ไวรัสตับอักเสบบี: สาเหตุ อาการ การรักษา

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 10 นาที
ไวรัสตับอักเสบบี: สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคที่มีอาการอักเสบที่ตับ สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีบุกรุกเข้าสู่เซลล์ตับ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบขึ้น ในบางรายเชื้ออาจจะฝังตัวอยู่ในร่างกายเป็นปีๆ โดยที่ผู้ติดเชื้อไม่ทราบเลยว่าตัวเองกำลังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ (เป็นพาหะ) เชื้อตัวนี้ยังสามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วในเซลล์ของตับ ส่งผลให้ตับอักเสบและถูกทำลาย 

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 

ไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด น้ำเชื้อ น้ำเหลือง หรือน้ำหลั่งอื่นๆ ในร่างกาย สามารถได้รับเชื้อโดยวิธีต่างๆดังนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้ออยู่ในร่างกาย โดยไม่สวมถุงยาง แต่การจูบกันถ้าไม่มีแผลในปากก็จะไม่เกิดการติดต่อ
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ใช้เข็มสำหรับสักตามตัว หรือการเจาะหูร่วมกับคนที่คิดเชื้อ
  • ใช้แปรงสีฟัน ใบมีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
  • แม่มีเชื้อสามารถติดต่อไปสู่ลูกได้ขณะคลอด และขณะให้นมลูก
  • ถูกเข็มตำขณะทำงาน
  • รักร่วมเพศกับผู้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • สัมผัสกับของเหลวต่างๆ จากร่างกายของผู้มีเชื้อ
  • รับเชื้อจากสภาพแวดล้อม เพราะเชื้อสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ นานเท่าไหร่ก็ได้

อาการของผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

หลังจากที่ได้รับเชื้อไปแล้วประมาณ 45 - 90 วัน ในบางรายอาจจะยาวไปถึง 180 วัน ในผู้ป่วยที่มีอาการแบบเฉียบพลันจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามร่างกาย มีไข้ แน่นท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว อาการเหล่านี้จะมีอยู่ 4 - 15 วัน หลังจากนั้นจะเกิดอาการตาเหลืองตัวเหลือง มีปัสสาวะสีเข้ม หลักจากเริ่มมีอาการไป 1 - 4 สัปดาห์อาการตัวเหลืองก็จะหายไป แต่ในบางรายอาจจะยาวนานถึง 6 สัปดาห์จึงจะสามารถไปทำงานได้ตามปรกติ

อาการของโรค

หลังจากการอาการของโรค กว่า 90% ของผู้ป่วยมักจะหายขาดจากอาการภายใน 10 สัปดาห์ และการทำงานของตับก็จะเข้าสู่ปรกติและมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ โดยผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบี HbAg+ แต่มีการทำงานของตับปรกติ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เคยหายจากโรคนี้ยังสามารถนำเชื้อไปติดต่อผู้อื่นได้ต่อไป เรียกว่า Carrier (เป็นพาหะ)

ส่วนอีก 5 - 10% ที่ไม่หายขาดได้เอง จะมีอาการตับอักเสบเรื้อรัง โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่อเจาะเลือดจะพบว่ามีอาการทำงานของตับผิดปรกติเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือนและยังคงตรวจพบเชื้ออยู่ตลอด ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการอักเสบเป็นระยะๆ ในบางรายมีอาการตับแข็งและบางรายเป็นมะเร็งตับ

ถึงไม่มีอาการ แต่ก็ยังเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีได้

ในบางคนถึงจะติดโรคไวรัสตับอักเสบบี แต่ก็จะไม่แสดงอาการให้เห็น ทำให้ตัวเองไม่รู้ว่ามีเชื้อฝังตัวอยู่ในร่างกาย ทำให้สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ก็ควรตรวจโรคนี้ก่อน

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค

แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับ และเพื่อหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบการทำงานของตับ เพื่อดูว่าตับทำงานผิดปรกติหรือไม่ ทำให้แพทย์สามารถรู้ว่ากำลังเป็นโรคตับอักเสบบีอยู่หรือเปล่า การตรวจหาอัลฟาฟีโตโปรตีน ช่วยให้รู้ว่าเป็นมะเร็งในตับหรือไม่ การตรวจอัลตราซาวน์ตับเพื่อดูว่าตับอักเสบหรือเป็นมะเร็งตับ การตรวจชิ้นเนื้อของตับ เพื่อบอกถึงความรุนแรงในการอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคนี้สามารถหายได้เองถ้ามีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ และทานอาหารที่มีไขมันน้อย รวมถึงการให้ยา nterferon หรือ lamivudine และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีควรทำอย่างไร

ถ้าหากพบว่าตัวเองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรจะเข้าขอคำแนะนำจากแพทย์ในการดูแลตนเอง และต้องคิดถึงคนใกล้ชิดด้วย เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่คนใกล้ตัว โดยทำได้ดังนี้

  • หากเป็นไวรัสตับอักเสบบี สามารถหายได้เองโดยส่วนใหญ่ดังนั้นไม่ต้องกังวล
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  • เข้ารับการตรวจเลือดสม่ำเสมอ เพราะผลการตรวจเลือดจะทำให้รู้อาการของโรคว่าอักเสบมากหรือน้อย
  • บอกให้คนใกล้ชิดได้รู้ว่าคุณมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเพื่อให้ระวังตัว พร้อมให้คนใกล้ชิดไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • มีเพศสัมพันธุ์กับคนใกล้ชิดให้สวมถุงยาง
  • ห้ามเข้าบริจาคเลือด
  • อย่าดื่มสุราและของมีแอลกอฮอล์
  • ก่อใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

คำถามจากผู้ป่วยท่านอื่นเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี

ได้รับผลตรวจจากตรวจสุขภาพประจำปีว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบี ควรทำอย่างไรครับ

คำตอบ: ต้องดูให้ชัดก่อนครับว่า เป็นผลเลือดที่แสดงว่ามีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย แล้วร่างกายมีภูมิต้านทานหรือไม่ จะได้แบ่งระยะของโรคได้ถูกครับ คุณอาจจะอยู่ในกลุ่มพาหะก็ได้ คือพบเชื้อในกระแสเลือดแต่ไม่ได้เป็นโรค แต่ยังไงก็ตามควรปรึกษาแพทย์ครับ หากมีผลเลือดที่ผิดปกติ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

เชื้อพาหะไวรัสตับอักเสบบี มันสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่คับ

คำตอบ: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นได้เป็น 2 ระยะ คือ 1.ระยะเฉียบพลัน คือ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ดังนี้ o อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา o อาการอื่นๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ เป็นต้น อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ส่วน 2 การติดเชื้อเรื้อรัง แบ่งได้เป็น o พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ o ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบการทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งหากติดเชื้อเป็นระยะเรื้องรังปัจจุบันมียาที่สามารถรักษาให้หายได้ค่ะทั้งยาฉีดและยารับประทาน แต่ส่วนมากหลังจากการรักษาครบแล้วยังต้องติดตามอาการต่อค่ะ - ตอบโดย Witchuda Onmee (พญ.)

คำตอบ 2: กรณีที่เป็นพาหะ แต่ยังไม่มีภาวะตับอักเสบ ยังไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสครับ สามารถใช้วิธีติดตามอาการได้ครับ - ตอบโดย สุเทพ สุขนพกิจ (นพ.)

ขอทราบอาการคร่าวๆของคนติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลันครับ

คำตอบ: ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลัน มักมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย เป็นไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นชายโครงขวา ปัสสาวะเข้ม ตาเหลืองค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

คำตอบ 2: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน มักจะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไปนานประมาณ 2 เดือน หรือ 3 เดือนครับ โดยอาการที่เกิดขึ้นคือมักจะมีไข้ ปสดตามกล้ามเนื้อ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว คล้ายๆกับติดเชื้อหวัดทั้วไป แต่ที่ต่างออกไปและเป็นลักษณะเด่นคือจะมี อาการดีซ่าน หรือตัวเหลืองตาเหลือง ประมาณ 1 สัปดาห์ต่อมาครับ ซึ่งบ่งบอกว่ามีการอักเสบของตับ แล้ว ซึ่งอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเอง ในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ครับ ค่าตับจะเริ่มกลับมาสู่การทำงานปกติ บางคนกำจัดเชื้อออกจากตัวเองได้หมด การทำงานของตับมักจะไม่แน่ลงครับ แต่ในบางคนกำจัดเชื้อออกไปไม่หมดกลายเป็นการติดเชื้อแบบเรื้อรัง และจะทำให้การทำงานของตับมีความเสี่ยงที่จะแย่ลงได้ ต้องตรวจติดตาม หรือมีการให้ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบกรณีที่ตับมีการทำงานแย่ลงมากขึ้นครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตอนนี้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อยากทราบเรื่องวิธีการดูแลรักษาสุขภาพคับ

