กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Dystonia (กล้ามเนื้อบิดเกร็ง)

เผยแพร่ครั้งแรก 4 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง หรือดิสโทเนีย (Dystonia) จะมีการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อที่ควบคุมไม่ได้ ส่งผลให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายช้าและซ้ำๆ เกิดขึ้น โดยการเคลื่อนไหวนั้นอาจเป็นได้ทั้งแบบร่างกายส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนมีการเคลื่อนไหวแบบกระตุก รวมถึงการแสดงท่าทางที่ผิดปกติ

ส่วนมากแล้ว อาการมักจะเกิดกับศีรษะ คอ ลำตัว และแขนขา แม้ภาวะนี้จะมีอาการไม่รุนแรงมากนัก แต่ก็อาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะดิสโทเนียมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

  1. กล้ามเนื้อบิดเกร็งชนิดเฉพาะที่ (Focal) เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุด เกิดกับส่วนใดส่วนหนึ่งเพียงส่วนเดียวของร่างกาย
  2. กล้ามเนื้อบิดเกร็งชนิดทั่วทั้งร่างกาย (Generalized) เป็นประเภทที่จะทำให้เกิดความผิดปกติตลอดทั้งร่างกาย
  3. กล้ามเนื้อบิดเกร็งชนิดเฉพาะส่วน (Segmental) เป็นชนิดที่ทำให้เกิดความผิดปกติกับส่วนของร่างกายสองส่วนขึ้นไป ซึ่งจะเป็นบริเวณร่างกายที่อยู่ใกล้เคียงกัน

อาการของภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง สามารถเกิดขึ้นกับร่างกายได้หลายวิธี และมีระดับความรุนแรงต่างกัน โดยจะเริ่มขึ้นในตำแหน่งเดียวก่อน เช่น แขน ขา หรือลำคอ บางครั้งอาจพบว่าเกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ระหว่างการเขียนหนังสือ จะเริ่มมีความรุนแรงขึ้นเมื่อเหนื่อย เครียด หรือรู้สึกกังวล โดยความรุนแรงนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลา

ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งแบบรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น

  • ความผิดรูปของร่างกายที่อาจกลายเป็นปัญหาถาวรได้
  • ความพิการทางร่างกายหลากหลายระดับ
  • ความผิดปกติของตำแหน่งศีรษะ
  • ปัญหาการกลืน
  • มีปัญหาการพูด
  • ปัญหาการเคลื่อนไหวของกราม
  • ความเจ็บปวด

สาเหตุการเกิดภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก แต่แพทย์เชื่อว่าอาจมีภาวะทางการแพทย์บางอย่าง รวมถึงพันธุกรรม หรือความเสียหายที่สมอง อาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ขึ้น 

มีภาวะทางการแพทย์หลายชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองและเส้นประสาท ซึ่งแพทย์คาดว่าอาจมีความเกี่ยวพันกับภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง เช่น

  • ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
  • สมองพิการ (Cerebral Palsy)
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
  • โรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease)
  • โรควิลสัน (Wilson’s Disease)
  • วัณโรค (Tuberculosis)
  • การบาดเจ็บที่สมอง
  • ภาวะหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • เนื้องอกที่สมอง (Brain Tumor)
  • การบาดเจ็บที่สมองระหว่างคลอด
  • ได้รับพิษคาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide Poisoning)
  • ได้รับพิษจากโลหะหนัก (Heavy Metal Poisoning)

นอกจากนี้ แพทย์ยังคาดว่ามีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกอย่างควบคุมไม่ได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาต่อยาจิตเวชบางตัว
  • ภาวะเนื้อเยื่อและอวัยวะขาดออกซิเจน
  • การสืบทอดทางพันธุกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
  • การสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทในสมองถูกรบกวน

การวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง มักเป็นอาการเรื้อรังที่คงอยู่เป็นเวลานาน แพทย์จึงสามารถวินิจฉัยอาการได้ด้วยการตรวจประวัติสุขภาพ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมถึงสอบถามเกี่ยวกับความเครียดต่างๆ ที่เพิ่งผ่านมา จากนั้นจะตรวจสอบไปการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย

ในกรณีที่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แพทย์อาจพิจารณาให้มีการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • การตรวจเลือดหรือปัสสาวะ
  • การสแกนคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT) Scan)
  • การคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
  • การวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyogram: EMG)
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมอง (Electroencephalogram: EEG)
  • การเจาะกรวดน้ำไขสันหลัง (Spinal Tap)
  • การทดสอบพันธุกรรม

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง แต่ก็มียาบางตัวที่สามารถควบคุมอาการนี้ได้ เช่น

    • การฉีดสารพิษโบทูลินัมชนิด A การฉีดโบท็อกซ์ (Botox Injections) เข้ากลุ่มของกล้ามเนื้อที่มีอาการ จะสามารถบรรเทาอาการกล้ามเนื้อบีบรัดได้ แต่ต้องฉีดสารนี้ทุกๆ 3 เดือน และอาจมีผลข้างเคียงบางอย่างจากสารพิษชนิดนี้อยู่บ้าง เช่น เหนื่อยง่าย ปากแห้ง และทำให้เสียงเปลี่ยน
    • ยารับประทาน ยาที่ส่งผลต่อสารสื่อประสาทที่เรียกว่า Dopamine มีฤทธิ์ควบคุมตำแหน่งของสมองที่ควบคุมความพึงพอใจและการเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยลดอาการกล้ามเนื้อบีบรัดตัวได้
    • การรักษาทางเลือก แม้งานวิจัยที่เกี่ยวกับการรักษาทางเลือกสำหรับภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งจะมีน้อยมากๆ แต่ผู้ป่วยบางรายก็รู้สึกว่าการบำบัดเหล่านั้นสามารถบรรเทาอาการได้จริง เช่น
      • การฝังเข็ม วิธีบำบัดโบราณที่ใช้เข็มขนาดเล็กแทงเข้าไปตามจุดต่างๆ ของร่างกายเพื่อบรรเทาอาการปวด
      • โยคะ การบริหารที่ผสมผสานระหว่างการเคลื่อนไหวยืดตัวช้าๆ กับการหายใจเข้าลึกๆ และการทำสมาธิ
      • ไบโอฟีตแบ็ค จะมีการติดเซนเซอร์ไฟฟ้าเพื่อดูการทำงานของร่างกายเพื่อช่วยควบคุมแรงตึงของกล้ามเนื้อกับความดันโลหิตที่เหมาะสม

    4 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    nhs.uk, Dystonia (https://www.nhs.uk/conditions/dystonia/), 23 March 2018
    medlineplus, Dystonia (https://medlineplus.gov/dystonia.html)
    Alana Biggers, M.D., MPH, What you need to know about dystonia (https://www.medicalnewstoday.com/articles/171354.php), January 4, 2018

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

    ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
    ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
    คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
    ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
    คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
    การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
    คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
    มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
    คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
    อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
    คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)