ไวรัสตับอักเสบดี : พบการติดต่อได้น้อย แต่มีอาการอักเสบที่รุนแรง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ไวรัสตับอักเสบดี : พบการติดต่อได้น้อย แต่มีอาการอักเสบที่รุนแรง

โรคไวรัสตับอักเสบดี เป็นโรคตับอักเสบที่เกิดจากการแบ่งตัวของไวรัสตับอักเสบบี จะพบเชื้อไวรัสตับอักเสบดีได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร่วมอยู่ด้วย หรืออาจติดต่อพร้อมกัน

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบดี

ผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบรุนแรง และมีโอกาสที่จะเป็นตับวายจนเสียชีวิตได้ ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีอยู่ก่อนแล้ว แต่ได้รับไวรัสตับอักเสบดีอีกทีภายหลังอาจจะมีโอกาสเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็งได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การติดต่อของโรค

สามารถติดต่อได้เช่นเดียวกันกับไวรัสตับอักเสบบี และมักพบในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด

การวินิจฉัยโรค (ทางการแพทย์)

ตับอักเสบดี กับตับอักเสบบี เมื่อเป็นแล้ว การตรวจเลือดจะพบ HbAg ,IgM anti-HDV,IgG anti-HDV ให้ผลบวก ส่วนในรายที่เป็นตับอักเสบบีอยู่ก่อนแล้ว แต่ได้รับไวรัสตับอักเสบดีในภายหลังจะตรวจเลือดพบได้ดังนี้

  1. ปริมาณของเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี [ HbAg ]มีปริมาณน้อย 
  2. สามารถตรวจพบ HDAg และ HDV RNA ในกระแสเลือด 
  3. ตรวจพบ IgM and IgG anti-HDV ระดับสูงในกระแสเลือด 

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบดี

โรคไวรัสตับอักเสบดี สามารถป้องกันได้ด้วยการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบบี ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hepatitis D: Background, Etiology, Epidemiology (https://emedicine.medscape.com/article/178038-overview)
Hepatitis D: Symptoms, Diagnosis and Treatment (https://www.webmd.com/hepatitis/hepatitis-d-overview#1)
Diagnosis of hepatitis D virus infection. UpToDate. (https://www.uptodate.com/contents/diagnosis-of-hepatitis-d-virus-infection)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป