สาเหตุที่ทำให้มีไขมัน Triglyceride สูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

10 สาเหตุที่ทำให้คุณอาจมีระดับไขมัน Triglyceride สูงเมื่อเป็นเบาหวาน
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สาเหตุที่ทำให้มีไขมัน Triglyceride สูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การพบระดับไขมัน Triglyceride (ไตรกลีเซอไรด์) ในเลือดสูง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเรื่องปกติ เพราะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 80% ที่มีปัญหานี้ แต่ก็ไม่ควรเพิกเฉย เพราะค่าระดับไขมันชนิด Triglyceride ที่สูงจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ และไตวาย

บทความนี้ จะอธิบายเกี่ยวกับไขมันชนิด Triglyceride ว่า คืออะไร สาเหตุการเพิ่มระดับไขมัน และวิธีการลดไขมันในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไขมันชนิด triglyceride คืออะไร

ไขมันชนิด Triglyceride เป็นไขมันซึ่งพบได้มากที่สุดภายในร่างกายและในอาหาร เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด คำศัพท์ทางการแพทย์เรียกภาวะไขมันชนิด Triglyceride ในเลือดสูงว่า “Hyperglyceridemia”

ในการทดลองอดอาหาร แบ่งเกณฑ์ค่าระดับไขมันชนิด Triglyceride ดังนี้

  • ระดับปกติ: ต่ำกว่า 150 mg/dL
  • ระดับสุ่มเสี่ยง: 150-199 mg/dL
  • ระดับสูง: 200-499 mg/dL
  • ระดับสูงมาก: มากกว่า 500 mg/dL

ค่าระดับไขมันชนิด Triglyceride ที่สูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ และการทำลายเส้นประสาท โดยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการมีระดับไขมันชนิด triglyceride สูงเรื้อรังกับภาวะเส้นเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) และภาวะดื้อต่ออินซูลิน 

นอกจากนี้ ในกรณีที่ระดับ Triglyceride สูงมาก คือ 500 mg/dL ขึ้นไป มีโอกาสสูงที่จะเกิดการอักเสบของตับอ่อน (pancreatitis) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างมาก

10 สาเหตุ ระดับไขมันชนิด Triglyceride สูงในผู้ป่วยเบาหวาน

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีพอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวาน จะทำให้มีระดับน้ำตาลและอินซูลิน (Insulin) ในเลือดสูง โดยอินซูลินช่วยเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็น Glycogen (Glucose ในรูปแบบสะสม) และช่วยเก็บ Glycogen ไว้ที่ตับ

เมื่อตับสะสม Glycogen จนเต็มที่แล้ว น้ำตาลกลูโคสจะถูกนำไปเก็บในรูปแบบของกรดไขมันในกระแสเลือด กรดไขมันเหล่านี้จะประกอบขึ้นเป็นไขมันชนิด Triglyceride ซึ่งจะสะสมอยู่ในไขมันของร่างกาย

2.การได้รับพลังงานมากกว่าที่ใช้

ไขมันชนิด Triglyceride ถูกใช้ในการเผาผลาญพลังงานอย่างรวดเร็วระหว่างมื้อ การได้รับพลังงานจากสารอาหารมากเกินไปจะทำให้เกิดการสะสมอยู่ในร่างกาย

3.การรับประทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก

เมื่อคุณรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ร่างกายจะย่อยอาหารเหล่านี้ออกมาเป็นน้ำตาลกลูโคส ซึ่งจะถูกดูดซึมผ่านลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดการสร้างไขมันชนิด Triglyceride ตามมาได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

4.โรคอ้วน

การเป็นโรคอ้วนไม่ได้หมายความว่า คุณจะมีระดับไขมันชนิด Triglyceride สูงเสมอไป แต่มีความเชื่อมโยงระหว่างโรคอ้วนกับการมีระดับไขมันชนิด Triglyceride ในเลือดสูง พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างรอบเอวที่มากเกินไปกับระดับไขมันชนิด Triglyceride ที่สูงมากกว่า เมื่อเทียบกับดัชนีมวลกาย

5.การดื้ออินซูลิน

การเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้มีระดับอินซูลินและน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ และนำไปสู่การสะสมของไขมันชนิด Triglyceride

6.ไตวาย

ความเสี่ยงของการเกิดไตวายเรื้อรังจะเพิ่มขึ้นในคนที่เป็นเบาหวาน โดยไตวายทำให้เกิดปัญหาการจัดการกับไขมันในเลือด ทำให้มีระดับไขมันชนิด Triglyceride สูง ซึ่งอาจเกิดจากการสร้างไขมันชนิด Triglyceride ที่มากเกินไป หรือการไม่สามารถกำจัดไขมันชนิดนี้ออกจากเลือดได้มากพอ

ภาวะไตวายยังสามารถทำให้เกิด หรือทำให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินแย่ลงอีกด้วย

7.พันธุกรรม

โรคที่เกี่ยวข้องกับระดับไขมันชนิด Triglyceride สูง อาจมีการถ่ายทอดในครอบครัวได้ โดยจะมี Xanthoma หรือไขมันสีเหลืองสะสมตามผิวหนัง

การศึกษาในปี 2012 พบว่า ค่าระดับไขมันชนิด HDL ต่ำ และระดับไขมันชนิด Triglyceride สูงที่เกิดจาการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เพิ่มขึ้น

8.ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์พบได้มากในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  ลักษณะที่พบบ่อย คือการมีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism)

หากคุณมีระดับไขมันชนิด Triglyceride และ Cholesterol สูง อาจเป็นอาการหนึ่งของการมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการประเมินโรคนี้ และการรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ อาจช่วยลดระดับไขมันชนิด Triglyceride ได้

9.ยา

ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมน Estrogen ยากลุ่ม Beta blockers ยาขับปัสสาวะ ยากลุ่มสเตียรอยด์ Retinoids Protease Inhibitors และ Tamoxifen สามารถเพิ่มระดับไขมันชนิด Triglyceride ได้

หากคุณกำลังรับประทานยาในกลุ่มนี้ อาจต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษา อย่าหยุดยาเหล่านี้โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

10.อาหาร

อาหารบางประเภทมีผลต่อระดับไขมันชนิด Triglyceride มากกว่าชนิดอื่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่างกายจะสามารถทนต่ออาหารกลุ่มนี้ได้น้อยลง อาหารดังกล่าวประกอบด้วยน้ำตาล ธัญพืชแปรรูป แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิด trans มาก

จะลดระดับไขมันชนิด Triglyceride ได้อย่างไร

  • ออกกำลังกาย
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์น้อย
  • เลิกบุหรี่
  • ควบคุมโรคเบาหวานอย่างเคร่งครัด
  • จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาช่วยรักษา หากการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตไม่ได้ผล หรือภาวะนี้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

แนวทางทั่วไปในการรักษา hypertriglyceridemia

แนวทางการรักษาภาวะไขมันชนิด Triglyceride ในเลือดสูง แบ่งตามระดับ Triglyceride ในเลือด ดังนี้

ระดับสุ่มเสี่ยง (150-199 mg/dL) 

ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyle modification) ก่อน เช่น ควรรับประทานอาหารที่ปราศจากไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ รับประทานอาหารประเภท ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ ควบคุมความดันโลหิตสูง

ระดับสูง (200-499 mg/dL) 

ให้รักษาด้วยวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหมือนกับที่กล่าวแล้วในระดับสุ่มเสี่ยง ร่วมกับการลดระดับไขมัน LDL cholesterol ลง

ระดับสูงมาก (500 mg/dL หรือมากกว่า)

เป้าหมายสำคัญในการรักษา คือ การป้องกันไมให้เกิดการอักเสบของตับอ่อน (pancreatitis) และรักษาโดยลดระดับของ triglyceride ให้ต่ำกว่า 500 mg/dL ก่อน โดยใช้ยากลุ่มไฟเบรต (fibrates) หรือไนอะซิน (niacin) หลังจากนั้น จึงมุ่งเป้าหมายไปที่การลดระดับ LDL cholesterol


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
แนวทางการดูแลรักษาความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด Guidelines for management of dyslipidemia ราชวิทยาลัยอายรุแพทย์แห่งประเทศไทย, 2545
Berglund L et al., Evaluation and Treatment of Hypertriglyceridemia: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22962670), September 2012

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)