เมารถเมาเรือ บรรเทาได้ด้วยยาแก้คลื่นไส้อาเจียน

รู้จักและเข้าใจวิธีใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนอย่างถูกต้อง พร้อมนแนะนำข้อควรระวังเพื่อให้ใช้ยาอย่างปลอดภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เมารถเมาเรือ บรรเทาได้ด้วยยาแก้คลื่นไส้อาเจียน

หลายคนมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเมื่อนั่งรถผ่านถนนคดเคี้ยว หรือเวลานั่งเรือที่โคลงเคลง อาการเหล่านี้สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้คลื่นไส้อาเจียน โดยจะมีการแบ่งยาดังกล่าวออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine)
  2. กลุ่มโพรไคเนติกส์ (Prokinetics) เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร

รายละเอียดยาในแต่ละกลุ่ม มีดังนี้

  1. ตารางข้อมูลกลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine)

    ตัวยาสำคัญ

    ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)

    ไดเมนไฮดริเนต

    (Dimenhydrinate)

    ซินนาริซีน

    (Cinnarizine)

    รูปแบบยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

    ยาเม็ด ขนาด 50 มิลลิกรัม

    ยาเม็ด ขนาด 50 มิลลิกรัม

    ยาเม็ด ขนาด 25 มิลลิกรัม

    ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

    Benadryl®

    Navamed®, Motivan ®, Divomit®, Dimenine®, Dramine®

    Stugeron®, Cinnar®, Ceremin®, Cerebroad®

    กลไกการออกฤทธิ์

    ไดเฟนไฮดรามีน เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้ที่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก (anti-cholinergic) เพื่อยับยั้งการทำงานของ acetylcholine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง และมีฤทธิ์ทำให้ง่วง ตัวยาจะจับกับตัวรับ H-1แบบแข่งขันที่บริเวณระบบทางเดินอาหาร หลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ

    ไดเมนไฮดริเนต เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้ จับกับตัวรับ H1 แบบแข่งขันที่บริเวณระบบทางเดินอาหาร หลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ มีฤทธิ์ยับยั้งตัวรับสารเคมี ลดการกระตุ้นของสมองส่วนควบคุมการทรงตัว

    ซินนาริซีน เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้และยาต้านการทำงานของแคลเซียม มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบที่มีสาเหตุจากสารที่ออกฤทธิ์ต่อหลอดเลือด เช่น ฮิสตามีน โดยยับยั้งการกระตุ้นของกล้ามเนื้อผ่านการยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของแคลเซียมไอออน

    ข้อบ่งใช้ที่เกี่ยวข้อง

    รักษา และป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ

    รักษา และป้องกันอาการคลื่นไส้ ที่มีสาเหตุจากการเมารถ เมาเรือ

    รักษาอาการเมารถ เมาเรือ

    รับประทานตอนไหน

    - สามารถรับประทานได้ทั้งก่อนหรือหลังอาหาร

    - ไม่ควรรับประทานยาร่วมกับแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์การกดประสาทรุนแรงขึ้น

    ขนาดการใช้

    - ขนาดการใช้ในผู้ใหญ่ ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาด 25-50 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ขนาดการใช้ยาสูงสุด 300 มิลลิกรัมต่อวัน

    - ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 2-6 ปี ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาด 6.25 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง

    - ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 6-12 ปี ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาด 12.5-25 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง

    *ในกรณีรับประทานยาเพื่อป้องกันอาการ ให้รับประทานก่อนการเดินทาง 30 นาที

    - ขนาดการใช้ในผู้ใหญ่ ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาด 50-100 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ขนาดการใช้ยาสูงสุด 400 มิลลิกรัมต่อวัน

    - ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 2-5 ปี ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาด 12.5-25 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ขนาดการใช้ยาสูงสุด 75 มิลลิกรัมต่อวัน

    - ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 6-12 ปี ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาด 25-50 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ขนาดการใช้ยาสูงสุด 150 มิลลิกรัมต่อวัน

    - ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 12 ปี ใช้ขนาดยาเดียวกันกับในผู้ใหญ่

    - ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาด 30 มิลลิกรัม 2 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง หลังจากนั้นรับประทาน 15 มิลลิกรัมทุก 8 ชั่วโมงในระหว่างเดินทางหรือเมื่อมีอาการ

    - ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 5-12 ปี ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาด 15 มิลลิกรัม 2 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง หลังจากนั้นรับประทาน 7.5 มิลลิกรัมทุก 8 ชั่วโมงในระหว่างเดินทางหรือเมื่อมีอาการ

    ข้อควรระวัง

    - ยาถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category B ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยกับทารกในครรภ์

    - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหืด โรคต้อหินมุมปิด ต่อมลูกหมากโต มีแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะส่วนคออุดกั้น

    - ห้ามใช้ยาในทารกและเด็กแรกเกิด

    - ห้ามใช้ยาในสตรีให้นมบุตร

    - ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคต้อหิน ผู้ที่มีอาการปัสสาวะคั่ง ผู้ป่วยโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด การทำงานของไทรอยด์บกพร่อง โรคตับและไตระดับปานกลางถึงรุนแรง

    - ควรระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์

    - ยานี้อาจทำให้เกิดอาการมองเห็นภาพไม่ชัด มึนงง ง่วงนอน ส่งผลระบบประสาทสั่งการ จึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรหลังรับประทานยานี้

    - ยาถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category B ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยกับทารกในครรภ์

    - ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคลมชัก ต้อหินมุมปิด ต่อมลูกหมากโต มีแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะส่วนคออุดกั้น ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคตับบกพร่อง

    - ควรระวังการใช้ยานี้ในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

    - ยานี้อาจทำให้เกิดอาการมองเห็นภาพไม่ชัด มึนงง ง่วงนอน ส่งผลระบบประสาทสั่งการ จึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรหลังรับประทานยานี้

    - ยาถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category C ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร

    - ควรระวังการใช้ยาขนาดสูงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ

    - ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยโรคตับ ไตบกพร่อง

    - ควรระวังการใช้ยาในเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

    - ยานี้อาจทำให้เกิดอาการมองเห็นภาพไม่ชัด มึนงง ง่วงนอน ส่งผลระบบประสาทสั่งการ จึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรหลังรับประทานยานี้

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  2. ตารางข้อมูลกลุ่มโพรไคเนติกส์ (Prokinetics)

    ตัวยาสำคัญ

    ดอมเพอริโดน (Domperidone)

    รูปแบบยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

    - ยาเม็ด ขนาด 10 มิลลิกรัม

    - ยาน้ำแขวนตะกอน ความแรง 1 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร

    ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

    Motilium®, Vesperidone®, Vomitil®, Domperdone®, Motidom®, Rabugen-M®

    กลไกการออกฤทธิ์

    ดอมเพอริโดน ออกฤทธิ์ยับยั้งตัวรับโดปามีน (Dopamine) เพิ่มการเคลื่อนไหวและการบีบตัวของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้ ทำให้ระยะเวลาที่อาหารตกค้างอยู่ในกระเพาะและลำไส้สั้นลง

    ข้อบ่งใช้ที่เกี่ยวข้อง

    รักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน

    รับประทานตอนไหน

    - ควรรับประทานยาก่อนอาหาร 15-30 นาที เนื่องจากอาหารทำให้การดูดซึมยาช้าลง

    ขนาดการใช้

    - ขนาดการใช้ในผู้ใหญ่ ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาด 10 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ขนาดการใช้ยาสูงสุด 30 มิลลิกรัมต่อวัน

    - ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 ปี หรือมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 35 กิโลกรัม ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาด 250 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม วันละ 3 ครั้ง ขนาดการใช้ยาสูงสุด 750 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม

    - ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 12 ปี หรือมีน้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 35 กิโลกรัม ใช้ขนาดยาเดียวกันกับในผู้ใหญ่

    ข้อควรระวัง

    - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมใต้สมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ สมดุลอิเล็กทรอไลท์ผิดปกติ โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ตับบกพร่องระดับปานกลางถึงรุนแรง

    - ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยตับ ไตบกพร่อง

    - ควรระวังการใช้ยาในเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MIMS Thailand, Domperidone (https://www.mims.com/thailand/drug/info/domperidone?mtype=generic), 21 June 2019.
US Pharmacist, An Outpatient Approach to Nausea and Vomiting (https://www.uspharmacist.com/article/an-outpatient-approach-to-nausea-and-vomiting), 21 June 2019.
American Family Physician, Treatment of Motion Sickness (https://www.aafp.org/afp/2012/0715/p192.html), 21 June 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป