ทานปลาดิบ เสี่ยงท้องร่วงท้องเสีย จริงหรือ ?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทานปลาดิบ เสี่ยงท้องร่วงท้องเสีย จริงหรือ ?

สำหรับคออาหารญี่ปุ่น การรับประทานปลาดิบถือว่าเป็นสิ่งคู่กันเลย ถึงแม้ว่าปลาจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็ควรระวังกันบ้างเพราะเคยมีข่าวมาแล้วว่า “รับประทานปลาดิบแล้วท้องร่วง” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นร้านดังหรือร้านธรรมดาก็ควรพิจารณาเลือกก่อนรับประทานกันหน่อย เพื่อสุขภาพของตัวเรานั่นเอง

ทำไมปลาดิบจึงเสี่ยงท้องร่วง

อาหารทะเลสดๆ รวมถึงปลาดิบที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของร้านอาหารญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น ซูชิ ซาชิมิ หรือข้าวหน้าปลาดิบต่างๆ จะไม่มีปัญหาเลยถ้าซื้อมาแบบสด ใหม่ แล้วเก็บรักษาอย่างดีในตู้เก็บความเย็น แต่ถ้าน้ำทะเลมีสารปนเปื้อน น้ำแข็งไม่สะอาด กระบวนการเคลื่อนย้ายจากทะเล การขนส่ง การเก็บรักษา ไม่ได้คุณภาพพอ ทำให้ไม่สด หรือมีแมลงวันตอม ก็จะทำให้อาหารทะเลและปลาดิบนั้นเสื่อมคุณภาพลงจนรับประทานเข้าไปแล้วเกิดอันตรายได้
สาเหตุของอาการท้องร่วง จากอาหารญี่ปุ่นดิบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จากสาเหตุข้างต้นหากอาหารทะเลเหล่านั้นไม่มีคุณภาพ ก็อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียต่างๆเข้าไปอยู่ในอาหารจนทำให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าว ได้แก่

Salmonella

เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้ลำไส้อักเสบได้ ซึ่งมักเจอได้จากอาหารดิบหลายชนิดมาก

Vibrio

เชื้อชนิดนี้มักพบได้ทั้งน้ำทะเลและน้ำกร่อย ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในหอย ที่มีทั้งกลุ่ม Vibrio parahaemolyticus อหิวาห์เทียม และ Vibrio Cholerae อหิวาห์ตกโรค สำหรับอาการจะถ่ายเหลวเป็นน้ำหลายครั้งมาก อาจถึง 10-20 ครั้ง ก็ได้

Hepatitis A หรือ เชื้อตับอักเสบชนิด A

สำหรับเชื้อนี้มักติดต่อได้จากอุจจาระของผู้ที่มีเชื้อ เมื่อเข้าไปทางปากโดยการรับประทานอาหารของคนที่ไม่เคยเป็น ก็จะก่อให้เกิดอาการตับอักเสบ และอาจทำให้ในบางรายรุนแรงจนเสียชีวิตได้

E.Coli

เป็นเชื้อที่มักพบในอุจจาระ ซึ่งในบางสายพันธุ์จะทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงได้

Listeria monocytogenes

สำหรับเชื้อนี้มักพบได้ในอาหารทะเลหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู หรือ ปลา ที่อันตรายจนถึงทำให้ตายได้ในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Staphylococcus aureus

เชื้อนี้มักอยู่ตามผิวหนังของคน ซึ่งหากคนที่ทำอาหารไม่รักษาความสะอาด ไม่ล้างมือไม่สวมเสื้อผ้าที่มิดชิดก็อาจทำให้ปะปนไปในข้าวแล้วเกิดพิษออกมา จนทำให้มีอาการบิด ปวดมวนท้อง อาเจียน หรือท้องเสียได้

พยาธิ

พยาธิมักพบเจอได้ในอาหารดิบ หรือสุกๆดิบๆโดยทั่วไป รวมถึงอาหารทะเลได้เช่นเดียวกัน
ใคร?คือผู้เสี่ยงต่อการท้องร่วงมากว่าคนปกติทั่วไป

คนที่เสี่ยงต่อการท้องร่วง ท้องเสีย

  1. ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคปอด เพราะหากมีอาการป่วยเกิดขึ้นอาจเป็นหนักจนถึงขั้นต้องสอดท่อช่วยหายใจได้
  2. คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีเม็ดเลือดขาวต่ำ อาทิ คนที่เป็นตับแข็ง ไตวาย รูมาตอยด์ หรือคนที่กำลังกินยากดภูมิ คนที่ได้รับยาต้านมะเร็งและรับเคมีบำบัด เป็นต้น

เมื่อท้องร่วง ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

  1. ดื่มน้ำเกลือแร่สำหรับผู้มีอาการท้องเสีย ท้องร่วงโดยเฉพาะ
  2. ควรงดอาหารรสจัดไปก่อน ทั้งเผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด หรือเปรี้ยวจัด
  3. ไม่ควรรับประทานอาหารหมักดองต่างๆ
  4. ถ้ามีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง หรือปวดท้องมาก ควรรีบไปพบแพทย์

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องร่วง

ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่รับประทานอาหารที่มีลักษณะที่ไม่เหมือนปกติ เช่น มีกลิ่นผิดปกติ มีกลิ่นคาวมาก เนื้อเละ ยุ่ย แฉะ อีกทั้งควรรักษาความสะอาดจาน ชาม ช้อน ส้อม และล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหากเป็นผู้ปรุงอาหารเอง ควรแยกมีด เขียงสำหรับหั่นอาหารดิบ และอาหารปรุงสุก แค่นี้การรับประทานอาหารญี่ปุ่นครั้งต่อไปก็ปลอดภัยจากอาการท้องร่วงแล้ว...


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Infectious Diseases Linked to Eating Sushi and Sashimi. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/diseases-associated-with-eating-sushi-1958814)
Fish tapeworm and sushi. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3374688/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป