การคลอดบุตรแบ่งออกได้หลายวิธี ซึ่งจะแบ่งออกได้หลักๆ 2 วิธี คือ การคลอดธรรมชาติ และผ่าคลอด โดยทั้ง 2 วิธีคลอดนี้ ล้วนส่งผลทำให้เกิดบาดแผลจากการคลอดบุตรทั้งนั้น เพียงแต่จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
เรามาเจาะลึกเกี่ยวกับการคลอดบุตรทั้ง 2 แบบกันว่า เป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ความหมายของการคลอดธรรมชาติ
การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural birth) คือ กระบวนการคลอดบุตรตามธรรมชาติของร่างกายมารดา นั่นคือ การเบ่งคลอดเด็กออกมาทางช่องคลอด
คุณแม่มือใหม่หลายคนมักอยากคลอดลูกด้วยวิธีคลอดธรรมชาติ เพราะเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัด เสียเลือดน้อยกว่า สามารถดูแลลูกน้อยได้ทันทีหลังคลอด และยังทำให้ทารกได้รับเชื้อแบคทีเรียดีระหว่างคลอดด้วย
นอกจากนี้การคลอดธรรมชาติยังทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้น้อยกว่าวิธีผ่าคลอด ซึ่งการติดเชื้อจากการคลอดบุตรเป็นต้นเหตุที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตหลังคลอดบุตรมาแล้วหลายราย
อย่างไรก็ตาม การคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาช่องคลอดหลวม ไม่กระชับ ซึ่งเป็นผลมาจากการเบ่งเพื่อคลอดทารกออกมา และยังทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดไม่แข็งแรงอีกด้วย
ระยะของการคลอดทารกโดยธรรมชาติจะแบ่งได้ 4 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เริ่มเจ็บครรภ์ไปจนถึงปากมดลูกขยายประมาณ 10 เซนติเมตร ถือเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด เพราะเป็นระยะที่แพทย์จะประเมินอาการของหญิงตั้งครรภ์ว่า สามารถคลอดตามธรรมชาติได้หรือไม่
- ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ปากมดลูกขยายประมาณ 10 เซนติเมตรไปจนถึงทารกคลอดออกมา
- ระยะที่ 3 เป็นระยะที่ทารกคลอดออกมาเรียบร้อยแล้ว และรกเด็กได้คลอดออกมาด้วย
- ระยะที่ 4 เป็นชั่วโมงแรกหลังคลอดทารก และรกเด็ก เป็นระยะที่แพทย์จะต้องดูแลแม่กับเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน และภาวะตกเลือดหลังคลอด
ความหมายของการผ่าคลอด
การผ่าคลอด (Caesarean section) คือ กระบวนการผ่าตัดเพื่อคลอดทารกออกมา มักเกิดขึ้นในกรณีที่มารดาไม่ได้สามารถคลอดบุตรได้ตามธรรมชาติ เช่น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่านอนขวาง
- ทารกไม่อยู่ในท่าเอาศีรษะออกก่อน
- ทารกมีภาวะสายสะดือย้อย
- มารดามีเชื้อเอดส์ หรือเชื้อเริม
- มารดาเคยผ่าตัดคลอดบุตร หรือผ่าตัดมดลูกมาก่อน
- ทารกมีภาวะรกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
ข้อดี-ข้อเสียของการผ่าคลอด
การคลอดทารกด้วยวิธีผ่าอาจดูเหมือนมีข้อเสียหลายอย่าง เช่น
- เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือความดันโลหิตต่ำลง คลื่นไส้อาเจียน สำลักอาหารจากยาสลบ
- เสี่ยงเกิดการติดเชื้อหลังคลอดได้
- เกิดภาวะแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัด หรือแผลติดเชื้อ แผลอักเสบ
- เกิดพังผืดในช่องท้อง
- เสียเลือดจากการผ่าตัดมากเกินไปจนเสียชีวิต
- มารดาจะเจ็บแผลทำคลอดมากกว่า และนานกว่า
- ทารกอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจหลังคลอด
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการผ่าคลอดก็ยังมี เช่น ไม่ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอักเสบจากการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ทำให้ตกเลือดที่ช่องคลอด แต่แพทย์มักจะไม่นิยมผ่าคลอด ยกเว้นแต่สภาพร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมจริงๆ
อีกทั้งหลังจากผ่าคลอดแล้ว หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นอีกก็ยากที่หญิงตั้งครรภ์รายนั้นจะคลอดตามธรรมชาติได้ เพราะมดลูกได้เกิดบาดแผล และไม่แข็งแรงเหมือนเดิมแล้ว ทำให้ไม่สามารถคลอดบุตรตามธรรมชาติได้
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอดบุตร
แน่นอนว่า ร่างกายหลังคลอดบุตรไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ย่อมส่งผลให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังต่อไปนี้
- ช่องคลอดกับแผลฝีเย็บ อาจยังมีอาการบวม และแผลยังไม่ปิดสนิทดี ทำให้นั่ง หรือนอนแล้วรู้สึกเจ็บได้ แต่ภายในเวลา 3-4 สัปดาห์ อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
- มดลูก เมื่อคลอดบุตรแล้ว มดลูกจะค่อยๆหดตัวกลับมาเป็นขนาดปกติ แต่เพราะขนาดมดลูกที่เคยใหญ่จากการตั้งครรภ์ จึงอาจทำให้รู้สึกเจ็บหลังคลอดบุตรได้บ้าง
- เต้านม อาจมีอาการคัดตึงจากการผลิตน้ำนม ซึ่งจะบรรเทาได้จากการให้ลูกดูดนมจากอก
- ผนังหน้าท้อง อาจหย่อน ไม่กระชับตึงเหมือนก่อนที่จะตั้งครรภ์ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการปรับสภาพร่วมกับการออกกำลังกาย
- ช่องคลอด และทางเดินปัสสาวะบวม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะลำบาก รู้สึกเจ็บขณะปัสสาวะ หรือนั่ง นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปัสสาวะเล็ด หรือปวดขัดปัสสาวะบ่อยๆ จากศีรษะทารกขณะคลอดที่ไปกดทับคอปัสสาวะเป็นเวลานาน
- มีน้ำคาวปลาไหล ซึ่งเป็นน้ำเลือด และเนื้อเยื่อที่ยังติดค้างอยู่ในมดลูกหลังคลอด โดยปกติจะไหลอยู่ประมาณ 7-10 วันหลังคลอดบุตร หรืออาจเป็นเดือน และยิ่งระยะเวลาผ่านไปนานเท่าไร น้ำคาวปลาก็จะยิ่งมีสีใสมากขึ้น ก่อนที่จะหมดลง
อ่านเพิ่มเติม: อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้หลังคลอดบุตร
วิธีดูแลตนเองหลังจากคลอดบุตร
หลังจากคลอดบุตรไม่ว่าจะด้วยวิธีธรรมชาติ หรือวิธีผ่าคลอด ก็ล้วนแต่ต้องดูแลสุขภาพ และร่างกายหลังคลอด เพื่อลดโอกาสการเกิดความผิดปกติต่างๆ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การดูแลตนเองกรณีคลอดบุตรตามธรรมชาติ
- เคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อย เพื่อให้กล้ามเนื้อมดลูก และแผลฝีเย็บสมานเร็วขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินในท่าเดินหนีบ เพราะจะทำให้แผลผ่าคลอด หรือช่องคลอดเสียดสีจนเป็นแผล
- อย่ายกของหนัก หรือออกกำลังกายหักโหม เพราะมดลูกเพิ่งผ่านการโอบอุ้มทารกมาตลอด 9 เดือน จึงต้องใช้เวลาฟื้นตัว และไม่ถูกกระทบกระเทือนแรงๆ
- รับประทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล (Paracetamol) 1 เม็ดทุกๆ 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการปวด หรืออาบน้ำอุ่น ประคบร้อนที่แผลผ่าคลอด
- ห้ามใช้หัวฉีดล้างชำระ หรือฝักบัวล้างแผลฝีเย็บเด็ดขาด เพื่อไม่ให้แรงดันน้ำไปทำให้แผลปริแยกออกจากกัน
- หาเบาะ หรือหมอนนุ่มๆ เข้ามารองก้น เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดช่องคลอด หรือแผลผ่าคลอด
- อย่าแช่น้ำนานเกินไป เพราะจะเสี่ยงต่อการป่วย เนื่องจากหลังคลอดบุตร ร่างกายจะยังไม่ได้พักฟื้นเต็มที่ ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอ
- หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยหากมีน้ำคาวปลาไหลทุกๆ 3 ชั่วโมง เพื่อความสะอาดของช่องคลอด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยควรเป็นอาหารย่อยง่าย รสไม่จัด มีกากใยที่ง่ายต่อการขับถ่าย และต้องครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารปรุงไม่สุก อาหารรสจัด อาหารหมักดอง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ไม่มีสารเคมี หรือสารอันตรายเจือปน
- ระมัดระวังเรื่องการรับประทานยา ไม่ว่าจะเป็นยานอนหลับ ยาปฏิชีวนะ ยาจีน ยาดองเหล้า
- พักผ่อนให้เต็มที่ โดยควรนอนหลับอย่างน้อยวันละไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง แต่ไม่ควรหลับระหว่างให้นมลูก เพราะเต้านมอาจไปปิดจมูกทารก ทำให้เด็กหายใจไม่ออก
- ดูแลสุขภาพจิตให้ดี ซึ่งในส่วนนี้ ทั้งสามี และคนในครอบครัวที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกันล้วนมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยเอาใจใส่ แบ่งเวลากันดูแลเด็ก และไม่ทอดทิ้งหากแม่ของเด็กมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด
- คุมกำเนิดหลังคลอด โดยควรเว้นระยะในการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2 ปี เพื่อจะได้มีเวลาดูแลลูกอย่างเต็มที่ ไม่ทำให้พี่น้องรู้สึกว่า พ่อแม่ลำเอียง หรือถูกทอดทิ้ง
- ฝึกขมิบช่องคลอด เพื่อให้ช่องคลอดกลับมากระชับ และทำให้กล้ามเนื้อพยุงเชิงกรานกลับมาแข็งแรง
- ไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ โดยควรเริ่มไปตรวจหลังจากคลอดประมาณ 4-6 สัปดาห์ เพื่อให้แพทย์ตรวจสภาพปากมดลูก และอวัยวะอุ้งเชิงกราน
นอกจากนี้หากมีอาการผิดปกติก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดศีรษะบ่อย มีไข้สูง ปัสสาวะแสบขัด มีก้อนที่เต้านม น้ำคาวปลาไม่หยุดไหล
การดูแลตนเองกรณีคลอดบุตรแบบผ่าคลอด
- เคลื่อนไหว และพลิกตัวบ่อยๆ เพื่อลดการเกิดพังผืดในช่องท้องกับเยื่อบุช่องท้องบริเวณที่ผ่าคลอด
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือทำกิจกรรมที่เกร็งกล้ามหน้าท้อง เพราะเสี่ยงทำให้รู้สึกเจ็บแผลได้
- เวลาต้องก้มตัว หรือลุกขึ้นยืนให้ค่อยๆ เคลื่อนไหวด้วยการงอเข่าเข้าหากันก่อน
- พยายามอย่าให้แผลผ่าตัดโดนน้ำให้ช่วง 7 วันแรก แต่สามารถทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ ได้
- ค่อยๆ เดินขึ้นลงบันไดอย่างระมัดระวัง หรือมีคนคอยประคอง เพื่อไม่ให้แผลกระทบกระเทือน และกล้ามเนื้อหน้าท้องอาจยังไม่แข็งแรงพอจะเคลื่อนไหวได้สะดวก หรือคล่องตัวนัก
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
- ปรับหัวเตียงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้แผลตรงหน้าท้องไม่ตึง และไม่ทำให้เจ็บแผล
- ไปตรวจร่างกายกับแพทย์เพื่อจะได้แน่ใจว่า แผลผ่าตัดอยู่ในสภาพเรียบร้อยดี
- ดูแลสุขภาพจิตให้แจ่มใส ซึ่งสามี และคนในครอบครัวต้องเข้ามาช่วยประคับประคองด้วย และหากรู้สึกว่า ตนเองเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด ก็สามารถไปพบจิตแพทย์ได้
ราคาการคลอดธรรมชาติ และการผ่าคลอด
- โรงพยาบาลรัฐ จะมีค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรตามธรรมชาติอยู่ที่ 5,000-10,000 บาท ส่วนการผ่าคลอดจะอยู่ที่ 15,000-25,000 บาท
- โรงพยาบาลเอกชน จะมีค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรตามธรรมชาติอยู่ที่ 30,000 - 50,000 บาท ส่วนการผ่าคลอดจะอยู่ที่ 45,000-100,000 บาท
การดูแลสุขภาพหลังคลอดบุตรเป็นเรื่องสำคัญที่อย่ามองข้ามเด็ดขาด เพราะอาจเป็นต้นเหตุของโรคภัย หรือความผิดปกติที่ร้ายแรงได้
โดยนอกจากตัวแม่เด็กแล้ว สามี คนในครอบครัว เพื่อนสนิทก็ต้องช่วยกันดูแลร่างกายหลังคลอดของมารดาให้กลับมาเป็นปกติ สามารถปรับตัวกับการเลี้ยงลูกได้โดยไม่รู้สึกว่า ถูกทอดทิ้ง
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android