คำตอบ: หากมีการตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีให้ระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิดต่ะ โดยวิธีการปฏิบัติตัวหากมีเชื้ออยู่ในร่างกายทำได้ดังนี้ค่ะ -รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ -ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ -รับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะการตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่าตับมีการอักเสบมากหรือน้อย -บอกให้คนใกล้ชิดทราบ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี หากคนใกล้ชิดนั้นไม่มีภูมิและเชื้อ -มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย -งดบริจาคเลือด -ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด -พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ -ออกกำลังกายสม่ำเสมอ -รับประทานทั้งข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะทุกวัน -รับประทานอาหารสุกและสะอาด ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์รมควัน และเนื้อสัตว์ที่ไหม้จนเกรียม หรืออาหารที่เก็บถนอมไว้นานๆ ไม่รับประทานอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่มีเชื้อราขึ้น เช่น ถั่วลิสงป่นที่เก็บไว้นานๆ อาหารที่ใส่ดินประสิว อาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ปลาร้า ผักดอง ไส้กรอก เบคอน แฮม ฯลฯ และเครื่องกระป๋องต่างๆ ทั้งนี้อาหารประเภทแหนม ปลาร้า เมื่อจะรับประทานต้องทำให้สุกเสียก่อน เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจส่งเสริมทำให้ตับทำหน้าที่บกพร่องมากขึ้น -ควรตรวจร่างกายและตรวจเลือดหาระดับสารบ่งบอกมะเร็งตับ AFP (alpha-fetoprotein) และทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องสม่ำเสมอทุกปีในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีภาวะตับแข็ง เพศชายอายุมากกว่า 45 ปี เพศหญิงอายุมากกว่า 50 ปี และมีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว เพื่อหามะเร็งตับในระยะเริ่มแรก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เมื่อต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟันควรแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ -หญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตร ควรฉีดวัคซีนให้บุตรภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด -ลดความเครียดและความกังวลให้น้อยลง - ตอบโดย วลีรักษ์ จันทร (พว.)

คำตอบ 2: เนื่องจากว่าไวรัสตับอักเสบบีที่อบู่ในร่างกายคุณ อาจจะส่งผลทำให้ตับมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผลในระยะยาวคือ ตับทำงานได้น้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ครับ ดังนั้น การปฏิบัติตนในเบื้องต้นคือ ทำอย่างไรก็ได้ไม่ทำให้ตับมีการทำงานแย่ลงไปจากสาเหตุอื่นๆเพิ่มเติมไปอีก เช่น การทานยาสมุนไพร หรือยาบางชนิด มีผลต่อการทำงานของตับมากขึ้น อาจจะต้องระมัดระวัง การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ตับแย่ลงได้ครับ นอกจากนี้ควรที่จะต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อทำให้สุขภาพตับแข็งแรง และงดรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ โดยเฉพาะปลา หรือกุ้งน้ำจืด ที่จะทีเชื้อพยาธิใบไม้ตับ อาจจะทำให้ตับแย่ลงไปอีกได้ครับ ทั้งนี้ควรรับการรักษาจากแพทย์ต่อเนื่องในกรณีที่ได้ทานยาต้านไวรัสหรือไม่ได้ทานยาต้านไวรัสก็ตาม เช่น มาตรวจติดตามตามนัด ตรวจทำอัลตร้าซาวน์เพื่อติดตาม พวกนี้นะครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

ไวรัสตับอักเสบบีใช้สิทธิ์ประกันสังคมรักษาได้ไหมค่ะ

คำตอบ: รักษาตามสิทธิ์ที่มีได้เลยค่ะ - ตอบโดย วลีรักษ์ จันทร (พว.)

