ยา Cefazolin

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Cefazolin

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Cefazolin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Cefazol, Cefazolin Meiji, Fazolin, Cefazillin, Cefzolin, Zefa M H

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Cefazolin

เซฟาโซลิน (cefazolin) เป็นยากลุ่มยาปฏิชีวนะ ยาสำหรับฉีด ประกอบด้วยเซฟาโซลิน ความเข้มข้น 1 กรัม ต่อไวอัล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Cefazolin

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เซฟาโซลินจับกับโปรตีน penicillin-binding protein (PBPs) ซึ่งจะยับยั้งกระบวนการ transpeptidation ในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสังเคราะห์เปปทิโดไกลแคนในการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย นอกจากนี้เซฟาโซลินยังยับยั้งกระบวนการชีวสังเคราะห์และยับยั้งการประกอบโครงสร้างผนังเซลล์ นำไปสู่การตายของแบคทีเรีย

ข้อบ่งใช้ของยา Cefazolin

ยาเซฟาโซลิน ชนิดยาฉีด สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาการติดเชื้อ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 250-500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง ความรุนแรงระดับปานกลางถึงรุนแรง ขนาด 500-1000 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ความรุนแรงระดับรุนแรง ไปจนถึงถึงแก่ชีวิต ขนาด 1000-1500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 1200 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน แบบเฉียบพลัน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 1000 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 1200 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาปอดบวม ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 1200 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัด ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 1000 มิลลิกรัม 30-60 นาทีก่อนเข้ารับการผ่าตัด ตามด้วยขนาด 500-1000 มิลลิกรัม ระหว่างการผ่าตัด หลังจากนั้นขนาด 500-1000 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมงหลังจากการผ่าตัดเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหรือให้ยาได้อีกถึง 5 วัน

ข้อควรระวังของการใช้ยา Cefazolin

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยานี้ หรือยากลุ่มเซฟาโลสปอรินส์ (cephalosporins)
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติของโรคในระบบทางเดินอาหาร
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ยาในกลุ่มเพนิซิลลิน (penicilins)
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อรักษาการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Cefazolin

อาจก่อให้เกิดผื่นแดง ท้องเสีย eosinophil ในเลือดสูง ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ ท้องเสียจากการติดเชื้อ clostridium difficile (CDAD) การแพ้ยาแบบ Stevens-Johnson syndrome การเกิดanaphylaxis กลุ่มอาการทางสมอง อาการชัก ไตวาย

ข้อมูลการใช้ยา Cefazolin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือ ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Cefazolin

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด ยาฉีดในรูปแบบ premixed เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cefazolin (Ancef & Kefzol) - Side Effects, Dosage, Interactions. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/drugs/cefazolin)
Cefazolin (injection) Uses, Side Effects & Warnings. Drugs.com. (https://www.drugs.com/mtm/cefazolin-injection.html)
Cefazolin: Indications, Side Effects, Warnings. Drugs.com. (https://www.drugs.com/cdi/cefazolin.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม