ยา Domperidone

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Domperidone

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Domperidone ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Cardepine
  • Nicardipine
  • Aguettant Nidepine

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Domperidone

ดอมเพอริโดน (domperidone) เป็นยากลุ่มยาต้านอาเจียน (antiemetic) ยาสำหรับรับประทาน ยาเม็ด ประกอบด้วยดอมเพอริโดน ขนาด 10 มิลลิกรัม และยาน้ำแขวนตะกอน ประกอบด้วยดอมเพอริโดน ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Domperidone

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ดอมเพอริโดนมีฤทธิ์ต้านการทำงานของโดปามีน ดอมเพอริโดนเพิ่มการเพอริสทัลซิส (peristalsis) ของหลอดอาหาร กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ซึ่งส่งผลให้ลด gastric emptying และเวลาของอาหารที่อยู่ในลำไส้เล็ก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้ของยา Domperidone

ยานิคาร์ดิพีน ชนิดยาเม็ด สำหรับรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 10 มิลลิกรัมต่อวัน วันละ 3 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 30 มิลลิกรัม ขนาดการใช้ยาในเด็ก เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี หรือมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 35 กิโลกรัม ขนาด 250 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ให้ยาได้ถึงวันละ 3 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 750 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน เด็กอายุมากกว่า 12 ปี หรือมีน้ำหนักตัวมากกว่า 35 กิโลกรัม ใช้ขนาดยาเท่ากับในผู้ใหญ่

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 10 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 30 มิลลิกรัม

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Domperidone

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Domperidone

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินมากกว่าปกติ เนื่องมาจากเนื้องอกที่ต่อมพิทูอิทารี
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะ QT prolongation
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีระดับอิเล็กโทรไลท์ผิดปกติ
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะของโรคหัวใจ เช่น หัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ ระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรง
  • ไม่ใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้เกิด QT prolongation และยาที่ยับยั้งการทำงานของ CYP3A4 แบบรุนแรง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต โรคตับ
  • ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Domperidone

อาจก่อให้เกิดอาการปากแห้ง ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินสูง (ขึ้นอยู่กับขนาด) ซึ่งอาจทำให้เกิดการไหลของน้ำนม ประจำเดือนไม่มาตามปกติ เต้านมมีขนาดใหญ่ในเพศชาย ปวดบริเวณหน้าอก อาการชัก ท้องเสียตื่นตัว อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะระดับรุนแรง เสียชีวิตเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจ ภาวะ tosade de pointes anaphylaxis และ angioedema

ข้อมูลการใช้ยา Domperidone ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Domperidone

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Domperidone for sickness - Motilium. Patient. (https://patient.info/medicine/domperidone-for-sickness-motilium)
Domperidone: anti-sickness medicine used to treat nausea and vomiting. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/medicines/domperidone/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม