู่ และมีอากาศถ่ายเทมากขึ้น

  • ปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางจรดกับพื้นขณะนั่ง และเข่าอยู่ระดับเดียวกับสะโพกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย 

  • นั่งทำงานหลังตรงแนบกับพนักพิง ตัวตรง ไม่เอนไปทางโต๊ะหรือพนักเก้าอี้มากเกินไป และกะระยะห่างจากหน้าจอประมาณหนึ่งช่วงแขน

  • ระวังอย่านั่งห่อไหล่หรือยกไหล่ขึ้นสูงเกินไป พยายามให้ไหล่อยู่ในท่าทางธรรมชาติ

  • ให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ตรงหน้าพอดีและต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย เพื่อให้คออยู่ในท่าธรรมชาติ ไม่ต้องแงนหรือก้มเกินไป

  • สำหรับคนที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถรักษาได้ในเวลาอันสั้น อาจต้องพักงานหรือเปลี่ยนงาน เพื่อไม่ให้อาการแย่ลงกว่าเดิม

การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีทางการแพทย์

หากไม่แน่ใจว่าเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ หรือกังวลใจเกี่ยวกับอาการที่เป็น คุณสามารถไปพบแพทย์ได้ ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์ก็มักจะแนะนำให้ปรับพฤติกรรมและอาจให้ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาบรรเทาอาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อ ยาคลายเครียด เป็นต้น 

ทั้งนี้ก่อนจะใช้ยาใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นขยับร่างกายลำบาก เดินไม่ได้ มีอาการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงาน อาจต้องใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือการทำกายภาพบำบัด 

เช่น การทำอัลตราซาวนด์ การประคบอุ่น การยิงเลเซอร์ ร่วมด้วย (สามารถดูรายละเอียดเเละราคาคอร์สทำกายภาพบำบัดได้ที่นี่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 581 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รวมถึงการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดกดจุด เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาว่าวิธีไหนเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายมากที่สุด และอาจมีการรักษาร่วมกันหลายวิธี 

ออฟฟิศซินโดรมป้องกันได้อย่างไร?

  • ควรจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ดี และเป็นมิตรแก่ผู้ทำงานแต่แรก ทั้งด้านสถานที่ทำงาน เครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และสังคมในออฟฟิศ

  • จัดท่าทางหรืออิริยาบถเวลานั่งทำงานให้เหมาะสม เช่น ไม่นั่งหลังงอหรือเกร็งเกินไป

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อให้แข็งแรง และเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน

  • พักผ่อนให้เพียงพอ จัดสรรเวลางานและเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน หากมีโอกาสควรหาเวลาพักร้อนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง

นอกจากสภาพแวดล้อมและลักษณะท่าทางการทำงานที่เหมาะสมแล้ว การใช้โทรศัพท์มือถือก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ 

เพราะหลายต่อหลายครั้งที่ท่าทางการใช้โทรศัพท์ที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้มากเกินไปก่อให้เกิดความล้าและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ เพราะฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่าใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินความจำเป็นก็ควรปรับลดพฤติกรรมส่วนนี้ด้วย

ดูแพ็กเกจกายภาพบำบัด เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นวดออฟฟิศซินโดรม คืออะไร? ทำอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/massage-for-office-syndrome).
Ms. Pei Shan Wang, Happiness in The Workplace: The Effects of Ergonomics of Office Syndrome (http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5702043240_5162_3756.pdf), 19 August 2016
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) (http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/696/Officesyndrome)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป