โรคริดสีดวงทวาร (Haemorrhoids หรือ Piles) คือ การบวมอันเนื่องมาจากหลอดเลือดมากมายขยายใหญ่ขึ้น ณ ตำแหน่งที่เป็นได้ทั้งภายใน หรือรอบทวารหนัก (บนไส้ตรงและปากทวาร)
โดยส่วนมากโรคริดสีดวงทวารจะไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ และผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่รู้ตัวว่าตนเองมีภาวะนี้ด้วยซ้ำ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุของการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดโรคริดสีดวงทวาร แต่ก็เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับภาวะความดันของเส้นเลือดรอบและภายในทวารหนัก โดยความดันที่สูงขึ้นนี้จะทำให้หลอดเลือดภายในทวารบวมและอักเสบขึ้น
หลายกรณีคาดว่า สาเหตุเกิดจากการเบ่งอุจจาระอย่างแรงระหว่างการถ่ายหนักเนื่องจากมีอาการท้องผูก ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารอย่าวเพียงพอ นอกจากนี้ริดสีดวงยังสามารถเกิดกับผู้ที่มีอาการท้องร่วงเรื้อรังได้ด้วย
อาการของโรคริดสีดวงทวาร
ปกติโรคริดสีดวงทวารมักไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ แต่หากมีอาการขึ้นมาก็มักจะมีลักษณะอาการดังนี้
- เลือดออกหลังจากถ่ายหนัก (เลือดที่ออกมักจะมีสีแดงสด)
- คันก้น
- เกิดติ่ง หรือก้อนห้อยอยู่ข้างนอกทวารหนัก ซึ่งสามารถกดเข้าไปข้าวในเองได้หลังจากถ่ายหนัก
- มีมูกออกจากทวารหลังจากถ่ายหนัก
- อาการปวด แดง และบวมรอบทวารหนัก
- อาจจะมีอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรือรู้สึกตุงบริเวณก้นได้
- การไหลเวียนเลือดถูกชะลอลง เนื่องจากถูกก้อนเนื้อขวางไว้
- คลำเจอก้อนบริเวณที่เป็นโรค เนื่องจากริดสีดวงมีการแข็งตัวของเลือดคั่งอยู่ภายใน ส่วนมากเป็นริดสีดวงภายนอก
อาการของโรคริดสีดวงทวารนั้นมักจะหายไปเองโดยการรักษาด้วยตนเอง ซึ่งสามารถหาซื้อยาจากร้านขายยาทั่วไปได้ โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งจากแพทย์
อย่างไรก็ตาม ควรแจ้งแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงกว่าเดิม เช่น มีอาการเจ็บปวด เลือดออก ริดสีดวงแตก เพื่อตรวจหาภาวะสุขภาพร้ายแรงต่างๆ
การวินิจฉัยโรคริดสีดวงทวาร
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคริดสีดวงทวารได้จากการตรวจทวารหนักเพื่อมองหาเส้นเลือดที่บวมออก โดยผู้ป่วยจะต้องแจ้งอาการต่างๆ ทั้งหมดกับแพทย์ เช่น น้ำหนักลดในช่วงที่ผ่านมา ลักษณะการเคลื่อนตัวของลำไส้เปลี่ยนแปลงไป มีอุจจาระเหนียว หรือสีคล้ำมาก
ตรวจและรักษาริดสีดวงทวารวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 970 บาท ลดสูงสุด 46%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หากใช้วิธีตรวจทวารหนักแต่ยังไม่พบรอยโรคที่แน่ชัด แพทย์จะใช้การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Proctoscopy) เพื่อตรวจภายในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทั้งหมด โดยวิธีการตรวจนี้จำเป็นต้องตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ประเภทของโรคริดสีดวงทวาร
หลังจากเข้ารับการตรวจทวารหนัก หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญแล้ว แพทย์จะสามารถชี้ชัดประเภทของริดสีดวงได้ โดยริดสีดวงทวารนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งภายนอกและภายใน มีรายละเอียดดังนี้
- ริดสีดวงภายในจะเกิดอยู่บนท่อทวารส่วนบน
- ริดสีดวงภายนอกมักจะเกิดบนส่วนล่างของทวาร (ใกล้กับปากทวารมากที่สุด)
ระดับความรุนแรงของโรคริดสีดวงทวาร
โรคริดสีดวงทวารสามารถจำแนกได้ตามขนาด และความรุนแรงของโรค ดังนี้
- ระดับแรก การบวมมีขนาดน้อย เกิดขึ้นบนเยื่อบุภายในของทวารหนัก และมักจะมองไม่เห็นจากภายนอก
- ระดับที่สอง การบวมมีขนาดใหญ่ขึ้น และอาจจะดันตัวออกมานอกทวารเวลาที่ถ่ายหนัก แต่จะหายกลับไปข้างในเมื่อเสร็จสิ้นการถ่ายหนัก
- ระดับที่สาม มีก้อนเนื้ออ่อนๆ หนึ่งก้อนขึ้นไปห้อยลงมาจากทวารหนัก และสามารถดันกลับเข้าข้างในได้ (Prolapsing and reducible)
- ระดับที่สี่ ก้อนขนาดใหญ่ห้อยลงมาจากทวารหนัก และไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้ (Irreducible)
โดยแพทย์จำต้องทราบทั้งขนาด และประเภทของริดสีดวงที่คุณเป็น เพื่อใช้กำหนดทิศทางการรักษาที่ดีที่สุด
การรักษาโรคริดสีดวงทวาร
โรคริดสีดวงทวารมักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่วันโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ ริดสีดวงทวารที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ก็มักจะดีขึ้นเองหลังคลอดเช่นกัน
แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้นก็ไม่ควรเพิกเฉย ควรรีบไปพบแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อรับยามารักษา หรือทำหัตถการทางการแพทย์ เช่น Banding การฉีดยา บางรายหากมีอาการรุนแรงมากก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตรวจและรักษาริดสีดวงทวารวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 970 บาท ลดสูงสุด 46%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
1. การใช้ยารักษาโรคริดสีดวงทวาร
เป็นการรักษาโรคริดสีดวงภายนอก โดยใช้ยาทาลงทวารหนักโดยตรง หรือยาเม็ดที่หาได้จากร้านขายยาทั่วไป เพื่อบรรเทาอาการ และทำให้ขับถ่ายคล่องขึ้น ยาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้
- ยาทาภายนอก ได้แก่ ครีม ขี้ผึ้ง และยาเหน็บ มีหลากหลายยี้ห้อ สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งจากแพทย์ มีสรรพคุณช่วยลดอาการบวมและไม่สบายตัว แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ (ห้ามใช้ยามากกว่าหนึ่งประเภทพร้อมกัน)
- ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์ สำหรับผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรงภายในและรอบทวารหนัก ตัวยาประกอบด้วยสารสเตียรอยด์ สั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ทั้งนี้ไม่ควรใช้ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์นานกว่า 1 สัปดาห์ต่อครั้ง เนื่องจากจะทำให้ผิวหนังรอบทวารหนักบาง และทำให้ระคายเคืองรุนแรงขึ้น
- ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตตามอล จะช่วยลดอาการปวดจากโรคริดสีดวงทวารได้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเลือดออก ให้หลีกเลี่ยงยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroid Anti-Inflammatory Drugs: NSAID) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพราะจะทำให้เลือดออกจากลำไส้ตรงมากขึ้น
- ยาระบาย หากมีอาการท้องผูก แพทย์จะจัดจ่ายยาระบายเพื่อช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้น
2. การรักษาโรคริดสีดวงทวารที่ไม่ใช้การผ่าตัด
หากการปรับเปลี่ยนอาหารการกิน และการใช้ยา ไม่ทำให้อาการดีขึ้น แพทย์จะส่งคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจโรคริดสีดวงทวารอย่างละเอียด และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม
วิธีรักษาริดสีดวงทวารภายนอกโดยไม่ใช้การผ่าตัด มีดังนี้
- Banding (แบนดิง) คือ การพันแถบอีลาสติกแน่นๆ รอบฐานของริดสีดวงเพื่อตัดขาดการไหลเวียนโลหิตที่มาเลี้ยงติ่งเนื้อ ทำให้ติ่งของริดสีดวงค่อยๆฝ่อลงและหลุดออกเองภายใน 1 สัปดาห์ หากมีเลือดออกจากทวารเพียงเล็กน้อยถือว่าปกติ แต่หากมีเลือดออกมากเกินไป เช่น มีสีแดงสด หรือมีลิ่มเลือดปนออกมา ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ฉีดสารระคายเคืองเส้นเลือด (Sclerotherapy) เข้าไปในหลอดเลือดภายในทวารหนัก เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดด้วยการทำให้ปลายประสาท ณ ตำแหน่งที่ฉีดเกิดความชา และทำให้เนื้อเยื่อของริดสีดวงแข็งขึ้นจนทำให้เกิดแผล หลังจากนั้น 4-6 สัปดาห์ ริดสีดวงทวารก็จะลดขนาดลงในที่สุด
- การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrotherapy) หรือที่เรียกว่า Electrocoagulation เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีริดสีดวงทวารขนาดเล็ก โดยจะทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังริดสีดวงหนืดขึ้นๆ ส่งผลให้ติ่งริดสีดวงหดลง และหากจำเป็นก็สามารถดำเนินการกับริดสีดวงมากกว่าหนึ่งจุดได้ภายในหนึ่งครั้ง
3. การรักษาโรคริดสีดวงทวารด้วยการผ่าตัด
แม้ว่าโรคริดสีดวงส่วนมากจะสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา หรือวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่การผ่าตัด แต่ก็มีผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 10 ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากมีอาการรุนแรง โดยส่วนใหญ่มักผ่าตัดริดสีดวงภายนอก มีหลายวิธีดังนี้
- การผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก (Haemorrhoidectomy) เป็นหัตถกรรมกำจัดริดสีดวงทวารภายนอกออก มักดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบกับผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้หมดสติไปตลอดกระบวนการผ่าตัดโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด
- การเย็บผูกริดสีดวงทวาร (Haemorrhoidal artery ligation) เป็นหัตถกรรมลดการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงริดสีดวงทวาร มักใช้ยาสลบกับผู้ป่วย และสอดแท่งอัลตราซาวด์เข้าไปในทวารหนัก โดยแท่งดังกล่าวจะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงทำให้ศัลยแพทย์สามารถหาตำแหน่งของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงริดสีดวงได้ จากนั้นแพทย์จะเย็บปิดหลอดเลือดนั้นเพื่อไม่ให้เลือกไหลไปยังริดสีดวงทวาร ทำให้ติ่งริดสีดวงหดลงภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์
- การใช้เครื่องมือตัดเย็บเยื่อบุลำไส้ (Stapled haemorrhoidopexy) เป็นกระบวนการผ่าตัดริดสีดวงทวารทั่วไปที่ใช้รักษาภาวะริดสีดวงหย่อน เป็นวิธีที่เจ็บน้อยที่สุด แต่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงหลังการเย็บติด เช่น เกิดฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) ไปยังช่องคลอด เกิดการฉีกขาดของลำไส้ตรง
หลังการผ่าตัดริดสีดวงทวารในช่วงฟื้นตัว หากมีอาการเลือดออกมาก ไข้สูง มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ อาการเจ็บปวดทรุดลง หรือรอบทวารหนักบวม ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ความเสี่ยงทั่วไปจากการผ่าตัดริดสีดวงทวาร
แม้ว่า ความเสี่ยงต่อภาวะร้ายแรงจะมีน้อย แต่การผ่าตัดริดสีดวงก็ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนบ้างเช่นกัน ดังนี้
- เลือดออก หรือถ่ายเป็นลิ่มเลือดออก มักจะเกิดหลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ขึ้นไป
- การติดเชื้อ ซึ่งทำให้เกิดหนองสะสมภายใน ส่วนมากแพทย์มักจะสั่งยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะติดเชื้อนี้
- ภาวะขับปัสสาวะลำบาก
- ภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่
- เกิดฝีคัณฑสูตรที่ทวารหนัก
- การตีบแคบของท่อทวาร (Stenosis)
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้มักจะรักษาได้ด้วยการใช้ยา หรือการผ่าตัดเพิ่มเติม ซึ่งผู้ป่วยสามารถปรึกษาความเสี่ยงต่างๆ จากการผ่าตัดกับศัลยแพทย์ก่อนการตัดสินใจได้
4. วิธีการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักอื่นๆ
ตัวเลือกการรักษาอื่นๆ ที่มีในปัจจุบันคือ การแช่แข็ง และการใช้เลเซอร์ อย่างไรก็ตาม ศัลยแพทย์ที่สามารถดำเนินการรักษาเหล่านี้ได้ยังคงมีอยู่ไม่มาก
การป้องกันโรคริดสีดวงทวาร
หลักการปฏิบัติต่อไปนี้นอกจากจะช่วยลดการกลับมาของโรคริดสีดวงทวารแล้ว ยังสามารถป้องกันการเกิดโรคได้อีกด้วย
- ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ช่วยลดภาระที่หลอดเลือดภายในและรอบทวาร
- ปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร โดยการเพิ่มปริมาณกากใยอาหารที่รับประทานทีละน้อย แหล่งกากใยอาหารที่ดี เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว พาสต้า และขนมปัง
- ดื่มน้ำให้มากๆ โดยเฉพาะน้ำสะอาด
- พยายามเลี่ยง หรือลดปริมาณการดื่มคาเฟอีนและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- อย่าอั้นการขับถ่าย เพราะจะทำให้อุจจาระแข็ง และแห้ง จนอาจทำให้ต้องเบ่งออกในที่สุด
- เลี่ยงยาที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น ยาแก้ปวดที่มีส่วนประกอบของโคเดอีน (Codeine)
- ลดน้ำหนัก หากมีน้ำหนักเกิน
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันอาการท้องผูกและยังลดความดันโลหิต และช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วย
- พยายามเลี่ยงการเบ่งอุจจาระ เพราะจะทำให้อาการริดสีดวงทวารทรุดลง
- ควรใช้ผ้าชื้นเช็ดทวารหนักแทนการใช้กระดาษแห้ง หรือใช้กระดาษเย็นในการทำความสะอาดหลังการถ่ายหนัก และไม่ควรขยี้แรงๆ เพื่อป้องกันการระคายเคือง
ริดสีดวงทวารอาจจะเป็นโรคที่ทำให้ "เขินอาย" ไม่อยากไปพบแพทย์ แต่หากพยายามดูแล รักษาด้วยตนเองแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจและรักษาริดสีดวงทวาร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android