ประเภทของยารักษาตกขาว ข้อดีข้อเสีย และวิธีการใช้

รู้จักยารักษาตกขาวแบบเจาะลึกเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและได้ผลดีที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ประเภทของยารักษาตกขาว ข้อดีข้อเสีย และวิธีการใช้

ตกขาวเกิดจากอะไร?

อาการตกขาวกับผู้หญิงเป็นเรื่องที่แยกออกจากกันได้ยากเพราะเป็นอาการธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ทุกคน มีสาเหตุเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดอาการตกขาวตามมา แต่บางรายก็อาจมีอาการตกขาวที่ผิดปกติได้เช่นกัน โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อภายในช่องคลอด  มีโรคต่างๆ เกิดขึ้นกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ หรือจากการแพ้สารเคมี เหล่านี้จึงทำให้ต้องใช้ยารักษาตกขาวในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยารักษาตกขาวมีกี่ประเภท

สำหรับยารักษาตกขาวที่ใช้ในตำรับแพทย์แผนปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ยารักษาตกขาวในรูปแบบ ยาปฏิชีวนะ

เป็นยารักษาตกขาวชนิดรับประทานเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการตกขาว หรือลดปริมาณเชื้อโรคให้น้อยลงเพื่อให้ร่างกายเข้าสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด แต่การรับประทานยารักษาตกขาวประเภทนี้ควรผ่านการตรวจและวินิจฉัยโรค พร้อมกับได้รับใบสั่งยาจากแพทย์ก่อนเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. ยารักษาตกขาวในรูปแบบ ยาเหน็บช่องคลอด

หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “ยาสอดช่องคลอด” เป็นยารักษาตกขาวอีกประเภทหนึ่งที่จะช่วยให้อาการตกขาวหายเร็วขึ้น โดยมีวิธีใช้ดังต่อไปนี้

  • ควรล้างมือให้สะอาด ปัสสาวะ และล้างทำความสะอาดบริเวณภายในช่องคลอดด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ ให้เรียบร้อย
  • แกะเม็ดยาออกจากห่อแล้วจุ่มลงในน้ำสะอาดนาน 1 – 2 วินาที แค่พอให้เม็ดยาชื้น และช่วยให้เม็ดยารักษาตกขาวลื่น สามารถสอดเข้าได้ง่าย
  • นอนหงายราบกับพื้นแล้วชันเข่าขึ้นมา จับเม็ดยาสอดเข้าไปในช่องคลอดโดยให้ด้านปลายเรียวเข้าไปก่อน ค่อยๆ ใช้นิ้วชี้ดันเม็ดยาเข้าไป หรือถ้ามีอุปกรณ์ช่วยสอดที่เรียกว่า “แอปพลิเคเตอร์” จะช่วยให้สอดยาได้สะดวกยิ่งขึ้น เพียงแค่ใส่เม็ดยาไว้ตรงปลายแล้วสอดแท่งแอปพลิเคเตอร์เข้าไปให้ลึกที่สุด จากนั้นกดปลายพลาสติกเพื่อให้เม็ดยาหล่นเข้าไปในช่องคลอดแล้วค่อย
    ดึงแท่งแอปพลิเคเตอร์ออกมา
  • สำหรับยารักษาตกขาวที่ต้องสอดครั้งละ 2 เม็ด ให้สอดยาทีละเม็ด แต่ต้องทำติดต่อกัน
  • สอดยารักษาตกขาวให้ครบจำนวนตามที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำ ถึงแม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ไม่ควรหยุดยาเองจนกว่าจะใช้ยาให้ครบ  ขณะมีประจำเดือนก็ควรสอดยาด้วย เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุดและป้องกันอาการดื้อยา อีกทั้งควรงดการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากเลี่ยงไม่ได้ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  • หลังจากที่สอดยารักษาตกขาวแล้วควรนอนท่าเดิมนิ่งๆ โดยอาจใช้ทิชชู หรือแผ่นรองซับอนามัยรองที่กางเกงชั้นในไว้ เพื่อรองรับเม็ดยาที่ละลายแล้วอาจจะไหลออกมาได้

ข้อดีข้อเสียของยารักษาตกขาวแต่ละประเภท

1. ยารักษาตกขาวในรูปแบบยาปฏิชีวนะ 

ข้อดี :  เป็นยารักษาตกขาวที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี หากรับประทานครบอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ หรือเภสัชกร จะช่วยให้ผลลัพธ์การรักษารวดเร็วยิ่งขึ้น 

ข้อเสีย :

  • มีผลต่อภูมิต้านทาน ตัวยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจะส่งผลกระทบต่อภูมิต้านทาน หรือภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย อาจทำให้เกิดการสูญเสียแบคทีเรียประจำถิ่น (แลคโตบาซิลไล) ซึ่งเป็นแบคทีเรียตัวดี ไปกับแบคทีเรียไม่ดีด้วยทำให้ไม่มีแบคทีเรียตัวดีคอยควบคุมความสมดุลในช่องคลอด
  • เมื่อกินบ่อยๆ เข้าจะทำให้เชื้อโรคดื้อยา เนื่องจากเชื้อโรคมีการพัฒนาตัวเองจนสามารถต้านฤทธิ์ยาได้กลายเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย แม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม
  • มีปฏิกิริยาต่อยาชนิดอื่น ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มสามารถเข้าไปรบกวนการทำงานของยาชนิดอื่นได้ 
  • มีผลข้างเคียงต่อร่างกายขึ้นอยู่กับชนิดของยา  ขนาดรับประทาน และวิธีรับประทาน รวมถึงความไวของอาการที่มีต่อยาปฏิชีวนะ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ลมพิษ ผื่นคัน หรือท้องเสีย เป็นต้น

2. ยารักษาตกขาวในรูปแบบยาเหน็บช่องคลอด 

ข้อดี:  

  • ใช้ในการรักษากรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยารักษาตกขาว หรือใช้วิธีการรักษาด้วยรูปแบบอื่นได้
  • ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่ายารับประทานเพราะตัวยาจะละลายและซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารเหมือนยารับประทาน
  • สามารถรักษาอาการเฉพาะที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะตัวยาจะเข้าไปบำบัดได้ตรงจุด

ข้อเสีย:

  • วิธีใช้งานยุ่งยาก ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง 
  • ตัวยาเหน็บอาจจะละลาย หรือไหลซึมออกมาจากช่องคลอดทำให้เปื้อนที่กางเกงชั้นในได้
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางโรค เช่น ผู้เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องคลอด ผู้เคยได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสงบริเวณช่องคลอด หรือมีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ 
  • อาจมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น รู้สึกปวดแสบร้อน หรือระคายเคืองบริเวณช่องคลอด มีอาการคลื่นไส้ และปวดท้องร่วมด้วย  หากอาการเหล่านี้รุนแรงขึ้นควรรีบไปพบแพทย์

อาการตกขาวผิดปกติเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการดูแลตัวเองตามหลักสุขอนามัยที่ดี  การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และใช้ยารักษาตกขาวที่สั่งจ่ายจากแพทย์ หรือเภสัชกรให้ครบถ้วน เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้น้องสาวของคุณมีสุขภาพดีได้เหมือนเดิม  อย่างไรก็ดี ตกขาวจากเชื้อโรคบางชนิดจำเป็นต้องรักษาคู่นอนด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นางขวัญจิตร เหล่าทอง และ นางเพียงเพ็ญ ธัญญะตุลย์, โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (http://www.si.mahidol.ac.th/si...), 14 ก.พ. 2562
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์, ตกขาว .. รักษาอย่างไร (https://www.pharmacy.mahidol.a...), 14 ก.พ. 2562

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีเพศสัมพันธ์ตอนมีตกขาวจะเป็นอะไรหรือไม่
มีเพศสัมพันธ์ตอนมีตกขาวจะเป็นอะไรหรือไม่

ตกขาวปกติและผิดปกติ มีลักษณะอย่างไร แล้วมีเพศสัมพันธ์ช่วงตกขาวมีผลกับการตั้งครรภ์หรือไม่?

อ่านเพิ่ม
ตกขาวคืออะไร? ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับตกขาว
ตกขาวคืออะไร? ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับตกขาว

ตอบสิ่งที่หลายคนมักสงสัย ตกขาวคืออะไร? แบบไหนปกติ แบบไหนเป็นสัญญาณของโรค

อ่านเพิ่ม
ไขคำตอบสารพัดอาการเกี่ยวกับตกขาว
ไขคำตอบสารพัดอาการเกี่ยวกับตกขาว

ว่ากันว่า ตกขาวสามารถบ่งบอกภาวะตั้งครรภ์ได้ จริงหรือ? มาเข้าใจและรู้ทุกคำตอบเกี่ยวกับปัญหาเรื่องตกขาว ที่ผู้หญิงหลายคนสงสัยแต่ไม่กล้าถาม

อ่านเพิ่ม