รู้สึกหนักที่ศีรษะ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รู้สึกหนักที่ศีรษะ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

โดยปกติแล้ว ศีรษะของเรามีน้ำหนักค่อนข้างมาก ซึ่งประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะ เนื้อเยื่อสมอง และส่วนอื่นๆ ทั้งนี้มีข้อมูลใน The journal Surgical Technology International ระบุว่า เมื่ออยู่ในตำแหน่งปกติ ศีรษะของผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 10 และ 12 ปอนด์ แต่ในบางกรณี ศีรษะของเราก็สามารถหนักกว่าปกติได้เช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้รู้สึกหนักศีรษะ

สาเหตุที่เป็นไปได้ มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทรงตัว

อาการเวียนศีรษะ หรือวิงเวียนคล้ายจะเป็นลมที่ส่งผลต่อความสมดุลของร่างกายสามารถทำให้คุณรู้สึกว่าศีรษะหนักมากขึ้น อาการเหล่านี้อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องของการทรงตัว ตัวอย่างเช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน โรคเส้นประสาททรงตัวอักเสบ ฯลฯ อย่างไรก็ดี ความผิดปกติดังกล่าวสามารถทำให้รู้สึกราวกับว่าศีรษะมีน้ำหนักมากกว่าปกติ

2. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากการที่กล้ามเนื้ออ่อนแอกว่าปกติ ซึ่งอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยคือ การมีกล้ามเนื้อคอที่อ่อนแอและอ่อนล้าง่าย ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้จะทำสิ่งง่ายๆ อย่างการเคี้ยว พูด หรือพยุงศีรษะได้ยากขึ้น

3. มีท่าทางที่ไม่ดี

จากข้อมูลของ Surgical Technology International มีการระบุว่า ถ้าคอและศีรษะเอนไปข้างหน้าประมาณ 15 องศา เราจะรู้สึกว่าศีรษะหนัก 27 ปอนด์ แต่ถ้าเราก้มศีรษะเพื่อมองพื้น หรือทำมุมประมาณ 60 องศา คุณจะรู้สึกว่าศีรษะหนักมากถึง 60 ปอนด์  ทั้งนี้การจัดท่าทางที่ไม่ได้เป็นกลางหรืออยู่ในตำแหน่งตั้งตรงก็อาจทำให้คุณรู้สึกหนักศีรษะได้

4. ปวดศีรษะไซนัส

การปวดศีรษะไซนัสสามารถทำให้เกิดอาการปวดและแรงกดที่ทำให้รู้สึกหนักที่ศีรษะ การปวดหัวประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อทางเดินของโพรงอากาศข้างจมูกบวม แบคทีเรีย และไวรัสสามารถติดอยู่ด้านในบริเวณดังกล่าว ทำให้มีอาการบวม มีของเหลวสีเหลือง และคัดจมูก

5. ปวดศีรษะจากความเครียด

การปวดศีรษะจากความเครียด หรือที่เรียกว่า Tension headaches ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของอาการปวดศีรษะที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดราวกับถูกบีบที่ศีรษะ นอกจากนี้มันยังทำให้กล้ามเนื้อหัวไหล่และกล้ามเนื้อคอตึง ส่งผลให้เรารู้สึกว่าศีรษะหนักกว่าปกติ ซึ่งอาการปวดศีรษะจากความเครียดมักเกิดขึ้นนาน 20 นาที–2 ชั่วโมง

วิธีรักษา

หากปวดศีรษะเพราะจัดท่าทางได้ไม่ดี ให้คุณพยายามพักจากการก้มหน้าโดยเฉพาะเมื่อพิมพ์งาน หรือกดโทรศัพท์มือถือ รวมถึงยืดคอให้ตรง และรักษาตำแหน่งให้เป็นกลาง แต่ถ้าความรู้สึกหนักศีรษะเกิดจากอาการปวดศีรษะชนิดที่เรากล่าวไปข้างต้น การทานยาพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน และนาพรอกเซน ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ นอกจากนี้ให้คุณพยายามหาว่าต้นเหตุที่ทำให้ปวดศีรษะจากความเครียดมีอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น ความเครียด ความหิว การนอนไม่เพียงพอ การนอนกัดฟันตอนกลางคืน ฯลฯ โดยให้คุณหลีกเลี่ยงนิสัยเหล่านี้และลองไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากความรู้สึกหนักที่ศีรษะเกิดจากความผิดปกติ หรือโรคที่เกี่ยวกับการทรงตัว เราสามารถรักษาโดยทานยา ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก (Anticholinergics): สำหรับตัวอย่างของยา เช่น สโคโปลามีน (Scopolamine) ซึ่งมักใช้รักษาอาการเมาเรือ
  • ยาแก้คลื่นไส้: ยาประเภทนี้ใช้สำหรับแก้คลื่นไส้ในคนที่เวียนศีรษะ ตัวอย่างยา เช่น  เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) และออนดาเซทรอน (Ondasetron)
  • ยาแอนตี้ฮิสตามีน (Antihistamines): ยาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการเมารถได้ ตัวอย่างเช่น มีไคลซีน (Meclizine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) โปรเมทาซีน (Promethazine) ฯลฯ
  • ยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine): ยาในกลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการวิตกกังวล และรับมือกับอาการเมารถหรือบ้านหมุนแบบฉับพลัน ตัวอย่างเช่น ไดอะซีแพม (Diazepam) โคลนาซีแพม (Clonazepam) และอัลปราโซแลม (Alprazolam) ฯลฯ

วิธีบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่บ้าน

คุณสามารถรับมือกับความรู้สึกหนักที่ศีรษะโดยใช้แผ่นให้ความร้อน หรือที่เรียกว่า Heating pad ประคบที่คอและหัวไหล่ แต่ให้วางไว้ขณะที่ใส่เสื้อผ้าเพื่อไม่ให้ผิวไหม้ แต่หากคุณเป็นโรคเบาหวาน หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ถ้ารู้สึกว่ากล้ามเนื้อคออ่อนแอเป็นพิเศษ คุณอาจออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้คอที่บ้าน การออกกำลังกายด้วยวิธีเหล่านี้สามารถช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อและทำให้คอแข็งแรง สำหรับตัวอย่างวิธีออกกำลังกายมีดังนี้

1. Chin tuck

การออกกำลังกายท่านี้สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรง สำหรับวิธีทำคือ ให้คุณไปยืนพิงกับกำแพง และดันหัวไหล่ไปด้านหลังพร้อมกับมองไปข้างหน้า จากนั้นให้กดคางลงจนรู้สึกว่าด้านหลังคอ และกล้ามเนื้อบริเวณไหปลาร้าข้างใดข้างหนึ่งยืดออก โดยทำท่านี้ค้างไว้ 5 วินาที แล้วกลับคืนสู่ท่าปกติ และทำซ้ำอีก 10 ครั้ง

2. Back burn

การออกกำลังกายท่านี้สามารถทำให้คุณมีท่าทางที่ดีขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรง สำหรับวิธีทำก็ไม่ยาก ให้คุณยืนพิงกำแพง และยืดแขนให้ตรงในระดับความสูงของหัวไหล่ โดยที่ฝ่ามือหันไปด้านหน้า จากนั้นให้คุณค่อยๆ ยกแขนขึ้นไปในอากาศและนำไปวางใกล้กับใบหู ซึ่งฝ่ามือก็ยังคงหันไปด้านหน้า จากนั้นให้ค่อยๆ ลดแขนลงสู่ตำแหน่งเริ่มต้น โดยให้ทำ 10 ครั้ง อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อวัน

โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถบรรเทาความรู้สึกหนักที่ศีรษะได้เอง โดยใช้วิธีที่เราแนะนำไปข้างต้น แต่ถ้าอาการแย่ลง ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ การไปพบแพทย์ก็คือทางออกที่ดีที่สุด


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Head feels heavy: 5 causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321166)
Pressure in Head: Causes, Treatment, and Related Conditions. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pressure-in-head)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง

หลากหลายวิธีเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง

อ่านเพิ่ม
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม