เพชรสังฆาตคืออะไร สรรพคุณ วิธีใช้ วิธีรับประทาน และข้อควรระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เพชรสังฆาตคืออะไร สรรพคุณ วิธีใช้ วิธีรับประทาน และข้อควรระวัง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เพชรสังฆาต เป็นสมุนไพรไม้เลื้อยที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรโบราณชั้นดี และยังมักนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับบ้านด้วย
  • สรรพคุณเด่นของเพชรสังฆาต คือ เป็นยาแก้โรคริดสีดวงทวารและรักษาโรคอื่นๆ เกี่ยวกับระบบขับถ่าย เช่น เป็นยาระบายแก้ท้องผูก ท้องืด ขับลมในลำไส้
  • เพชรสังฆาตสามารถช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ แก้เลือดเสียในสตรีได้
  • โรงพยาบาลเจ้าพระอภัยภูเบศร์ใช้เพชรสังฆาตแทนยาแผนปัจจุบันด้วย ซึ่งแต่ละส่วนของต้นเพชรสังฆาตก็จะใช้รักษาอาการแตกต่างกันไป
  • เพชรสังฆาตสามารถสร้างความระคายเคืองในเยื่อบุปาก หรือคอได้ คุณควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ในรูปแบบแคปซูล หรือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรชนิดนี้ก่อน (ดูแพ็กเกจผ่าตัดริดสีดวงทวาร ตรวจร่างกายทั่วไปได้ที่นี่)

ยาสมุนไพรหลายชนิดสามารถใช้แทนยาแผนปัจจุบันได้ และหลายชนิดก็ให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพึงพอใจ ช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ โดยหนึ่งในสมุนไพรที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุนนั้นก็คือ “เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาตคืออะไร

เพชรสังฆาต หรือสันชะควด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cissus Guadrangularis L. เป็นสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยจัดอยู่ในวงศ์องุ่น ลำต้นมีลักษณะเป็นปล้องสี่เหลี่ยม และเป็นข้อต่อกัน แต่ละข้อยาว 6-10 ซม. สีเขียวอ่อน มีมือยึดเกาะ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวที่มีโคนมนปลายเว้า ขอบใบหยักเรียบมัน ดอกสีแดง สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ และยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรแผนโบราณหลายอย่างด้วย

สรรพคุณของเพชรสังฆาต

เพชรสังฆาตมีสรรพคุณเด่นในการใช้เป็นยาแก้โรคริดสีดวงทวารหนัก ด้วยการนำส่วนต่างๆ คือ ราก ลำต้น ใบ และเถามาใช้ โดยสามารถรักษาโรคต่างๆ ดังนี้

  • ช่วยแก้ท้องอืด และท้องเฟ้อ แก้อาการจุกเสียด ขับลมในลำไส้
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร เพราะเพชรสังฆาตอุดมไปด้วยวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดอาการอักเสบ ทำให้หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักหดตัวลง ลดอาการเลือดดำคั่ง และทำให้ระบบโลหิตไหลเวียนสะดวกขึ้น
  • บำรุงกระดูก ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกพร้อมกับลดอาการบวม หรืออักเสบ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อรักษาความหนาแน่นของกระดูกแล้ว พบว่า เพชรสังฆาตให้ผลดีกับความหนาแน่นของมวลกระดูก และความแข็งแรงได้มากกว่า
  • ช่วยระบายท้อง เพชรสังฆาตมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นอย่างมาก
  • รักษาโรคอื่นๆ ช่วยลดน้ำหนัก ใช้หยอดหูแก้น้ำหนวกไหล แก้เลือดเสียในสตรี ทำให้เจริญอาหาร ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ใช้เป็นยาพอกกระดูกหัก อีกทั้งยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ และชะลอความแก่ด้วย

ปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ยืนยันถึงสรรพคุณของเพชรสังฆาตแล้วว่า มีประสิทธิภาพสูง สามารถรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ผลดีเทียบเท่ายาแผนปัจจุบัน และได้รับการบรรจุขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติอีกด้วย 

ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ได้มีการใช้เพชรสังฆาตแทนยาแผนปัจจุบันสำหรับแพทย์แผนโบราณด้วย โดยชิ้นส่วนของเพชรสังฆาตสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ดังนี้

  • ราก ช่วยรักษากระดูกที่แตกหัก ทำให้กระดูกสมานติดกันง่ายขึ้น
  • ต้น แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้หูน้ำหนวก ช่วยให้เจริญอาหาร และขับน้ำเหลือง
  • ใบ ขับน้ำเหลืองเสีย สมานกระดูกที่หักให้ติดกันได้ไวขึ้น
  • เถา แก้จุกเสียด ขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือกระดูกซ้น

ข้อควรระวังในการใช้เพชรสังฆาตเป็นยาสมุนไพร

  • เพชรสังฆาตมีสารแคลเซียมออกซาเลท (Calcium Oxalate) ดังนั้นการรับประทานแบบสดๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในเยื่อบุปาก หรือคอได้ ดังนั้นควรรับประทานชนิดแคปซูลจะดีกว่า
  • เด็ก สตรีมีครรภ์รวม หญิงที่กำลังให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานเพชรสังฆาต หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  • ผู้ใช้เพชรสังฆาตบางรายอาจมีอาการท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด และอาเจียน ดังนั้นควรรับประทานในปริมาณที่กำหนดอย่างเหมาะสม
  • บางโรคที่เพชรสังฆาตรักษาได้แต่ยังไม่มีการระบุ หรือผลวิจัยเป็นหลักฐานที่แน่ชัด ดังนั้นการรับประทานเพชรสังฆาตจึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ หรือหากมีโรคประจำตัวก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด

ผลิตภัณฑ์เพชรสังฆาตมีอะไรบ้าง 

การใช้เพชรสังฆาตในปัจจุบันได้ถูกแปรรูปให้มีลักษณะเป็นแคปซูล ซึ่งอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย และสะดวกต่อการรับประทาน โดยสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน ร้านขายยาสมุนไพรทั่วไป หรือสั่งซื้อตามร้านออนไลน์ก็ได้

การรับประทานเพชรสังฆาตหรือสมุนไพรใดๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของต้นสดๆ หรือผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน จำเป็นที่จะต้องรักษาความสะอาดทุกขั้นตอนโดยปราศจากสิ่งปลอมปน หากเป็นไปได้ ก็ควรเลือกแหล่งผลิตที่ไม่มีสารตกค้างปนเปื้อน เพื่อผู้บริโภคจะได้ความปลอดภัยอย่างแท้จริงนั่นเอง

นอกจากนี้ คุณไม่ควรรับประทานสมุนไพรเพื่อบำรุง หรือรักษาอาการเจ็บป่วยโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง หรืออาการแพ้ที่รุนแรงได้ 

ดูแพ็กเกจผ่าตัดริดสีดวงทวาร ตรวจร่างกายทั่วไป เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Clinical evaluation of Cissus quadrangularis as osteogenic agent in maxillofacial fracture: A pilot study. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4784127/)
The use of a Cissus quadrangularis formulation in the management of weight loss and metabolic syndrome. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1570348/)
Cissus Quadrangularis: Health Benefits, Uses, Side Effects, Dosage & Interactions. RxList. (https://www.rxlist.com/cissus_quadrangularis/supplements.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)