กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

5 วิธีรักษาตกขาวด้วยตนเองแบบไม่ต้องพึ่งยา

หากอาการตกขาวที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส หรือมีความรุนแรงมาก สามารถรักษาได้ด้วย 5 วิธีนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
5 วิธีรักษาตกขาวด้วยตนเองแบบไม่ต้องพึ่งยา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตกขาว เป็นสารคัดหลั่งสีใส หรือคล้ายแป้งเปียกสีขาวซึ่งอยู่บริเวณปากช่องคลอด หรือปากมดลูก มักจะมีปริมาณมากในช่วงไข่ตก หรือก่อนมีประจำเดือน
  • ตกขาวปกติจะไม่มีกลิ่น ไม่มีสี แต่หากตกขาวมีสีเปลี่ยนไป มีกลิ่น และมีอาการคันช่องคลอด เป็นไปได้ว่า ช่องคลอดจะเกิดการติดเชื้อต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
  • กรณีที่ความผิดปกติของตกขาวไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ สามารถรักษาอาการนี้ด้วยตนเองได้ หัวใจสำคัญของการรักษาก็คือ การรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ และอย่าให้อวัยวะเพศอับชื้น
  • นอกจากดูแลตนเองแล้ว ควรให้คู่รักทำความสะอาดอวัยวะเพศให้ดีด้วย เพราะสาเหตุที่ตกขาวเกิดความผิดปกติ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากความไม่สะอาดของอวัยวะเพศของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือการไม่สวมถุงยางอนามัย
  • อวัยวะเพศหญิงเป็นส่วนที่ง่ายต่อการอับชื้นและติดเชื้อได้ง่าย หากเกิดอาการระคายเคืองใดๆ อย่ามองข้ามอาการเหล่านั้น ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจความผิดปกติ (ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ได้ที่นี่)

ตกขาว เป็นสารคัดหลั่งที่ผู้หญิงทุกคนต้องมี แต่หลายคนอาจมีตกขาวผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยเกี่ยวกับประจำเดือน หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม หรือรักษาความสะอาดได้ไม่ดีพอ 

วันนี้เรามาดูเคล็ดลับง่ายๆ กันว่า มีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยรักษาความสะอาดจุดซ่อนเร้นให้ดีขึ้น และทำให้ตกขาวไม่เกิดความผิดปกติได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความหมายของตกขาว

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ไหลออกมาจากอวัยวะต่างๆ ในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นช่องคลอด มดลูก หรือปากมดลูก ปกติแล้วจะมีลักษณะเป็นสีใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี และมีปริมาณไม่มาก แค่พอให้ช่องคลอดมีความชุ่มชื้นเท่านั้น

ตกขาวอาจเปลี่ยนแปลงในบางช่วง เช่น ช่วงก่อน-หลังมีประจำเดือน หรือเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่ก็จะกลับมามีลักษณะปกติหลังจากนั้นไม่กี่วัน

วิธีดูแลจุดซ่อนเร้น ไม่ให้ตกขาวเกิดความผิดปกติ

หากพบความผิดปกติของตกขาว เช่น มีสีที่เปลี่ยนไป มีกลิ่น และเกิดอาการคันบริเวณช่องคลอด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า อาจเกิดจากติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ซึ่งในกรณีที่ติดเชื้อควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์โดยเร็ว 

เนื่องจากการซื้อยามารับประทานเองอาจไม่ตรงกับการติดเชื้อนั้นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา แต่ถ้าเป็นตกขาวที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ก็สามารถรักษาด้วยตัวเองได้ง่ายๆ 

วิธีเหล่านี้ยังเป็นวิธีดูแลจุดซ่อนเร้นเพื่อให้ตกขาวยังคงความปกติไว้ได้ด้วย 

1. รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่เสมอ 

อย่าปล่อยให้อวัยวะเพศเกิดการอับชื้น โดยเฉพาะบริเวณภายนอก วิธีนี้สามารถทำได้ง่ายๆ คือ ทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำควรใช้กระดาษชำระเช็ดอวัยวะเพศให้แห้ง และเช็ดจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกจากทวารหนักไปสัมผัสกับอวัยวะเพศ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในช่วงเป็นประจำเดือน คุณยิ่งต้องดูแลเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อรา ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 2-3 ชั่วโมง และอย่าปล่อยให้อวัยวะเพศเปียกชื้นด้วย

นอกจากนี้ไม่ควรสวมใส่กางเกงใน หรือกางเกงคับเกินไป เพราะอาจทำให้อวัยวะเพศชื้นแฉะ และทำให้ไม่สบายตัวด้วย

2. ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด 

มีความเชื่อกันว่า การสวนล้างช่องคลอดจะทำให้ภายในช่องคลอดสะอาด ช่วยลดปริมาณตกขาวได้ หรือในผู้หญิงรายที่เพิ่งมีเพศสัมพันธ์ การสวนล้างช่องคลอดจะช่วยป้องกันอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้อีกด้วย 

ทั้งนี้ความเชื่อเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ผิดทั้งหมดเพราะจริงๆ แล้ว การสวนล้างช่องคลอดนั้นอาจทำให้เกิดภาวะช่องคลอดอักเสบตามมา ซึ่งจะส่งผลให้ช่องคลอดมีกลิ่นและมีตกขาวที่มากกว่าปกติ 

นอกจากนี้การใช้น้ำยาล้างจุดซ่อนเร้น สบู่ หรือน้ำไม่สะอาดสวนล้างอวัยวะเพศเข้าไป ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานตามมาได้ 

ทางที่ดีให้ล้างจุดซ่อนเร้นด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่อ่อนๆ แค่ภายนอกให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้งก็เพียงพอแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. ซักชุดชั้นในให้สะอาด 

บางครั้งสาเหตุของการเกิดตกขาวก็อาจเป็นการสวมใส่ชุดชั้นในที่ไม่สะอาด หรือการสวมใส่ชุดชั้นในซ้ำๆ อยู่เสมอ 

ดังนั้นหากตกขาวผิดปกติ คุณควรเปลี่ยนชุดชั้นในใหม่ทั้งหมด หมั่นซักชุดชั้นในบ่อยๆ หรือนำชุดชั้นในเก่าไปต้มน้ำร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรคเป็นครั้งคราว และควรเปลี่ยนชุดชั้นในใหม่ทุกครั้งหลังอาบน้ำ เพื่อป้องกันการอับชื้นซึ่งเป็นแหล่งเจริญเติบโตของเชื้อรา และแบคทีเรีย

4. รับประทานโยเกิร์ต 

การรับประทานโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยวที่มีแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส จะช่วยเพิ่มแบคทีเรียดังกล่าวภายในช่องคลอดได้ แบคทีเรียนี้เองจะช่วยลดปัญหาตกขาวมีกลิ่นที่อาจเกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียภายในช่องคลอดได้ 

ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดนั้นอาจเกิดจากการรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องก็ได้ ทำให้กระบวนการฆ่าเชื้อราภายในช่องคลอดไม่สามารถทำได้ตามปกติ จึงอาจทำให้พบตกขาวที่สีปกติ หรือมีกลิ่นเหม็น

5. ระมัดระวังเรื่องการมีเพศสัมพันธ์

สาเหตุส่วนมากของการมีตกขาวที่ผิดปกติ เกิดจากคู่รัก หรือคู่นอน ที่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาดอวัยวะเพศตัวเองจึงอาจทำให้เกิดเชื้อราขึ้นโดยไม่รู้ตัว 

เมื่อมีเพศสัมพันธ์จึงทำให้เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย ติดเข้ามาภายในอุ้งเชิงกรานของฝ่ายหญิงได้

การมีตกขาวผิดปกติ ไม่ได้หมายความว่า คุณต้องงดมีเพศสัมพันธ์อย่างเด็ดขาด เพราะความจริงแล้วคุณยังสามารถมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักได้ แต่ควรต้องดูแลความสะอาดอวัยะเพศให้สะอาดและป้องกันอย่างถูกวิธี เช่น การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และหมั่นไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

ตกขาวผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธ์ได้ หากดูแลทำความสะอาดอวัยวะเพศและรักษาอาการตกขาวผิดปกติด้วยวิธีที่แนะนำแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้น

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Editors of Encyclopaedia Britannica, Leukorrhea (https://www.britannica.com/science/leukorrhea), 21 March 2020.
NHS, Vaginal discharge (https://www.nhs.uk/conditions/vaginal-discharge/), 21 March 2020.
Mayo Clinic Staff, Vaginal discharge (https://www.mayoclinic.org/symptoms/vaginal-discharge/basics/definition/sym-20050825), 21 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประเภทของยารักษาตกขาว ข้อดีข้อเสีย และวิธีการใช้
ประเภทของยารักษาตกขาว ข้อดีข้อเสีย และวิธีการใช้

รู้จักยารักษาตกขาวแบบเจาะลึกเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและได้ผลดีที่สุด

อ่านเพิ่ม
ตกขาวคืออะไร? ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับตกขาว
ตกขาวคืออะไร? ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับตกขาว

ตอบสิ่งที่หลายคนมักสงสัย ตกขาวคืออะไร? แบบไหนปกติ แบบไหนเป็นสัญญาณของโรค

อ่านเพิ่ม