ปัสสาวะแสบขัด

รู้จัก "สัญญาณเตือน" ของโรคระบบทางเดินปัสสาวะและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปัสสาวะแสบขัด

ปัสสาวะแสบขัดมักจะหมายถึงการที่รู้สึกไม่สบายตัวระหว่างที่ปัสสาวะ  อาการแสบ หรือปวดนั้นอาจมาจากกระเพาะปัสสาวะ  ท่อปัสสาวะ หรือเนื้อเยื่อแถวอวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะเป็นท่อที่นำปัสสาวะออกมาสู่ร่างกาย  ในผู้ชาย บริเวณที่จัดเป็นเนื้อเยื่อแถวอวัยวะเพศนั้นจะอยู่ระหว่างถุงอัณฑะและทวารหนัก ในขณะที่ในผู้หญิงนั้นเป็นบริเวณที่อยู่ระว่างทวารหนักและช่องคลอด

อาการปัสสาวะแสบขัดนั้นเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก และอาจเป็นอาการของหลายๆ โรค

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะแสบขัด

ปัสสาวะแสบขัดนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจเกิดจากการอักเสบในทางเดินปัสสาวะก็ได้

ทางเดินปัสสาวะนั้นประกอบด้วยท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และไตทั้ง 2 ข้าง ท่อไตเป็นท่อที่นำปัสสาวะจากไตมายังกระเพาะปัสสาวะ การที่อวัยวะใดๆ เหล่านี้เกิดการอักเสบสามารถทำให้เกิดอาการปัสสาวะแสบขัดได้ทั้งสิ้น

ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้มากกว่าผู้ชายเนื่องจากมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่า หมายความว่า แบคทีเรียจะเดินทางด้วยระยะที่สั้นกว่าจึงสามารถเข้าถึงกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงในการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้มากขึ้น

โรคอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดอาการปัสสาวะแสบขัดทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

ผู้ชายอาจจะมีปัสสาวะแสบขัดจากต่อมลูกหมากอักเสบซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะแสบขัดได้  หรือหากมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เช่น โรคเริมที่อวัยวะเพศ หนองในและหนองในเทียม   สามารถทำให้เกิดปัสสาวะแสบขัดได้  ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเหล่านี้ด้วย  เนื่องจากการติดเชื้อเหล่านี้อาจจะไม่ได้มีอาการเสมอไป ทั้งนี้การมีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย เช่น  การไม่ใส่ถุงยางอนามัย หรือมีคู่นอนหลายคน จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้  ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะแสบขัดคือ เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยชนิด interstitial cystitis (IC) นั้นเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด   อาการของโรค interstitial cystitis นั้นประกอบด้วยอาการปวดและเจ็บที่กระเพาะปัสสาวะและบริเวณอุ้งเชิงกราน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ ในบางรายอาจเกิดจากการฉายแสง

บางครั้งอาการปัสสาวะแสบขัดนั้นก็ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่อาจเกิดจากโรคนิ่วในไต ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับบริเวณอวัยวะเพศ เช่น สบู่ โลชั่น และฟองสบู่อาบน้ำ ก็สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อในช่องคลอดได้ สีภายในผลิตภัณฑ์ซักผ้าและผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองและทำให้ปัสสาวะแสบขัดได้เช่นกัน

การรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด

แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาในการรักษา ดังนี้

  • ให้ยาปฏิชีวนะ   สำหรับรักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ  ต่อมลูกหมากอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด
    อาการปัสสาวะแสบขัดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นมักจะดีขึ้นค่อนข้างเร็วหลังจากเริ่มยา  และต้องรับประทานยาให้หมดตามแพทย์สั่งเสมอ
  • ให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดจากกระเพาะปัสสาวะเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด (interstitial cystitis)
    อาการปวดจาก interstitial cystitis นี้ อาจจะรักษาได้ยากกว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ยานั้นจะเกิดช้ากว่า และอาจต้องรับประทานยานานถึง 4 เดือนจึงจะเริ่มรู้สึกดีขึ้น

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ซักผ้าและห้องน้ำที่มีกลิ่นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการระคายเคือง 
  • ใส่ถุงยางอนามัยระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 
  • เปลี่ยนอาหารที่รับประทาน โดยกำจัดเครื่องดื่มและอาหารที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง  ทั้งนี้อาหารบางชนิดอาจจะทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการระคายเคืองได้มากกว่าอาหารอื่นๆ เช่นแอลกอฮอล์ คาเฟอีน อาหารเผ็ด ผลไม้ตระกูลส้มและน้ำผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ และสารให้ความหวานเทียม
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดสูงเพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะฟื้นตัว ในระหว่างที่รับการรักษาให้รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์

หมั่นสังเกตตัวเองดีๆ หากมีความผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป   


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)