กินอาหารที่มีเชื้อรา มีผลต่อสุขภาพอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กินอาหารที่มีเชื้อรา มีผลต่อสุขภาพอย่างไร

สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวและมีปริมาณความชื้นสูง เป็นสิ่งที่เชื้อราต้องการเพราะสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะอาหารที่มีเชื้อราและผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด ข้าว พริก และถั่วต่างๆ อีกทั้งเชื้อราจะสร้างสารชีวพิษบางอย่างที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับคนและสัตว์ ซึ่งนับว่าประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีภูมิอากาศเหมาะสม ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วเลยทีเดียว

ผลของการรับประทานอาหารที่มีเชื้อรา

หากผู้บริโภครับประทานอาหารที่มีเชื้อราเข้าสู่ร่างกาย มักจะส่งผลให้มีอาการเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ โดยเราสามารถแยกสารพิษของเชื้อราได้ตามลักษณะของพิษที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • พิษต่อตับ
  • พิษต่อเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน
  • พิษต่อประสาทและระบบกล้ามเนื้อ
  • พิษต่อไต

ก่อให้เกิดโรคได้หลายชนิดอย่างเช่นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน โรคที่มักเกิดกับเด็กคือโรค Reye’s syndrome หรือโรคมะเร็งตับ ซึ่งเกิดจากสารพิษที่ชื่อ “อัลฟาท็อกซิน” เป็นสารพิษที่พบได้ง่ายและมักพบในอาหาร ผลิตผลทางการเกษตร และอาหารที่ทำจากนม

โดยพิษของเชื้อราชนิดนี้จะทนความร้อนได้สูงถึง 250 องศาเซลเซียส ดังนั้นการหุงต้มหรือนึ่งและอบเพื่อฆ่าเชื้ออาจลดสารพิษลงได้บ้าง แต่ยังคงไม่สามารถทำลายพิษได้

ก่อให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบ มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ในไขกระดูกและเซลล์บุเยื่อเมือกของทางเดินอาหาร ในเมืองหนาวมักทำให้เกิดโรค alimentary toxic aleuxia โดยมีผลต่อสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคนี้คืออาการแสบคอ เพดาน หลอดอาหาร ร้อนในปาก ลิ้นพองโตและแข็ง ปวดท้อง อาเจียน ปวดศีรษะ มึนงง และอ่อนเพลีย

เมื่อมีอาการหนักจะทำให้มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากสารพิษที่ชื่อ Trichothecene โดยสามารถถูกดูดซึมได้ทั้งทางเดินหายใจและทางการรับประทานอาหารที่มีเชื้อราชนิดนี้เข้าไป เป็นสารพิษที่ประกอบไปด้วยสารชีวพิษมากกว่า 30 ชนิด มักขึ้นอยู่ในอาหารที่มีเซลลูโลส เช่น ฟาง ข้าวสาลี เศษพืชผัก เศษผ้า หรือเศษกระดาษ

หากได้รับสารพิษจากเชื้อราเหล่านี้เป็นจำนวนมาก จะทำให้มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน ท้องร่วง ชีพจรเต้นช้า หายใจขัด ความดันต่ำ ชัก บางรายมีอาการสั่น ใบหน้ากระตุก ชาที่แขนขา เจ็บหน้าอก เซลล์บริเวณปลายแขนขาตาย และยังสามารถออกฤทธิ์ให้หลอดเลือดแดงเล็กหดเกร็ง

ทั้งนี้เกิดจากสารพิษที่ชื่อ Ergot alkaloids แต่เป็นสารพิษที่ทางการแพทย์รู้จักกันมานาน เนื่องจากสามารถนำมาใช้ในทางสูตินรีเวชกรรมและรักษาโรคไมเกรนได้อีกด้วย โดยเป็นสารพิษที่พบว่าจะติดคนได้น้อยที่สุด เพราะสารพิษนี้จะถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้น้อยด้วยนั่นเอง

ทำลายเซลล์ไต เยื่อบุไตฝ่อและมีพังผืด มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดหลัง ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ไตวายเรื้อรังและหดเล็กลง แล้วเสียชีวิตในที่สุด โดยเกิดจากเชื้อราที่ชื่อ Ochratoxin มักพบในข้าวโพดและข้าวสาลี

 ข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีเชื้อรา

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีลักษณะเหมือนหรือเป็นเชื้อรา เช่น ขนมปังที่แม้ว่าจะมีจุดเล็กๆ ก็ควรทิ้งทันที แต่หากเผลอรับประทานเข้าไปแล้วก็ไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป เพราะถ้ามีจำนวนไม่มากและไม่เกิดอาการแพ้จะไม่เป็นอันตราย
  • รักษาความสะอาดภายในบ้านอยู่เสมอ รวมถึงของใช้ภายในบ้านอย่างเช่นตู้เย็นหรือไมโครเวฟ โดยเฉพาะเครื่องใช้ในครัวที่อาจมีสปอร์ของราเกาะอยู่ก็ได้
  • การเลือกซื้ออาหารที่มีเชื้อราได้ง่าย เช่น หอม กระเทียม เห็ด กุ้งแห้ง หรือพริกแห้ง จะต้องคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน รวมถึงการเก็บรักษาก็ควรผึ่งไว้ในที่แห้ง โดยไม่ให้อยู่ในบริเวณที่อบชื้นอย่างเช่นในถุงพลาสติก เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราและเจริญเติบโตแพร่สปอร์ได้อย่างรวดเร็ว

 ผู้ที่ได้รับสารพิษจากเชื้อรามักเป็นอันตรายต่อสุขภาพจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อราแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง อีกทั้งยังไม่ค่อยมีวิธีรักษาที่ได้ผลดี หากมีอาการเฉียบพลันจึงทำได้แค่เพียงการประคับประคองหรือทำให้อาเจียน เพื่อขับสารพิษออกมาหรือรักษาไปตามลักษณะอาการที่เป็นเท่านั้นเอง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mold in the home: how big a health problem is it?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/288651)
Mold - General Information - Basic Facts. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/mold/faqs.htm)
Mold Danger: Can Mold Cause Lung Cancer?. WebMD. (https://www.webmd.com/lung-cancer/lung-cancer-and-mold)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป