กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 17 นาที
ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์

กรณีป่วยเป็นโรคที่เกิดขึ้นระยะยา

การตั้งครรภ์สามารถทำให้ร่างกายทำงานหนัก และสุขภาพของคุณก่อนตั้งครรภ์ก็สามารถส่งผลกระทบทั้งต่อตัวคุณและทารกในระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณป่วยเป็นโรคที่เกิดขึ้นระยะยาว หรือมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคลมชัก หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้ มันก็สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องจัดการกับบางปัญหาสุขภาพอย่างระมัดระวังเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับคุณและทารก หากคุณป่วยเป็นโรคเรื้อรังตามที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้ คุณควรรีบไปพบแพทย์ก่อนที่คุณจะคลอดลูก หรือทันทีที่คุณทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ การไปพบแพทย์จะช่วยให้คุณรู้วิธีดูแลตัวเอง หากคุณทานยา คุณไม่ควรหยุดทานโดยไม่ปรึกษาแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคหืดหอบ

การตั้งครรภ์ไม่มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดโรคหืดหอบ อย่างไรก็ตาม อาการของโรคหืดหอบเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ ผู้หญิงที่เป็นโรคหืดหอบประมาณ 1 ใน 3 พบว่าตัวเองมีอาการดีขึ้น ในขณะที่ผู้หญิง 1 ใน 3 จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง และคน 1 ใน 3 พบว่าตัวเองมีอาการแย่ลง

สำหรับวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้คุณตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยก็คือ การควบคุมโรคหืดหอบ ทันทีที่คุณทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ ให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีควบคุมโรคหืดหอบ

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและการตั้งครรภ์

มีทารกประมาณ 0.8% ที่เกิดมาพร้อมกับหัวใจที่ผิดปกติ หรือที่เรียกว่า โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แต่ในปัจจุบันทารกที่เป็นโรคดังกล่าวประมาณ 85% มีชีวิตรอดจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทำให้ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่พบได้ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่

 การตั้งครรภ์ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ดังนั้นหากคุณเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ให้คุณลองปรึกษาแพทย์ เพราะบางทีอาจต้องใช้แพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจที่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคดังกล่าว ซึ่งคุณควรรีบไปพบแพทย์ก่อนตั้งครรภ์หรือทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์

โรคหลอดเลือดหัวใจและการตั้งครรภ์

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือดและออกซิเจนไปยังหัวใจตีบแคบ ความเสี่ยงที่สำคัญของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจคือ การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งโรคหัวใจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตในระหว่างตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม วิธีที่ช่วยรับรองว่าคุณจะสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยคือ การไปพบแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจก่อนที่คุณจะมีลูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเบาหวานและการตั้งครรภ์

หากคุณเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 หรือโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ความเสี่ยงที่ทารกมีร่างกายขนาดใหญ่ก็จะสูงขึ้น ทำให้คุณเสี่ยงต่อการคลอดลูกยากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ความเสี่ยงที่แพทย์จะต้องใช้วิธีกระตุ้นคลอด ผ่าคลอด เด็กเกิดมาผิดปกติ และแท้งหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม วิธีลดความเสี่ยงที่มีต่อสุขภาพของคุณและทารกที่ดีที่สุดคือ การควบคุมโรคเบาหวานก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ โดยให้คุณปรึกษาแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือแพทย์เฉพาะทางโรคเบาหวานเพื่อขอคำแนะนำ

โรคลมชักและการตั้งครรภ์

เราแทบไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าการตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อโรคลมชักที่เป็นอยู่อย่างไร ผู้หญิงบางคนที่เป็นโรคลมชักไม่ได้รับผลกระทบ ในขณะที่ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการชักน้อยลง แต่เนื่องจากการตั้งครรภ์สามารถทำให้ร่างกายทำงานหนัก อาการชักก็อาจเกิดขึ้นถี่และรุนแรงมากขึ้น

หากคุณกำลังอยู่ในช่วงทานยาเพื่อควบคุมโรคลมชัก คุณควรทานกรดโฟลิค 5 มิลลิกรัมต่อวันทันทีที่คุณเริ่มพยายามมีลูก ซึ่งแพทย์สามารถจ่ายกรดโฟลิคให้คุณ หากคุณตั้งครรภ์โดยไม่ได้คาดคิด และไม่ได้ทานกรดโฟลิค ให้คุณเริ่มทานกรดโฟลิคทันที

อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรเปลี่ยนหรือหยุดรักษาโรคลมชักโดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาการชักขั้นรุนแรงระหว่างตั้งครรภ์สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของคุณและทารก

ความดันโลหิตสูง

หากคุณมีความดันโลหิตสูง หัวใจจำเป็นต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งสามารถส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้คุณมีความดันโลหิตสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณมีสุขภาพครรภ์ดีก็คือ การควบคุมความดันโลหิต ซึ่งการตรวจร่างกายเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยให้คุณสามารถติดตามอาการของตัวเอง

ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้ในขณะตั้งครรภ์

การป่วยทางจิตสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณหยุดทานยาที่แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายในระหว่างนี้โดยไม่ปรึกษาเขาก่อน มันก็สามารถทำให้คุณกลับมาเป็นโรคได้อีกครั้งหรือทำให้อาการแย่ลง

เมื่อคุณมีนัดตรวจครรภ์ครั้งแรก แพทย์อาจถามว่าในอดีตคุณเคยมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตหรือไม่ และแพทย์ก็อาจถามเกี่ยวกับเรื่องนี้หลังจากที่คุณคลอดลูกเพื่อที่จะได้พบสัญญาณเตือนใดๆ ก็ตามได้รวดเร็วมากขึ้น และวางแผนรักษาคุณได้อย่างเหมาะสม

โรคอ้วนและการตั้งครรภ์

คนที่เข้าข่ายเป็นโรคอ้วนมักมีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ซึ่งในปัจจุบันมีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ 15-20% เป็นโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม การเป็นโรคอ้วนขณะตั้งครรภ์ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตร ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และความจำเป็นที่ต้องคลอดโดยวิธีผ่าตัด

ก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ คุณสามารถใช้ BMI Chart เพื่อตรวจสอบค่าดัชนีมวลกายของตัวเอง แต่ผลก็อาจไม่แม่นยำเมื่อคุณตั้งครรภ์ ดังนั้นให้คุณปรึกษาสูติแพทย์หรือแพทย์แทน

แม้ว่าผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วนและตั้งครรภ์ส่วนมากประสบความสำเร็จในการคลอดลูก แต่ทารกก็อาจประสบบางปัญหา เช่น การคลอดก่อนกำหนด ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนในภายหลังเพิ่มขึ้น ฯลฯ

การมีน้ำหนักเกินมาตรฐานและการตั้งครรภ์

การมีน้ำหนักเกินมาตรฐานคือ การมีดัชนีมวลกายเท่ากับ 30 หรือมากกว่านี้ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ประมาณ 15-20% ที่อยู่ในกลุ่มนี้

อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีมวลกายของคุณเป็นตัวชี้วัดถึงการมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งเราจะคำนวณค่าดังกล่าวโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูง คุณสามารถใช้ BMI chart ก่อนตั้งครรภ์เพื่อตรวจสอบว่าคุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือไม่ แต่ผลที่วัดได้นั้นอาจไม่แม่นยำเมื่อคุณตั้งครรภ์

หากคุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน วิธีที่ช่วยปกป้องสุขภาพของคุณและทารกคือ การลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งการมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติจะทำให้คุณมีโอกาสคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติมากขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน อย่างไรก็ดี คุณอาจขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีลดน้ำหนักจากแพทย์

ในกรณีที่คุณตั้งครรภ์ก่อนลดน้ำหนัก คุณก็ไม่ต้องกังวล เพราะผู้หญิงส่วนมากที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานก็สามารถตั้งครรภ์และคลอดลูกได้ตามปกติ และทารกก็ยังคงมีสุขภาพดี อย่างไรก็ตาม การมีน้ำหนักเกินมาตรฐานทำให้คุณและทารกเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน แต่การไปฝากครรภ์สามารถช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้

หากคุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐานมากและกำลังตั้งครรภ์ คุณไม่ควรพยายามลดน้ำหนักในระหว่างนี้ เพราะมันอาจไม่ปลอดภัย และยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าการลดน้ำหนักในระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ

วิธีที่ช่วยปกป้องสุขภาพของคุณและลูกน้อยได้ดีที่สุดก็คือ การไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อที่แพทย์จะได้เฝ้าสังเกตสุขภาพของคุณทั้งคู่ รวมถึงช่วยควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากน้ำหนักตัวของคุณและหาทางป้องกันหรือรับมือ ซึ่งการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและทานอาหารอย่างสมดุลทุกวันเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน

การทานอาหารและการออกกำลังกาย

การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างการเดินหรือว่ายน้ำนับว่าเป็นกิจกรรรมที่ดีสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคน หากคุณไม่ได้ออกกำลังกายก่อนหน้านี้ คุณควรปรึกษาสูติแพทย์หรือแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์

