วิธีการลดแก๊สในท้องและอาการท้องอืด

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีการลดแก๊สในท้องและอาการท้องอืด

การมีแก๊สในท้องนั้นเป็นเรื่องปกติหรือไม่?

โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใหญ่นั้นมีการขับแก๊สออกวันละ 13-21 ครั้งต่อวัน แก๊สนั้นเป็นเรื่องปกติของระบบย่อยอาหารแต่ถ้าหากมีแก๊สสะสมในลำไส้และคุณไม่สามารถขับออกได้ คุณอาจจะเริ่มรู้สึกแน่นท้องและไม่สบายตัว

อาการแน่นท้องจากแก๊ส ท้องอืด และผายลมบ่อยนั้นอาจจะถูกกระตุ้นได้จากอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือท้องอืด นอกจากนั้นยังอาจเกิดได้จาก

  • การรับประทานอาหารมากเกินไป
  • การกลืนอาหารระหว่างที่กินหรือดื่ม
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • การสูบบุหรี่
  • การรับประทานบางชนิด

ควรไปพบแพทย์หากคุณมีการมีแก๊สในท้องของคุณทำให้เกิดอาการต่อไปนี้

  • ทำให้แน่นท้อง
  • มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
  • พบร่วมกับอาการท้องอืด ท้องเสีย หรือน้ำหนักลด
  • แพทย์สามารถหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้

การกำจัดแก๊ส

ส่วนมากแก๊สนั้นเกิดจากอาการที่คุณรับประทานเข้าไป อาหารนั้นจะถูกย่อยในครั้งแรกที่ลำไส้เล็กและส่วนที่ไม่ถูกย่อยนั้นจะเกิดการหมักอยู่ในลำไส้ใหญ่ที่มีแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการย่อยอาหาร กระบวนการนี้จะทำให้เกิดแก๊สมีเทนและไฮโดรเจนซึ่งจะถูกขับออกมาเป็นการผายลม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ การเปลี่ยนนิสัยในการรับประทานอาหารนั้นก็เพียงพอที่จะลดแก๊สที่เกิดขึ้นและอาการอื่นๆ ที่เกิดร่วมกัน วิธีหนึ่งที่ช่วยระบุว่าอาหารใดเป็นอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สก็คือการทำบันทึกอาหารที่รับประทาน

อาหารที่มักทำให้เกิดแก๊สประกอบด้วย

  • อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง
  • อาหารที่มีไขมันสูง
  • อาหารทอดหรืออาหารเผ็ด
  • เครื่องดื่มอัดลม
  • สารปรุงแต่งที่มักจะพบในอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำและไม่มีน้ำตาลเช่น sugar alcohol, sorbitol และ maltitol
  • ถั่วต่างๆ
  • ผักที่เป็นดอก เช่น Brussels sprouts, ดอกกะหล่ำและบรอคโคลี่
  • ลูกพรุนหรือน้ำลูกพรุน
  • อาหารที่มีน้ำตาลแลคโตสเช่นนม ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ
  • อาหารในกลุ่มที่เรียกว่า fermentable oligosaccharides, disaccharides, monosaccharides and polyols (FODMAP) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่พบในอาหารหลายชนิดเช่นหอมใหญ่และกระเทียมซึ่งอาจจะทำให้ย่อยยาก
  • เครื่องดื่มและอาหารเสริมที่มีเส้นใยอาหาร

เมื่อคุณทราบว่าอาหารใดที่ทำให้เกิดแก๊ส คุณก็สามารถปรับอาหารที่รับประทานเพื่อลดการรับประทานอาหารเหล่านี้ได้

คำแนะนำ

หากการเปลี่ยนอาหารนั้นยังไม่สามารถบรรเทาอาการได้ทั้งหมด ให้ลองวิธีต่อไปนี้

1.เปปเปอร์มิ้นท์

งานวิจัยพบว่าชาเปปเปอร์มิ้นท์หรืออาหารเสริมนั้นอาจจะช่วยลดอาการของโรคลำไส้แปรปรวนซึ่งรวมถึงการมีแก๊สในท้อง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้อาหารเสริม เปปเปอร์มิ้นท์สามารถขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กและยาบางชนิดนี้ และอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกในผู้ป่วยบางราย

เวลาที่รับประทานอาหารเสริมให้รับประทานตามคำแนะนำข้างฉลากผลิตภัณฑ์ หากรับประทานชาเปปเปอร์มิ้นท์ให้ดื่ม 1 แก้วก่อนการรับประทานอาหารแต่ละมื้อเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด

2.ชาคาโมไมล์

ชาคาโมไมล์สามารถลดภาวะอาหารไม่ย่อย แก๊สที่อยู่ภายในท้องและอาการท้องอืดได้ การดื่มชาคาโมไมล์ก่อนอาหารและก่อนนอนนั้นอาจจะช่วยลดอาหารได้ในผู้ป่วยบางราย

3.Simethicone

เป็นยาที่มีอยู่ภายใต้ชื่อการค้าหลายชื่อ โดยทำงานด้วยการรวบรวมแก๊สในกระเพาะอาหารเพื่อให้ขับออกง่ายขึ้น ควรรับประทานตามคำแนะนำบนฉลากยา และปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาหากคุณกำลังรับประทานยาอื่นหรือกำลังตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

4.Activated charcoal

Activated charcoal เป็นอีกชนิดหนึ่งที่สามารถช่วยกำจัดแก๊สที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ได้ โดยให้รับประทานก่อนรับประทานอาหารและ 1 ชั่วโมงหลังทานอาหาร

5.น้ำส้มสายชูจาก apple cider

ให้เจือจางน้ำส้มสายชูจาก apple cider 1 ช้อนโต๊ะลงในเครื่องดื่มเช่นน้ำเปล่าหรือชาและดื่มก่อนรับประทานอาหารหรือวันละ 3 ครั้งตามต้องการเพื่อลดอาการ

6.การออกกำลักงาย

การออกกำลักงายสามารถปล่อยแก๊สที่สะสมและลดอาการปวดได้ ลองเดินหลังจากรับประทานอาหารเพื่อช่วยป้องกันการเกิดแก๊ส หากมีอาการปวดแน่นท้อง การกระโดดเชื้อ วิ่ง หรือเดินอาจจะช่วยกำจัดแก๊สดังกล่าวได้

7.อาหารเสริมที่มีแลคเตส

น้ำตาลแลคโตสนั้นอยู่ในนม และผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตสนั้นจะไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารเสริมที่มีแลคเตสอาจจะช่วยในการย่อยน้ำตาลแลคโตสได้

8.กานพลู

กานพลูนั้นเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ทำอาหาร และน้ำมันจากกานพลูนั้นอาจจะช่วยลดอาการท้องอืดและแก๊สโดยการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหารได้ ให้ลองผสมน้ำมันจากกานพลู 2-5 หยดในน้ำดื่ม 1 แก้วและดื่มหลังอาหาร

การป้องกันการเกิดแก๊ส

หากคุณไม่ได้มีโรคที่ทำให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานและอาหารที่รับประทานเช่น

  • นั่งระหว่างรับประทานอาหารและทานช้าๆ
  • พยายามอย่ากลืนอากาศเข้าไปมากระหว่างที่กินและพูด
  • หยุดเคี้ยวหมากฝรั่ง
  • หลีกเลี่ยงน้ำอัดสม
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เช่นเดินหลังจากมื้ออาหาร
  • ไม่ทานอาหารที่รู้ว่าจะทำให้เกิดแก๊ส
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มโดยใช้หลอด

สาเหตุ

มีบางโรคที่อาจจะทำให้เกิดแก๊สส่วนเกิน เช่น

สรุป

การมีแก๊สในช่องท้องนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการปวดได้ แต่มักจะไม่ได้เป็นอันตราย หากคุณรู้สึกว่าอาการนี้ส่งผลต่อคุณ ควรสังเกตอาหารที่รับประทานและวิธีการใช้ชีวิตเพื่อดูว่าสามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้าง ในผู้ป่วยส่วนใหญ่การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและอาหารที่รับประทานสามารถกำจัดภาวะนี้ได้ หากคุณมีอาการไม่ดีขึ้นหลังผ่านจากพยายามปรับเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมไปแล้วหลายสัปดาห์ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจว่าอาการนี้เกิดจากโรคอื่นหรือไม่


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Beat the bloat. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/remedies-for-bloating-and-wind/)
IBS Gas Relief: How to Relieve Gas & Bloating. WebMD. (https://www.webmd.com/ibs/ibs-gas#1)
4 Tips for Relieving Intestinal Gas Through Movement. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/tips-for-relieving-intestinal-gas-through-movement-1943039)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด

รวมข้อมูลสารอาหารในอาหารเสริมวิตามินเอ และผลกระทบหากร่างกายขาดวิตามินเอมากเกินไป

อ่านเพิ่ม