ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 2013 องค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ประกาศให้บริษัทผู้จัดจำหน่าย Fahman (Dallas รัฐ Texas), On time Distribution (New York รัฐ New York) และ Best Value Inc. (Detroit รัฐ Michigan) เรียกคืนผงขมิ้นชันยี่ห้อ Pran ซึ่งนำเข้าจากปากีสถาน เนื่องจากพบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในปริมาณสูง ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดปัญหาทางสุขภาพได้
ตามที่ทราบ ผู้ที่มีความเสี่นงสูงสุดต่อปัญหาทางสุขภาพจากตะกั่ว ได้ แก่เด็กทารก เด็กเล็ก และหญิงมีครรภ์ การเรียกคืนผงขมิ้นในปี ค.ศ. 2013 นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความกลัวเรื่องเครื่องเทศที่ปนเปื้อนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประเด็นเรื่องความปลอดภัยอาหารและการควบคุมเครื่องเทศนำเข้า
การค้นพบตะกั่วในผงขมิ้น
การเรียกคืนในปี ค.ศ. 2013 นี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากการสุ่มตรวจของ FDA พบว่า มีสารตะกั่วอยู่ในระดับสูง (48-53 ppm) ในผงขมิ้นยี่ห้อ Pran ในกรณีของอาหาร ppm ย่อมาจาก parts per million และใช้สำหรับวัดความเข้มข้นของสารเคมีหรือสิ่งที่พบในอาหาร โดยมีการตรวจสอบอาหารอย่างสม่ำเสมอโดยการศึกษา Total Diet Study ของ FDA และโปรแกรมตรวจติดตามอื่นๆ
การตรวจสอบเหล่านี้ทำในผลิตภัณฑ์ที่รวมถึงอาหารเด็กอ่อน น้ำผลไม้ ผลไม้กระป๋อง และพืชผัก ทาง FDA รายงานว่า ขมิ้นที่ถูกเรียกคืนกระจายอยู่ในเมือง Dallas รัฐ Texas และหลายเมืองใน New York และ New Jersey และอยู่ในโกดังสินค้าของร้านขายปลีกรอบๆ Hamtramck รัฐ Michigan ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมและเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2013
ประวัติของตะกั่วในผลิตภัณฑ์อาหาร
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทาง FDA ได้รายงานเรื่องการปนเปื้อนของตะกั่วในผลิตภัณฑ์อาหารหลายขนิด ตั้งแต่อาหารเด็กอ่อนจากจีนจนถึงลูกกวาดจากแม็กซิโก จนถึงสินค้ากระป๋อง ทางสหรัฐฯ และ FDA ได้สร้างความก้าวหน้าที่สำคัญในการลดสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์อาหารตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 โดยทาง FDA ได้ทำการสำรวจอยู่เรื่อยๆ ในผลิตภัณฑ์อาหารที่สำคัญที่สุดของแหล่งอาหารของชาวอเมริกัน เพื่อพยายามเพิ่มความปลอดภัยอาหาร
ทางองค์การรายงานว่า ปริมาณตะกั่วที่รับจากอาหารในเด็กเล็กลดลงกว่า 90%ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 ในปี ค.ศ. 1995 ทางสหรัฐอเมริกาสั่งห้ามการใช้ตะกั่วบัดกรีอาหารกระป๋องในสหรัฐฯ ซึ่งลดปริมาณของตะกั่วที่พบในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ลงอย่างมาก แต่ถึงแม้จะมีความก้าวหน้าเหล่านี้ ก็ยังคงมีอาหารบางชนิดโดยเฉพาะที่นำเข้ามาที่ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นพิษจากตะกั่วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงเรื่องขมิ้นชันที่ปนเปื้อนตะกั่วเร็วๆ นี้ด้วย
การพบอาหารที่ปนเปื้อนสารตะกั่วเร็วๆ นี้
อ้างอิงจาก CDC ในปี ค.ศ. 2009 การปนเปื้อนตะกั้วของลูกกวาดจากเม็กซิกันกระตุ้นให้ FDA สร้างแนวทางที่เข้มงวดขึ้นสำหรับผู้ผลิตผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายลูกกวาดนำเข้า ในปัจจุบันนี้ บริษัทผลิตอาหารเด็กอ่อนและน้ำผลไม้หลายๆ บริษัทกำลังเป็นคดีความเนื่องจากการไม่ทำฉลากเตือนที่เหมาะสมสำหรับอาหารที่มีตะกั่วอยู่ด้วย
FDA สรุปว่า แม้อาหารที่มีสารตะกั่วอยู่ในปริมาณน้อยกว่ามาตรฐานของรัฐจะต้องติดฉลากเตือนไว้บนผลิตภัณฑ์ แต่ก็ยังทำให้เกิดความเสี่ยงได้อยู่ดี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารเหล่านี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากคุณค่าทางสารอาหารมีความกังวลว่าการสะสมของตะกั่วในร่างกายอาจส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการในเด็ก เช่น เรื่องความมีสมาธิและ IQ
ความเสี่ยงทางสุขภาพของการมีตะกั่วสะสมในร่างกาย
เมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาทางสุขภาพรวมถึงการพัฒนาช้าทางด้านร่างกายและจิตใจและความบกพร่องในการเรียนเพิ่มขึ้นเมื่อมีตะกั่วสะสมในร่างกาย หญิงตั้งครรภ์ ทารก และเด็กเล็กควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งที่จะหลีกเลี่ยงการได้รับสารตะกั่ว อาการของพิษตะกั่วมักจะไม่เห็นชัดจนกว่าจะสะสมจนมีปริมาณสูงจนเป็นอันตรายแล้ว อาการนั้นหลากหลาย ขึ้นกับว่าใครเป็นผู้ได้รับพิษ
เด็กแรกเกิดจะมีการบกพร่องในการเรียนรู้และโตช้า เด็กจะกระสับกระส่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เหนื่อยเพลีย ปวดท้อง อาเจียน ท้องผูก และการเรียนบกพร่อง แม้ผู้ใหญ่จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก็ต้องระวังอันตรายจากพิษตะกั่วเช่นกัน อาการโดยทั่วไปมีได้ทั้งความดันเลือดสูง โรคทางอารมณ์ ปวดท้อง ความจำเสื่อม ปวดศีรษะ เหนื่อยเพลีย ปวดตามแขนขา การทำงานของจิตลดลง จำนวนอสุจิลดลง และมีอสุจิผิดปกติ ยิ่งไปกว่านั้น
หญิงตั้งครรภ์ยังเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือการคลอดก่อนกำหนดด้วย ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดที่คนสัมผัสกับตะกั่วในระดับที่เป็นพิษ กล้ามเนื้อและระบบประสาทจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม อวัยวะอื่นๆ เช่น ไตจะเสื่อมลม และในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือเกิดความเสียหายต่อสมองอย่างถาวร ผู้ที่กังวลเรื่องพิษตะกั่วควรติดต่อแพทย์หรือคลินิกสุขภาพเพื่อขอตรวจเลือด
ความปลอดภัยของอาหารและเครื่องเทศนำเข้า
โชคร้ายที่การเรียกคืนในปี ค.ศ. 2013 ไม่ได้เป็นกรณีเดียวของเครื่องเทศที่ปนเปื้อนในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากระดับตะกั่วที่ไม่ปลอดภัยแล้ว ทาง FDA ยังได้ระบุสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ในอาหารรวมถึงเชื้อ Salmonella ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ที่ทำให้เกิดนโยบายและขั้นตอนในการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