ในกรณีที่คุณเริ่มออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เช่น ว่ายน้ำ เดิน วิ่ง หรือเต้นแอโรบิก ให้คุณบอกครูฝึกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ และคุณไม่ควรออกกำลังกายแบบต่อเนื่องเกิน 15 นาที และไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ให้คุณค่อยๆ เพิ่มเวลาการออกกำลังกายจนเป็น 30 นาทีต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ให้จำไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายโดยใช้แรงมาก ตามกฎทั่วไปคุณควรดำเนินบทสนทนาในระหว่างออกกำลังกายได้ หากคุณหายใจลำบากขณะพูด บางทีอาจเป็นเพราะว่าคุณใช้แรงขณะออกกำลังกายมากเกินไป

การดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์

หากคุณตั้งครรภ์ก่อนลดน้ำหนัก คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) นอกจากนี้วิสัญญีแพทย์อาจเข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยเกี่ยวกับบางประเด็นอย่างการบล็อคหลังชนิด Epidural ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งมีแนวโน้มที่คุณจะต้องใช้วิธีบรรเทาปวดดังกล่าว เพราะผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมีแนวโน้มที่จะคลอดทางช่องคลอดโดยอาศัยเครื่องมือ และการบล็อคหลังชนิด Epidural ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานก็จะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น

ความเสี่ยงของการมีน้ำหนักเกินมาตรฐานขณะตั้งครรภ์

การมีน้ำหนักเกินมาตรฐานทำให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และทารกมีความเสี่ยงที่จะประสบภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น ยิ่งผู้หญิงมีค่าดัชนีมวลกายมากเท่าไร ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับภาวะหรือโรคดังนี้

  • การแท้งบุตร: ความเสี่ยงในภาพรวมของการแท้งบุตรของผู้หญิงที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์คือ 1 ใน 5 หรือ 20% แต่ถ้าคุณมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30  ความเสี่ยงก็จะเพิ่มเป็น 1 ใน 4 หรือ 25%
  • โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์:หากคุณมีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับ 30 หรือมากกว่านี้ คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์มากกว่าผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 ถึง 3 เท่า
  • ความดันโลหิตสูงและภาวะครรภ์เป็นพิษ: หากคุณมีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับ 35 หรือมากกว่านี้ตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ความเสี่ยงที่คุณจะเผชิญภาวะครรภ์เป็นพิษก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25
  • การแข็งตัวของเลือด: ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะมีเลือดแข็งตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และถ้าคุณมีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับ 30 หรือมากกว่านี้  ความเสี่ยงที่จะเกิดการคลอดติดไหล่ (Shoulder Dystocia) ในระหว่างคลอดลูกก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดมากกว่าปกติหลังคลอดลูก
  • ทารกมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม ความเสี่ยงในภาพรวมของผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 20-30 คือ 7 ใน 100 (7%) แต่หากคุณมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า หรือ 14 ใน 100 (14%)
  • คุณมีแนวโน้มที่จะต้องคลอดลูกด้วยวิธีชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด คลอดผ่านทางช่องคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วย และคลอดลูกโดยวิธีผ่าท้อง  

นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ว่าลูกของคุณอาจคลอดก่อนกำหนด หรือก่อนที่มีอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ และมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในครรภ์เพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ความเสี่ยงที่ตัวอ่อนจะมีลักษณะผิดปกติก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น ความผิดปกติของการปิดของท่อระบบประสาทอย่างความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง ในภาพรวมมีทารก 1 ใน 1,000 คนในประเทศอังกฤษที่มีความผิดปกติของการปิดของท่อระบบประสาท หากคุณมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 40 ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 30 อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้ก็สามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคนไม่ว่าจะมีน้ำหนักเกินหรือไม่เกินมาตรฐาน

ปัญหาสุขภาพจิต

หากในอดีตคุณเคยมีปัญหาทางจิต หรือตอนนี้คุณกำลังมีปัญหาทางจิตขั้นรุนแรง คุณมีแนวโน้มที่จะป่วยในระหว่างตั้งครรภ์ หรือในปีแรกหลังจากที่คุณคลอดลูกมากกว่าช่วงอื่นๆ ของชีวิต ซึ่งปัญหาทางจิตขั้นรุนแรงประกอบไปด้วยโรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง และโรคจิต หลังจากที่คุณคลอดลูก อาการของโรคอาจแย่ลงอย่างรวดเร็ว และร้ายแรงกว่าทุกครั้ง

ในช่วงที่ตั้งครรภ์ โรคทางจิตอื่นๆ ที่รุนแรงน้อยกว่าที่เรากล่าวไปก็อาจเล่นงานคุณได้เช่นกัน แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นกับคุณเสมอไป  อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรกลัวการพูดความรู้สึกของตัวเองกับสูติแพทย์ แพทย์ทั่วไป หรือจิตแพทย์ เพราะพวกเขาสามารถช่วยคุณได้

นอกจากนี้ผู้หญิงอาจรู้สึกไม่มั่นคงและกังวลระหว่างและภายหลังการตั้งครรภ์ ดังนั้นสูติแพทย์ หรือแพทย์ก็อาจตรวจสอบเกี่ยวกับสุขภาพจิตของคุณ ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสให้คุณได้พูดเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองกังวล และได้รับการช่วยเหลือหากจำเป็น

คนที่มีปัญหาทางจิตบางคนอาจหยุดทานยา แต่หากคุณทำเช่นนี้โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือสูติแพทย์ในขณะที่คุณตั้งครรภ์ คุณก็สามารถกลับมาเป็นโรคเดิมหรือมีอาการแย่ลง ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงเรื่องใดๆ ก็ตาม

การดูแลผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และป่วยทางจิต

เมื่อคุณไปฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์ก็อาจถามว่าคุณเคยมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตในอดีต และคุณมีอาการซึมเศร้าหรือสิ้นหวังหรือไม่ ซึ่งคุณอาจต้องตอบคำถามเหล่านี้อีกครั้งหลังคลอดลูก

อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจถามคำถามเหล่านี้กับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคนและคุณแม่มือใหม่ โดยไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นคนที่เคยมีหรือกำลังมีปัญหาทางจิต อย่างไรก็ดี การถามคำถามเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ทราบได้ว่าสภาพจิตใจของคุณตอนนี้ปกติหรือไม่ หรือประเมินว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะป่วยทางจิตในระหว่างหรือหลังตั้งครรภ์หรือไม่

หากตอนนี้คุณมีหรือเคยมีปัญหาทางจิตขั้นรุนแรง สูติแพทย์ หรือแพทย์ก็จะคิดแผนการดูแลคุณในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

การฝากครรภ์

บางครั้งการมีปัญหาสุขภาพจิตสามารถทำให้คุณไม่ได้ไปฝากครรภ์ และพลาดการตรวจสุขภาพ ส่งผลให้คุณเสี่ยงต่อการประสบภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากขึ้น

การรักษา

การรักษาโรคทางจิตเวชในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และหลังจากคลอดลูกนั้นสามารถทำได้โดยใช้วิธีรักษาทางด้านจิตใจและการทานยา อย่างไรก็ตาม การทานยาอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเด็กในครรภ์ แต่หากคุณไม่ทานยาที่แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายหรือหยุดทานยา คุณก็จะเสี่ยงต่อการมีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง

คุณและแพทย์ควรหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงของการรักษาและการไม่รักษาอาการเจ็บป่วยของคุณ รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับทารก สำหรับเรื่องที่ควรหารือกันมีดังนี้

  • ระดับความรุนแรงของปัญหาสุขภาพจิตที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้
  • ความเสี่ยงที่คุณจะไม่สบาย
  • ความเป็นไปได้ที่จะรับมือกับโรคโดยไม่ทำการรักษา
  • การรักษาประเภทใดในอดีตที่ช่วยให้คุณมีอาการดีขึ้น
  • ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อเด็กในครรภ์เมื่อทานยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคทางจิต
  • ผลกระทบของการรักษาที่มีต่อการให้นมลูก

ภาวะ Baby Blues

ภาวะ Baby Blues หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมักเกิดในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอดลูก ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และสามารถทำให้คุณแม่มือใหม่หลายคนได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์และการคลอดลูกสามารถกระตุ้นให้ผู้หญิงบางคนมีอาการซึมเศร้าขั้นรุนแรง สำหรับอาการที่บอกว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าตัวอย่างเช่น

  • การรู้สึกเศร้ามากและสิ้นหวัง
  • คิดลบเกี่ยวกับตัวเอง
  • นอนหลับไม่ได้เต็มที่
  • ขาดความสนใจหรือไม่รู้สึกสนุกที่จะได้ทำสิ่งต่างๆ
  • เบื่ออาหาร

การรักษาโรคซึมเศร้า

แพทย์จะรักษาโรคซึมเศร้า และปัญหาทางจิตอื่นๆ หลังจากที่คุณคลอดลูก ในกรณีที่คุณอยู่ในช่วงทานยารักษาโรคซึมเศร้า คุณก็ควรทานยาอย่างต่อเนื่อง และให้คุณปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์ทันทีเมื่อคุณวางแผนที่จะมีลูก หรือทันทีที่คุณรู้ว่าตั้งครรภ์เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีความเสี่ยงใดบ้างที่สามารถเกิดขึ้นเมื่อทานยาหรือหยุดทานยาในระหว่างตั้งครรภ์หรือในระหว่างให้นมลูก

ยาบางชนิดที่ช่วยทำให้อารมณ์คงที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เด็กที่อยู่ในครรภ์มีร่างกายที่พิการและมีปัญหาเกี่ยวกับการเติบโต อย่างไรก็ตาม หลังจากที่แพทย์หารือกับคุณแล้ว เขาก็อาจเปลี่ยนชนิดยาหรืองดจ่ายยาที่คุณกำลังทาน ถึงกระนั้นคุณก็ไม่ควรเปลี่ยนยาหรือหยุดทานยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะในระหว่างที่ตั้งครรภ์

อย่างไรก็ดี ยา Sodium Valproate ทำให้เด็กในครรภ์เสี่ยงต่อการมีร่างกายและสมองที่มีปัญหา ซึ่ง The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) กล่าวว่าผู้หญิงที่อยู่ในวัยที่มีบุตรได้ไม่ควรทานยา Sodium Valporate เพื่อรักษาปัญหาทางจิตหากอยู่ในช่วงวางแผนที่จะมีลูก กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก

หากคุณกำลังทาน Sodium Valproate และกำลังวางแผนที่จะมีลูก หรือคุณเพิ่งรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ คุณควรรีบไปพบแพทย์ในทันที และห้ามหยุดทานยาจนกว่าคุณจะได้หารือกับแพทย์

ในกรณีที่คุณเป็นโรคซึมเศร้าระดับเบา แพทย์อาจแนะนำให้คุณรักษาตัวโดยใช้วิธีอื่นๆ เช่น การให้คำปรึกษา ซึ่งแพทย์อาจใช้วิธีนี้หากคุณเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดเช่นกัน

โรคซึมเศร้าหลังคลอด

การมีอาการซึมเศร้าหลังจากคลอดลูก เรียกว่า Postnatal Depression (PND) โดยทั่วไปแล้วเกิดขึ้นในระหว่าง 6 เดือนหลังคลอด หากไม่ทำการรักษา โรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นนานกว่า 1 ปี ยิ่งแพทย์วินิจฉัยและรักษาได้เร็วเท่าไร คุณก็จะหายป่วยได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

ใครที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด?

เราสามารถพบโรคซึมเศร้าได้ในประมาณ 1 ใน 10 ของคุณแม่มือใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นภายในปีถัดจากปีที่คลอดลูก ผู้ป่วยส่วนมากจะเป็นแค่โรคซึมเศร้าระดับเบา แต่ก็มีบางคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าระดับรุนแรง สำหรับปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ที่ร้ายแรง ตัวอย่างเช่น โรคจิตหลังคลอด  ซึ่งพบได้ในผู้หญิงที่มีลูกโดยคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 1000

แพทย์ควรพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณหลังคลอดลูก แต่มีสัญญาณเตือนที่คุณควรเฝ้าระวังดังนี้

  • รู้สึกหงุดหงิด
  • ร้องไห้ หรือเกือบจะร้องไห้บ่อยครั้ง
  • ไม่สามารถจัดการกับชีวิต
  • มีความคิดเกี่ยวกับตัวเองในเชิงลบ
  • กังวลกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ซึ่งไม่เคยเป็นเช่นนี้มาก่อน
  • กังวลเกี่ยวกับสุขภาพของทารกมากเกินไป
  • กลัวการถูกทิ้งให้อยู่กับทารกเพียงลำพัง และไม่สามารถควบคุมอาการตื่นตระหนก
  • รู้สึกกลัวมาก ตัวอย่างเช่น กลัวเสียชีวิต
  • ฝันเกี่ยวกับการทำร้ายลูกของตัวเอง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน
  • รู้สึกเหนื่อยมากและเฉื่อยชา
  • ขาดความสนใจในสิ่งรอบข้างหรือหมกมุ่นกับการจัดระเบียบ
  • ไม่มีสมาธิและรู้สึกว้าวุ่นใจ
  • มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงมาก
  • ไม่มีความสุขเมื่อทำกิจกรรมที่เคยชอบ ซึ่งหมายความรวมถึงการหมดอารมณ์ทางเพศ
  • รู้สึกว่าตัวเองเป็นแม่ที่ไม่ดี

หากคุณคิดว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า ให้คุณปรึกษาแพทย์หรือสูติแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ เพราะพวกเขาสามารถช่วยหาวิธีดูแลรักษาคุณได้อย่างเหมาะสม

สิ่งที่คุณสามารถทำได้

แม้ว่าวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคซึมเศร้าคือ การไปพบแพทย์ แต่มันก็มีหลายวิธีที่สามารถช่วยให้คุณมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าน้อยลงและช่วยให้คุณหายจากโรคเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าคุณป่วย สำหรับสิ่งที่คุณสามารถทำได้มีดังนี้