คำตอบ 2: สามารถใช้ได้ค่ะ แต่จะต้องมีอาการ ถ้าแพทย์ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์วินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีจริงแพทย์จะรักษาตามอาการ สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ตามปกติค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

แม่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ลูกมีโอกาสเป็นไหมคะ

คำตอบ: การเป็นพาหะของโรคคือมีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อได้ ดังนั้นแม่ที่เป็นพาหะต้องได้รับคำแนะนำและการดูแลขณะฝากครรภ์รวมไปถึงจนคลอด ลูกมีโอกาสติดได้อยู่แล้วครับแต่ปัจจุบันหากเด็กคลอดออกมาเราจะมียาและวัคซีน ทำให้โอกาสในการติดเชื้อลดต่ำลงมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังขึ้นกับจำนวนเชื้อในร่างกายของแม่อีกด้วย - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ไวรัสตับอักเสบบีติดทางน้ำลายหรือเปล่าคะ

คำตอบ: ไวรัสตับอักเสบบีไม่ติดต่อทางน้ำลายครับ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อกันอย่างไร - ติดต่อจากมารดาสู่ทารก มักเกิดการติดเชื้อขณะคลอด พบวิธีนี้ได้บ่อยที่สุด - ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมีโอกาสติดเชื้อวิธีนี้ง่ายกว่าไวรัสเอชไอวี - ติดต่อโดยทางเลือด การใช้ของมีคมที่เปื้อนเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฝังเข็ม การสักตามร่างกาย หรือการเจาะหูที่ไม่สะอาด ยังไม่มีหลักฐานว่าการรับประทานอาหารร่วมกันหรือการทำงานด้วยกันตามปกติจะทำให้ติดต่อได้ - ตอบโดย Dr.Chaiwat J.(หมอเปี๊ยก) (นพ.)

ไวรัสตับอักเสบบีทำไมถึงห้ามทานสมุนไพรทุกชนิดคะ

คำตอบ: ยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ยืนยันได้ว่า สมุนไพรตัวใด ได้ผลดี ในการรักษาไวรัสตับอักเสบบี ในทางตรงกันข้าม พบว่า สมุนไพรบางตัว ทำให้เกิดตับอักเสบได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้ โรคไวรัสตับอักเสบบีที่เป็น ร้ายแรงขึ้น อาการแย่ลงครับ - ตอบโดย Dr.Chaiwat J.(หมอเปี๊ยก) (นพ.)

อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีคือเป็นเรื่องของแฟนหนูเองเขาตรวจพบตอนที่หนูท้องลูกคนที่2ว่าสามีมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแล้วแบบนี้เชื้อตัวนี้ร้ายแรงไหมค่ะ และมีวิธีรักษาไหมค่ะ

คำตอบ: ก่อนอื่นต้องแยกก่อนครับว่ามีภาวะตับอักเสบจากเชื้อไวรัสหรือไม่ โดยการตรวจเพิ่มเติม ถ้ามีภาวะตับอักเสบอยู่ อาจจะต้องใช้ยาต้านไวรัส แต่ถ้าเป็นพาหะก็สามารถใช้วิธีติดตามอาการได้ครับ - ตอบโดย สุเทพ สุขนพกิจ (นพ.)

เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีต้องดูแลสุขภาพยังไง

คำตอบ: อย่างแรกต้องระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิดค่ะ และ ไม่ต้องกังวล หากเป็นตับอักเสบบีเฉียบพลัน เพราะส่วนใหญ่จะหายได้เองและมีภูมิคุ้มกันตามมา รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ บอกให้คนใกล้ชิดทราบ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี หากคนใกล้ชิดนั้นไม่มีภูมิและเชื้อ • มีเพศสัมพันธ์โดยการสวมถุงยางอนามัย • งดบริจาคเลือด • ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด • พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ • รับประทานอาหารสุกและสะอาด ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์รมควัน และเนื้อสัตว์ที่ไหม้จนเกรียม ไม่รับประทานอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่มีเชื้อราขึ้น เช่น ถั่วลิสงป่นที่เก็บไว้นานๆ อาหารที่ใส่ดินประสิว อาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ปลาร้า ผักดอง ไส้กรอก เบคอน แฮม ฯลฯ และเครื่องกระป๋องต่างๆ และอาหารประเภทแหนม ปลาร้า ถ้าจะรับประทานต้องทำให้สุกเสียก่อน เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจส่งเสริมทำให้ตับทำหน้าที่ผิดปกติมากขึ้น - ตอบโดย Witchuda Onmee (พญ.)

หนูเป็นไวรัสตับอักเสบบี บางโรงบาลตรวจเจอก็บอกเป็น.บางโรงบาลก็บอกไม่เป็น. โรคนี้เป็นๆหายๆได้หรอค๊ะ

คำตอบ: แนะนำให้เจาะเลือดอีกครั้งค่ะ เพราะไวรัสตับอักเสบบี มีทั้ที่เป้นแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง อาการของผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลันจะมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามตัวมีไข้ เจ็บท้อง อืดแน่นท้อง หรือตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งถ้าเป้นแบบเฉียบพันจะหายได้เอง แต่จะมีผู้ป่วยบางรายที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตัวโรคจะสามารถดำเนินไปกลายเป็นไวัรัสตับอักเสบบีเรื้อรังได้ ซึ่งการเจาะเลือดตรวจจะช่วยยืนยันได้ว่าเป็นแบบเฉียบพลันแล้วหาย มีภูมิต้านทานขึ้น หรือเป็นแบบเรื้อรัง หรือเป็นแบบยังไม่เคยติดเชื้อยังไม่มีภูมิคุ้มกันค่ะ - ตอบโดย Buakhao Arpaporn (พญ.)

คำตอบ 2: ส่วนใหญ่ตับอักเสบชนิดบีแบบเฉียบพลันมักจะหายได้เองและร่างกายสมารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ ครับ ต้องดูครับว่าเจาะเลือดมีภูมิต้านทานขึ้นหรือไม่ครับ - ตอบโดย สุเทพ สุขนพกิจ (นพ.)

มีโอกาสเสี่ยงเป็นไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากแม่เป็น

คำตอบ: หากแม่มีเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสถ่ายทอดมายังลูกได้ครับ ควรมีการตรวจติดตาม - ตอบโดย กิตติศัพท์ สินน้อย (นพ.)

เมื่อ5เดือนก่อนตรวจพบไวรัสตับอักเสบบี แล้วเว้นระยะตรวจใหม่ดูความเสียหายของตับ ปรากดว่าตับสุขภาพดี100% นั่นสามารถชี้ขาดได้ไหมว่าเราหายแล้ว

คำตอบ: ที่บอกว่าตับสุขภาพดี น่าจะเป็นการตรวจค่าทำงานของตับ (Liver function test) มากกว่าค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าจะรู้ว่ามีเชื้ออยู่ไหม ต้องเจาะเลือดตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แพทย์จะพิจารณาว่าเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังหรือเป็นพาหะค่ะ ซึ่งถ้าเป็นเฉียบพลันมีโอกาสหายได้เองถ้าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมาดีพอค่ะ - ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

คำตอบ 2: หมอขอแสดงความยินดีด้วยครับที่สุขภาพตับยังดีอยู่ แต่การตรวจดูค่าการทำงานของตับ liver function test แม้ว่าผลการทำงานของตับจะปกติดี แต่ไม่สามารถบอกได้เกี่ยวกับเรื่องการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีว่าหายขาดไปแล้วหรือไม่ครับ จะต้องตรวจดูค่าภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสตับหรือเซลล์ของไวรัสตับอักเสบ ภาษาของแพทย์จะเรียกว่า Hepatitis virus profile ครับเพื่อเป็นการดูว่าติดเชื้อแบบเฉียบพลัน และหายแล้วหรือยัง หรือเป็นการติดเชื้อแบบเรื้อรัง ซึ่งอาจจะส่งผลในระยะยาวได้อาจต้องตรวจติดตามค่าการทำงานของตับเป็นระยะครับ หรือเป็นการติดเชื้อแบบชนิดพาหะ พวกนี้จะไม่มีผลต่อการทำงานตับของเราแต่ว่าจะสามารถแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้หากมีเพศสัมพันธ์ หรือทางเลือด ครับ - ตอบโดย Rattapon Amampai (Dr.)

บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้จักวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lok AS. Hepatitis B virus: Overview of management. https://www.uptodate.com/contents/search.
Feldman M, et al. Hepatitis B. In: Sleisenger and Fordtran's Gastrointestinal and Liver Disease: Pathophysiology, Diagnosis, Management. 10th ed. Philadelphia, Pa.: Saunders Elsevier; 2016. https://www.clinicalkey.com.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป