กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ยารักษาริดสีดวง มีแบบไหนบ้าง?

แนะนำยารักษาริดสีดวง ทั้งแบบเหน็บ ทา และรับประทาน รู้ครบทั้งยาแผนปัจจุบันและสมุนไพร
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ยารักษาริดสีดวง มีแบบไหนบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปัจจุบันการรักษาริดสีดวงมีหลายวิธี ทั้งการรักษาด้วยการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม เช่น แช่น้ำอุ่น ประคบเย็น การรับประทานอาหารและดื่มน้ำอย่างเหมาะสม ด้านการรักษาด้วยยาก็มีตัวเลือกหลากหลายทั้งยาแบบรับประทานแผนปัจจุบัน กลุ่มยาสมุนไพร ยาทา ครีม และยาเหน็บ
  • ตัวอย่างยารักษาริดสีดวงทวารแบบรับประทานได้แก่ ดาฟลอน (Daflon ®) เรพาริล ดราจีส์ (Reparil ® - Dragees) แต่มีข้อควรระวังในการใช้ยาสำหรับผู้แพ้ส่วนประกอบในยา สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร ผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ยาสมุนไพรที่ใช้รักษาริดสีดวงทวาร คือ เพชรสังฆาต ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบของเส้นเลือด จึงช่วยรักษาอาการของโรคริดสีดวงทวารได้ สามารถรับประทานได้ทั้งแบบเถาสดและในรูปแบบแคปซูล 
  • ไม่ควรใช้ยารักษาริดสีดวงทวารแบบเหน็บและแบบทานานเกินกว่า 7 วัน หากยาไม่สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจและรักษาริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวารคือ ภาวะที่หลอดเลือดดำในทวารหนักปูดพองออกมา และบางครั้งผนังหลอดเลือดยังมีการปริแตก ทำให้เลือดไหลออกมาได้ ทำให้เกิดอาการมีเลือดไหลออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ หรือหากกำลังท้องผูก เลือดก็จะออกมากขึ้นกว่าเดิม

หัวริดสีดวงโตมากขึ้นและติ่งเนื้อจะเริ่มโผล่ออกมาพ้นปากทวารหนัก เวลาเบ่งอุจจาระจะสามารถมองเห็นได้มากขึ้น และจะหดกลับได้เองหลังขับถ่ายเสร็จแล้ว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อถึงระยะท้ายๆ จะสามารถมองเห็นหัวริดสีดวงจากภายนอกได้อย่างชัดเจน รวมถึงมีอาการบวม อักเสบและมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง

ปัจจุบันการรักษาริดสีดวงมีหลายวิธี ทั้งการรักษาด้วยการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม เช่น แช่น้ำอุ่น ประคบเย็น การรับประทานอาหารและดื่มน้ำอย่างเหมาะสม 

ด้านการรักษาด้วยยาก็มีตัวเลือกหลากหลายทั้งยาแบบรับประทานแผนปัจจุบัน กลุ่มยาสมุนไพร ยาทา ครีม และยาเหน็บ

ยารักษาริดสีดวงแบบรับประทาน

กลุ่มยารับประทาน (Oral Dosage Form) ได้แก่ ยาแผนปัจจุบันและกลุ่มยาสมุนไพร  มาเริ่มต้นด้วยยาแผนปัจจุบัน มีตัวอย่างยาดังนี้ 

ยาแผนปัจจุบัน

ดาฟลอน (Daflon ®)

ส่วนประกอบ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ขนาด 500 มิลลิกรัม ได้แก่ ไดออสมิน (Diosmin) และเฮสเพอริดิน (Hesperidin)

กลไกการออกฤทธิ์ ยังไม่มีข้อมูลของกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่ชัด แต่คาดว่า สารฟลาโวนอยด์ออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการเพิ่มการหดตัวของหลอดเลือดดำ กระตุ้นการระบายน้ำเหลือง และปกป้องหลอดเลือดฝอย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจและรักษาริดสีดวงทวารวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 970 บาท ลดสูงสุด 46%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อบ่งใช้ รักษาอาการของโรคริดสีดวง

ขนาดการใช้ยา ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน โดย

  • 4 วันแรกรับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
  • 3 วันถัดมารับประทานครั้งละ 2 เม็ดวันละ 2 ครั้ง
  • วันถัดไปรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้งจนกว่าอาการจะดีขึ้น

*ควรรับประทานยาพร้อม หรือหลังอาหาร

ข้อควรระวังในการใช้

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการแพ้สารในตำรับ
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

เรพาริล ดราจีส์ (Reparil ® - Dragees)

ส่วนประกอบ เอสซิน (Aescin) ขนาด 20 มิลลิกรัม (เอสซินเป็นสารกลุ่มซาโปนินที่สกัดจากต้น Horse Chestnut)

กลไกการออกฤทธิ์ เอสซินเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการบวม ยับยั้งการอักเสบ และทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดดำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจและรักษาริดสีดวงทวารวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 970 บาท ลดสูงสุด 46%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อบ่งใช้ รักษาอาการของโรคริดสีดวง

ขนาดการใช้ยา ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ โดย

  • เริ่มต้นรับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
  • วันถัดไปรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง

*ควรรับประทานยาพร้อมหรือหลังอาหาร

ข้อควรระวังในการใช้

  • ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออก
  • ไม่ควรใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

กลุ่มยาสมุนไพรสำหรับรักษาริดสีดวงทวาร

ยาสมุนไพรที่ใช้รักษาริดสีดวงทวารคือ เพชรสังฆาต ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบของเส้นเลือด จึงช่วยรักษาอาการของโรคริดสีดวงทวารได้

วิธีใช้

  • รับประทานส่วนเถาสด แนะนำให้สอดใส่กล้วยสุกก่อนแล้วค่อยรับประทาน เนื่องจากเถาเพชรสังฆาตสดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลท (calcium oxalate) อยู่มาก หากสัมผัสกับปากและลำคอโดยตรงสามารถเกิดการระคายเคืองได้
  • รูปแบบแคปซูล ในปัจจุบันมีการนำเถาตากแห้งมาบรรจุเป็นแคปซูลรวมกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อเสริมฤทธิ์ในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร ขนาดรับประทานจะแตกต่างกันไปตามปริมาณเพชรสังฆาตในแคปซูลแต่ละยี่ห้อ แนะนำให้ศึกษาขนาดรับประทานจากฉลากบนผลิตภัณฑ์

ยารักษาริดสีดวงทวารแบบเหน็บ

พร็อกโทซิดิล (Proctosedyl ® Suppository)

ส่วนประกอบ ยาในรูปแบบยาเหน็บทวาร 1 กรัม ประกอบด้วย ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) 5 มิลลิกรัม และซินโคเคน ไฮโดรคลอไรด์ (Cinchocaine HCl) 5 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์ Hydrocortisone ในตำรับเป็นสารกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ อาการปวด บวม ของริดสีดวงทวาร Cinchocaine HCl ในตำรับออกฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ลดอาการเจ็บและปวดบริเวณริดสีดวงทวาร

ข้อบ่งใช้ ใช้เหน็บเพื่อรักษาริดสีดวงทวาร ทั้งริดสีดวงทวารภายในและริดสีดวงทวารภายนอก

ขนาดการใช้ยา

  • ยาในรูปแบบยาเหน็บ เหน็บครั้งละ 1 แท่ง วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น และหลังขับถ่าย
  • ไม่ควรใช้ยานานเกินกว่า 7 วัน หากยาไม่สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

ข้อควรระวังในการใช้

  • ไม่ควรใช้ Proctosedyl ® ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัส เชื้อวัณโรค หรือติดเชื้อรา
  • ควรระวังการใช้ยาในทารก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
  • ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม Pregnancy category C ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีที่ให้นมบุตร

เชอริพร็อกท์ (Scheriproct N ® Suppository)

ส่วนประกอบ ยาในรูปแบบยาเหน็บทวาร 1 แท่ง ประกอบด้วย ฟลูโอคอร์โทโลน ไพวาเลท (Fluocortolone pivalate) 1 มิลลิกรัม และลิโดเคน ไฮโดรคลอไรด์ (Lidocaine HCl) 40 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์ Fluocortolone pivalate ในตำรับเป็นสารกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ อาการปวด และบวม ของริดสีดวงทวาร ส่วน Lidocaine HCl ในตำรับออกฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ลดอาการเจ็บ และปวดบริเวณริดสีดวงทวาร

ข้อบ่งใช้ ใช้เหน็บเพื่อรักษาริดสีดวงทวาร ทั้งริดสีดวงทวารภายในและริดสีดวงทวารภายนอก

ขนาดการใช้ยา

  • ยาในรูปแบบยาเหน็บ เหน็บครั้งละ 1 แท่ง วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น และหลังขับถ่าย
  • ไม่ควรใช้ยานานเกินกว่า 7 วัน เนื่องจากฤทธิ์ของสเตียรอยด์จะทำให้ผนังของทวารหนักบางขึ้น หากยาไม่สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

ข้อควรระวังในการใช้

  • ไม่ควรใช้ Proctosedyl ® ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัส เชื้อวัณโรค หรือติดเชื้อรา
  • ควรระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
  • ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม Pregnancy category C ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีที่ให้นมบุตร

ยารักษาริดสีดวงทวารแบบทา 

พร็อกโทซิดิล (Proctosedyl ® Cream), เชอริพร็อกท์ (Scheriproct N ® Cream), ดูพร็อกท์ (Doproct ® Ointment)

ข้อบ่งใช้ ใช้ทาเพื่อรักษาริดสีดวงทวาร

ขนาดการใช้ยา

  • ยาในรูปแบบยาครีมและยาขี้ผึ้ง ทาวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น และหลังขับถ่าย
  • ไม่ควรใช้ยานานเกินกว่า 7 วัน เนื่องจากฤทธิ์ของสเตียรอยด์จะทำให้ผนังของทวารหนักบางขึ้น หากยาไม่สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในการใช้ยาเหน็บ

* หมายเหตุ ข้อมูลส่วนอื่นของยาครีมและยาขี้ผึ้งเหมือนกันกับยาเหน็บทวาร

  • ยาในรูปแบบยาครีมและยาขี้ผึ้ง ทาวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น และหลังขับถ่าย
  • ไม่ควรใช้ยานานเกินกว่า 7 วัน หากยาไม่สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในการใช้ยาเหน็บ

แม้จะมียารักษาริดสีดวงทวารทั้งแบบใช้ภายนอกและภายใน แต่หากไม่แน่ใจควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือหากไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องจะดีที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพื่อความปลอดภัย และผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีวิธีการรักษาริดสีดวงทวารแบบใหม่ๆ หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค สภาพร่างกายผู้ป่วย ดุลยพินิจของแพทย์ และงบประมาณในการรักษา เช่น การผ่าตัด 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจและรักษาริดสีดวงทวาร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ, เพชรสังฆาต (http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_2.htm), 21 June 2019.
MIMS Thailand, Doproct (https://www.mims.com/thailand/drug/info/doproct), 21 June 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป