ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
เขียนโดย
ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตกขาวสีน้ําตาล บอกอะไร? ปกติไหม? อันตรายหรือไม่ อย่างไร?

ไขข้อข้องใจ ตกขาวสีน้ำตาลอันตรายหรือไม่ เกิดจากสาเหตุอะไร มีอาการบ่งชี้ใดที่บอกว่าควรไปพบแพทย์ได้แล้ว
เผยแพร่ครั้งแรก 6 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 2 พ.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ตกขาวสีน้ําตาล บอกอะไร? ปกติไหม? อันตรายหรือไม่ อย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตกขาวสีน้ำตาลมักมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนก่อน และหลังมีประจำเดือน การติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรืออาจเกิดจากผนังมดลูกลอกตัวช้า
  • ตกขาวสีน้ำตาลที่มาหลังมีประจำเดือนมักไม่เป็นอันตราย แต่หากคุณมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คันในช่องคลอด ปวดท้อง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น มีเลือดออกจากช่องคลอด คุณควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจภายใน และวินิจฉัยอาการ
  • ตกขาวสีน้ำตาลสามารถเกิดขึ้นได้จากการมีเพศสัมพันธ์แล้วเกิดการบาดเจ็บขึ้น หรืออาจเกิดจากติ่งเนื้อ หรือก้อนเนื้อบริเวณปากมดลูกด้วย นอกจากนี้ตกขาวสีน้ำตาลยังพบได้หลังจากคลอดบุตรแล้ว โดยจะมีลักษณะเป็นเลือดปนน้ำเหลือง แต่ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
  • การรักษาตกขาวสีน้ำตาลที่ผิดปกติจะรักษาไปตามสาเหตุของอาการ เช่น หากเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือการติดเชื้อรา แพทย์ก็จะจ่ายยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อราให้ และกำชับผู้ป่วยให้มีเพศสัมพันธ์โดยให้คู่นอนสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  • หากคุณพบตกขาวสีน้ำตาลเป็นครั้งคราวก็ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ ร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ คุณก็ควรเข้ารับการวินิจฉัยจากสูตินรีแพทย์โดยตรงเพื่อความปลอดภัย (ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ได้ที่นี่)

ตกขาว (Leukorrhea หรือ Vaginal Discharge) คือ สารคัดหลั่งที่ถูกขับออกจากปากมดลูกไปยังช่องคลอด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อโรค 

ตกขาวปกติมีลักษณะเมือกเหลว ปกติตกขาวจะมีสีขาวหรือใส และไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนตกขาวที่ผิดปกติจะมีสีต่างๆ ได้แก่ ตกขาวสีน้ำตาล ตกขาวสีขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก สีเหลือง สีเขียว หรืออาจมีมูกเลือด มีฟอง หรือมีกลิ่นเหม็นมาก โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • จากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น 
  • การแพ้สารเคมีจากผ้าอนามัย หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องคลอดและปากมดลูก
  • ปัญหาเรื่องการรักษาความสะอาด 

ตกขาวสีน้ําตาลหลังมีประจำเดือนอันตรายไหม

โดยทั่วไปตกขาวสีน้ำตาลหลังมีประจำเดือนมักไม่เป็นอันตราย แต่หากเป็นหลายครั้ง และมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วม เช่น มีเลือดออกกะปริดกะปรอย คันในช่องคลอด มีกลิ่นเหม็น ปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้  แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย

เนื่องจากการมีตกขาวสีน้ำตาลเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานผิดปกติ บางครั้งตกขาวสีน้ำตาลอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงอาจเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายทั้งก่อน และหลังมีประจำเดือน

แต่หากเกิดตกขาวสีน้ำตาลหลังมีประจำเดือน สาเหตุส่วนมากมักจะมาจากผนังมดลูกลอกตัวช้า หรือลอกออกมาเป็นประจำเดือนไม่หมด ทำให้กลายเป็นตกขาวสีน้ำตาลภายหลังจากมีประจำเดือนไปแล้ว   

แพทย์ให้คุณเข้ารับการตรวจภายในเพื่อเก็บตัวอย่างตกขาวไปตรวจเพิ่มเติมต่อไป หรืออาจใช้วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Test) ในกรณีที่สงสัยว่าอาจป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตกขาวสีน้ําตาลหลังมีเพศสัมพันธ์เกิดจากอะไร?

หากหลังมีเพศสัมพันธ์แล้วมีตกขาวสีน้ำตาลออกมา อาจเกิดจากการบาดเจ็บ เช่น 

  • ช่องคลอดมีบาดแผลจนเลือดออก 
  • อาจเกิดจากมีติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อที่ปากมดลูก 
  • มีแผลที่ช่องหลอด 
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ 

ทั้งนี้หากอาการตกขาวมีความผิดปกติและอาการรุนแรงมากขึ้น ควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อรับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจภายในเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

ตกขาวสีน้ําตาลหลังคลอดเกิดจากอะไร?

ช่วงหลังคลอด คุณแม่จะมีน้ำคาวปลาขับออกมาจากแผลภายในมดลูก ลักษณะปกติเป็นเลือดปนน้ำเหลือง กลิ่นไม่เหม็นเน่า มี 3 ระยะ คือ

  1. ระยะ 1-3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีลักษณะสีแดงคล้ำและข้น
  2. ระยะ 4-14 วันหลังคลอด สีน้ำคาวปลาจะค่อยๆ จางลงเป็นสีน้ำตาล คล้ายสีน้ำล้างเนื้อ
  3. ตั้งแต่ 14-6 สัปดาห์หลังคลอด น้ำคาวปลาจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว

หลังจากที่ร่างกายขับน้ำคาวปลาหมดแล้ว ภายในช่องคลอดจะมีการเริ่มสร้างตกขาวขึ้นมา อาจจะมีตกขาวสีน้ำตาลออกมาได้ ไม่ถือว่าผิดปกติ แต่ถ้าตกขาวมามากผิดปกติ มีสีแดงสด ปัสสาวะแสบหรือขัด คันภายในช่องคลอด มีกลิ่นเหม็นมาก หรือมีอาการปวดท้องหรือมีไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์

แนวทางการรักษาตกขาวสีน้ําตาล

  1. ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอาการตกขาวสีน้ําตาล ช่วยให้รักษาได้อย่างตรงจุด เพราะถ้าหากอาการตกขาวสีน้ำตาล เกิดสาเหตุจากโรคอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูกลอกตัวช้า (ช่วงหลังมีประจำเดือน) จะได้รักษาอย่างทันท่วงที
  2. หากพบว่าตกขาวผิดปกติเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดจากเชื้อรา แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อรา และถ้าผู้ที่มีอาการตกขาวผิดปกติ ซึ่งสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ควรให้คู่ของคุณเข้ารับการรักษาอาการดังกล่าวร่วมด้วย
  3. รับประทานสมุนไพรเพื่อช่วยในการบำรุงมดลูก อย่างเช่น ว่านชักมดลูก หรือยาสตรี  เป็นต้น ทั้งนี้การรับประทานยาสมุนไพรควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์

ทั้งนี้ ผู้หญิงควรรักษาความสะอาดช่องคลอดและอวัยวะเพศอยู่เสมอ โดยการล้างช่องคลอดด้วยน้ำและสบู่อ่อน เช่น สบู่เด็ก ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีชนิดต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบระคายเคืองได้ และสวมใส่กางเกงชั้นในที่สะอาด ทำจากผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่หนาและไม่อับชื้น

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. ตกขาวรักษาอย่างไร (http://library.md.chula.ac.th/guide/vancouver2011.pdf), เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2562.
ปารีตา เปิ่นสูงเนิน. ตกขาวปกติ (http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/211_49_1.pdf, เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2562.
ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. ตกขาวคราวตั้งครรภ์ (http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/402_1.pdf), เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำอย่างไรเมื่อตกขาวเป็นสีเหลือง?
ทำอย่างไรเมื่อตกขาวเป็นสีเหลือง?

สันนิษฐานสาเหตุที่ทำให้มี ตกขาวสีเหลือง การสังเกตอาการ และหลักปฏิบัติเบื้องต้น

อ่านเพิ่ม
5 วิธีรักษาตกขาวด้วยตนเองแบบไม่ต้องพึ่งยา
5 วิธีรักษาตกขาวด้วยตนเองแบบไม่ต้องพึ่งยา

หากอาการตกขาวที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส หรือมีความรุนแรงมาก สามารถรักษาได้ด้วย 5 วิธีนี้

อ่านเพิ่ม