  • พยายามมองหาสิ่งดีๆ ในชีวิตแม้ว่ามันอาจเป็นเรื่องยากก็ตาม
  • ให้คนรักหรือคนใกล้ตัวเข้ามามีส่วนร่วมกับการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูก
  • หาเวลาผ่อนคลาย
  • เปิดเผยเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเอง
  • ให้สามีช่วยทำงานง่ายๆ อย่างการไปซื้อของและการทำงานบ้าน
  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • หาเวลาทำกิจกรรมสนุกๆ
  • ให้รางวัลตัวเองเล็กๆ น้อยๆ ทุกวัน เช่น ออกกำลังกาย หรือดื่มกาแฟกับเพื่อน

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ไม่ทำงานหนักมากเกินไปเมื่อตั้งครรภ์หรือทุ่มเทให้กับการเลี้ยงลูกจนไม่ได้พักผ่อน
  • ไม่พาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด
  • ดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ หรือโคลา
  • ย้ายบ้าน
  • เข้มงวดกับตัวเองหรือคนรักมากเกินไป

โรคเบาหวานที่พบได้ในระหว่างตั้งครรภ์

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่มีน้ำตาลกลูโคสในเลือดมากเกินไป ซึ่งกลูโคสมาจากการย่อยอาหารจำพวกแป้ง เช่น ขนมปังและข้าว อย่างไรก็ดี ฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนที่ช่วยให้ร่างกายนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานก็คือ อินซูลิน

สำหรับประเภทของโรคเบาหวานที่สามารถพบได้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ประกอบไปด้วย

  • โรคเบาหวานประเภทที่ 1 และโรคเบาหวานประเภทที่ 2: เป็นโรคที่ผู้หญิงอาจเป็นก่อนตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์: เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์เท่านั้น และจะหายไปหลังจากคลอดลูก

 อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงส่วนมากที่เป็นโรคเบาหวานมีลูกที่มีสุขภาพดี แต่การเป็นโรคเบาหวานจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น

ในกรณีที่คุณเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว

ในกรณีที่คุณเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และโรคเบาหวานประเภทที่ 2 คุณมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะดังนี้มากขึ้น

  • ทารกตัวใหญ่ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้คุณคลอดลูกได้ยากขึ้น หรือมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะคลอดลูกด้วยวิธีที่แพทย์ต้องทำการกระตุ้น หรือต้องใช้วิธีผ่าคลอด
  • ภาวะแท้งบุตร
  • คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 อาจมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาและไต หรืออาจทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แล้วแย่ลง

หากคุณเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ทารกอาจเสี่ยงต่อการเผชิญภาวะดังนี้

  • เติบโตผิดปกติและมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดโดยเฉพาะหัวใจและระบบประสาท
  • เสียชีวิตในครรภ์ หรือเสียชีวิตทันทีหลังคลอด
  • มีปัญหาสุขภาพทันทีหลังคลอด เช่น การมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและการหายใจ และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา
  • เป็นโรคอ้วนหรือโรคเบาหวานภายหลัง

การลดความเสี่ยงในกรณีที่คุณเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

การลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยที่ดีที่สุดคือ การควบคุมโรคเบาหวานก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์  แพทย์อาจทำการตรวจเลือดด้วยวิธีที่เรียกว่า HbA1c ซึ่งช่วยประเมินระดับของกลูโคสในเลือด อย่างไรก็ดี ก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าที่ไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คุณก็ควรรักษาระดับของน้ำตาลดังกล่าวไม่ให้เกินกว่า 6.5%

หาก HbA1c มีค่ามากกว่านี้ การควบคุมค่าดังกล่าวให้ต่ำลงก่อนตั้งครรภ์จะช่วยลดความเสี่ยงที่คุณและทารกเผชิญภาวะแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม แพทย์สามารถแนะนำวิธีควบคุมค่าดังกล่าว แต่ในกรณีที่ค่า HbA1c สูงมาก หรือมากกว่า10% แพทย์ก็อาจแนะนำให้คุณพยายามหยุดคิดเรื่องการมีลูกจนกว่าค่า HbA1c กลับมาอยู่ในระดับปกติ

กรดโฟลิค

ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานควรทานกรดโฟลิคมากขึ้น ปริมาณของกรดโฟลิคที่ผู้หญิงที่กำลังพยายามตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ควรทานคือ 400 ไมโครกรัม ส่วนผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานควรทานกรดโฟลิค 5 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งแพทย์สามารถเป็นผู้ที่สั่งจ่ายอาหารเสริมชนิดนี้ได้

การทานกรดโฟลิคช่วยป้องกันไม่ให้ทารกพิการตั้งแต่กำเนิด  เช่น ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง คุณควรทานกรดโฟลิคในขณะที่คุณกำลังพยายามตั้งครรภ์จนกระทั่งคุณตั้งครรภ์ได้ 12 สัปดาห์

การรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

วิธีรักษาโรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะต้องปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น หากคุณทานยาเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง คุณอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยา

อย่างไรก็ตาม คุณควรไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อที่เขาจะได้เฝ้าสังเกตอาการ และหาวิธีรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่ส่งผลต่อสุขภาพของคุณและทารก ซึ่งคุณอาจต้องตรวจระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือดบ่อยมากขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจดวงตาและไตบ่อยขึ้นเช่นกันเพื่อตรวจสอบว่าไม่มีการเสื่อมของอวัยวะดังกล่าวระหว่างตั้งครรภ์ เพราะปัญหาที่เกี่ยวกับดวงตาและไตอาจแย่ลงในช่วงนี้

คุณอาจพบว่าเมื่อคุณควบคุมโรคเบาหวานได้แล้ว คุณก็จะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารก แต่คุณและคนรักควรรู้วิธีรับมือกับภาวะดังกล่าว

การตรวจภาวะเบาหวานขึ้นตาระหว่างตั้งครรภ์

ในกรณีที่คุณเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ก่อนหน้านี้ แพทย์อาจตรวจดวงตาของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ตกอยู่ในภาวะเบาหวานขึ้นตาในระหว่างที่ตั้งครรภ์  ซึ่งการตรวจที่ว่านี้ทำเพื่อหาสัญญาณของโรคเกี่ยวกับดวงตาที่เกิดจากเบาหวาน โดยหมายความรวมถึงภาวะเบาหวานขึ้นจอตา

ทุกคนที่เป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นตา  แต่มันจะยิ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะประสบปัญหาที่ร้ายแรงเกี่ยวกับดวงตา

อย่างไรก็ดี การตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นตาเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมโรคเบาหวาน และเราสามารถรักษาภาวะเบาหวานขึ้นจอตาหากมีการตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ

การคลอดลูก

ทารกที่ีมีแม่เป็นโรคเบาหวานมักมีลำตัวใหญ่กว่าปกติ เพราะกลูโคสถูกส่งผ่านไปยังทารกโดยตรง ดังนั้นหากคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายของลูกก็จะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อชดเชยมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายของเด็กสะสมไขมันและเนื้อเยื่อมากขึ้น และนั่นก็จะทำให้การคลอดเป็นไปอย่างยากลำบาก

หลังจากคลอดลูก

หลังจากที่คุณคลอดลูก 2-4 ชั่วโมง แพทย์ก็จะเจาะเลือดที่ส้นเท้าของเด็กเพื่อตรวจสอบว่าระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำเกินไปหรือไม่ ทั้งนี้คุณควรให้นมลูกให้เร็วที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ภายใน 30 นาทีหลังคลอดลูกเพื่อให้ระดับของน้ำตาลกลูโคสในเลือดอยู่ในระดับที่ปลอดภัย

หากระดับของกลูโคสในเลือดไม่ได้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ทารกอาจต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ ซึ่งแพทย์อาจทำการเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสให้ทารก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่คุณคลอดลูก คุณไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลินปริมาณมากเพื่อควบคุมระดับของกลูโคสในเลือด คุณสามารถลดปริมาณของอินซูลินที่ต้องใช้ให้เท่ากับช่วงก่อนตั้งครรภ์ หากคุณเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 คุณสามารถกลับไปทานยาที่คุณเคยทานก่อนตั้งครรภ์เช่นกัน แต่ทั้งนี้ให้คุณปรึกษาแพทย์ก่อน

หากคุณเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) คุณสามารถหยุดทานยาหลังจากคลอดลูก แพทย์อาจตรวจระดับของกลูโคสในเลือดก่อนที่คุณจะกลับบ้าน และหลังจากคลอดลูก 6 สัปดาห์ นอกจากนี้แพทย์อาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินและการออกกำลังกาย

โรคหืดหอบและการตั้งครรภ์

โรคหืดหอบเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยขนส่งอากาศไปยังปอดและออกจากปอด หากคุณเป็นโรคหืดหอบ ทางเดินหายใจก็จะไวต่อการกระตุ้น และสามารถมีอาการบวมและระคายเคืองได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้ทางเดินหายใจตีบแคบ และอาจทำให้มีการผลิตเมือกและเสมหะมากขึ้น ส่งผลให้อากาศเข้าไปในปอดได้ยากขึ้นตามไปด้วย ทำให้คุณหายใจมีเสียงฟืดฟาด ไอ และรู้สึกแน่นหน้าอก อย่างไรก็ตาม เราสามารถพบโรคหืดหอบได้ทั้งระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรง

การตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อการเป็นโรคหืดหอบอย่างไร?

การตั้งครรภ์ไม่มีทีท่าว่าจะทำให้เกิดโรคหืดหอบหากคุณไม่เคยเป็นโรคดังกล่าวก่อนหน้านี้ แต่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และเป็นโรคหืดหอบจะมีอาการที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้

อย่างไรก็ดี มีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 3 ที่พบว่าตัวเองมีอาการดีขึ้น ในขณะที่คน 1 ใน 3 ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง และคน 1 ใน 3 จะพบว่าตัวเองมีอาการแย่ลง

ทั้งนี้มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับโรคหืดหอบและการตั้งครรภ์พบว่าหากอาการของโรคแย่ลง มันก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 (หลังจากมีอายุครรภ์ 13 สัปดาห์) โดยจะมีอาการแย่ที่สุดในเดือนที่ 6

นอกจากนี้มีงานวิจัยชิ้นอื่นๆ พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการจะแย่ที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ 24 และ 36 ซึ่งอาการจะบรรเทาลงหลังจากนี้ และมีผู้หญิงประมาณ 90% ที่ไม่มีอาการของโรคหืดหอบในระหว่างคลอดลูกหรือเมื่อให้กำเนิดลูก

วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ครรภ์ของคุณมีสุขภาพดีคือ การควบคุมโรคหืดหอบโดยรักษาตัวตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง หากคุณสามารถควบคุมโรคได้ ความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อคุณและทารกก็มีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม ทันทีที่คุณรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ให้คุณไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมโรคหืดหอบ

การรักษาโรคหืดหอบและการตั้งครรภ์

คุณควรทานยารักษาโรคหืดหอบที่สั่งจ่ายโดยแพทย์อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงที่ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ดี คุณสามารถรักษาตัวแบบที่เคยทำเว้นเสียแต่ว่าคุณมีอาการแย่ลง หากคุณหยุดใช้ยา และคุณไม่สามารถควบคุมอาการได้ มันก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณ และเพิ่มความเสี่ยงให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย

อย่างไรก็ดี คุณสามารถรักษาโรคหืดหอบอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีใดก็ได้ในช่วงที่คุณให้ลูกกินนมจากเต้า แม้ว่าคุณจะยุ่งกับการเลี้ยงลูกมากแค่ไหนก็ตาม คุณไม่ควรละเลยสุขภาพของตัวเอง และทำให้โรคหืดหอบอยู่ภายใต้การควบคุม

สัญญาณเตือนที่ควรระวัง

สัญญาณที่บ่งบอกว่าอาการของโรคหืดหอบอาจแย่ลงประกอบไปด้วย

  • อาการไอมีความรุนแรงในช่วงกลางคืน ช่วงเช้าตรู่ หรือเมื่อคุณออกกำลังกาย
  • หายใจมีเสียงฟืดฟาด
  • หายใจลำบาก
  • รู้สึกแน่นหน้าอก

นอกจากนี้คุณมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนในขณะที่ตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมายังหลอดอาหาร และมีแนวโน้มที่จะทำให้คุณมีอาการแย่ลง หากคุณมีอาการเหล่านี้ ให้คุณปรึกษาแพทย์

การควบคุมโรคหืดหอบระหว่างตั้งครรภ์

หากคุณเป็นโรคหืดหอบ คุณควรมีแผนการดูแลตัวเอง ซึ่งคุณสามารถปรับเปลี่ยนการรักษาตัวได้ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น หากคุณมีอาการไอหรือเป็นโรคหวัด อาการของโรคหืดหอบก็อาจแย่ลง ในกรณีนี้ให้คุณเพิ่มการใช้ยาป้องกันโรคหืดหอบชนิดสูด หรือเริ่มใช้มันหากคุณไม่ค่อยได้ใช้เป็นประจำ ซึ่งปลอดภัยสำหรับใช้ในระหว่างตั้งครรภ์

อย่างไรก็ดี คุณสามารถออกกำลังกายและทำงานได้ตามปกติแม้ว่าคุณจะเป็นโรคดังกล่าว ทั้งนี้การทำตามวิธีที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้สามารถช่วยป้องกันไม่ให้อาการของโรคหืดหอบแย่ลงในระหว่างตั้งครรภ์

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ เช่น ขนสัตว์
  • ควบคุมไข้ละอองฟางโดยใช้ยาต้านฮีสตามีน ทั้งนี้ให้คุณปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาต้านฮีสตามีนที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกาย และทานยา

12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health Problems in Pregnancy | Gestational Diabetes. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/healthproblemsinpregnancy.html)
Common health problems in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/common-pregnancy-problems/)
Pregnancy Risk Factors: Age, Weight, Preexisting Conditions, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/risk-factors)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม