ใครหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าน้ำหนักตัวมีผลกับการคุมกำเนิด
ในอดีต ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์จะมีความกังวลกันว่าน้ำหนักอาจเป็นอุปสรรคของการคุมกำเนิด เช่น หากใช้แล้วจะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้อยกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ หรือจะทำให้เกิดผลข้างเคียง หรือความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายมากขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
นักวิจัยจึงไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลกระทบจากการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่าง ๆ ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) เกินเกณฑ์ปกติ เพื่อจะได้ให้คำแนะนำการใช้วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมได้
เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการเลือกวิธีคุมกำเนิด (Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use) ฉบับปรับปรุงปี 2017 ที่เผยแพร่โดยกองควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) จึงแนะนำการเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) > 30 kg/m2 ดังนี้
ประเภท |
ชนิดหุ้ม
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท กด
(Cu-IUD) | ห่วงอนามัย ชนิดเคลือบ ฮอร์โมน (LNG-IUD) | ยาฝัง
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท กด
คุมกำเนิด (Implant) | ยาฉีด คุมกำเนิด ชนิด 3 เดือน (DMPA) | ยาเม็ด สูตรฮอร์โมน (POP) | ยาคุมฮอร์โมน รวมทุกชนิด (CHC) |
อายุ 18 ปีขึ้นไป และมี BMI > 30 kg/m2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 2 |
มีประจำเดือนแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง 18 ปี และมี BMI > 30 kg/m2 | 1 | 1 | 1 | 2 | 1 | 2 |
หมายเหตุ : ความหมายของการแบ่งประเภทการใช้ | ||
ประเภท | ความหมาย | ข้อสรุป |
U.S. MEC 1 | ไม่มีข้อจำกัดในการคุมกำเนิด สามารถใช้วิธีนี้ได้ | ใช้ได้ ไม่มีข้อจำกัด |
U.S. MEC 2 | มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี แต่โดยทั่วไปถือว่าประโยชน์ที่จะได้รับมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น | ใช้ได้ แต่ควรมีการ ตรวจติดตามผล |
U.S. MEC 3 | มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี และไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ | ควรหลีกเลี่ยงการใช้ เว้นแต่ไม่มีทางเลือกอื่น |
U.S. MEC 4 | มีความเสี่ยงต่อสุขภาพซึ่งยอมรับไม่ได้ | ห้ามใช้โดยเด็ดขาด |
จากข้อมูลดังกล่าว จึงเป็นการพิสูจน์ว่าน้ำหนักตัวไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับการคุมกำเนิด และสามารถใช้วิธีคุมกำเนิดแบบไหนก็ได้
ข้อแนะนำในการเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าเกณฑ์
1.การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Hormonal Contraceptives: CHCs)
ซึ่งได้แก่
- ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive: COC)
- แผ่นแปะคุมกำเนิด (Combined Contraceptive Patch: P)
- วงแหวนคุมกำเนิด (Combined Contraceptive Vaginal Ring: CVR)
- ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Injectable Contraceptive: CIC) จะต้องฉีดทุก 1 เดือน
ทั้งหมดนี้ถือเป็นวิธีคุมกำเนิดที่สามารถใช้ได้สำหรับผู้ที่มี BMI ตั้งแต่ 30 kg/m2 ขึ้นไป (MEC = 2) โดยไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองน้ำหนักตัวก่อนเริ่มใช้ยา
อย่างไรก็ตาม คุณควรมีการเก็บข้อมูลของน้ำหนักตัวก่อนเริ่มใช้ยา เพื่อติดตามต่อภายหลังว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่อาจเป็นผลจากการใช้ยาหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกหลังใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมและวงแหวนคุมกำเนิด ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีทำให้ผู้ใช้ทุกรายมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ไม่เฉพาะแต่ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเท่านั้น
นอกจากนี้ การใช้ฮอร์โมนรวมเพื่อการคุมกำเนิดในผู้ที่มี BMI > 30 kg/m2 มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous thromboembolism: VTE) หรือโรคลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด (pulmonary embolism: PE) ได้มากกว่าผู้ที่ไม่ใช้ ดังนั้นควรต้องพิจารณาว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ก่อนเริ่มใช้ยา
เนื่องจากผู้ที่มีน้ำหนักเกินมักมีความเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ไขมันในเลือดสูง หากมีปัจจัยเหล่านี้ร่วมด้วยควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเลือกชนิดของยาคุมกำเนิดที่เหมาะสม
2.การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว และห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง
วิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่มี BMI > 30 kg/m2 (MEC = 1) แนะนำให้ใช้ยาประเภทดังต่อไปนี้
- เม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว (Progestogen-Only Pill หรือ POP)
- ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว (Depot medroxyprogesterone acetate: DMPA และ Norethisterone Enanthate หรือ NET-EN)
- ยาฝังคุมกำเนิด (Implant), ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมน (Levonorgestrel Intrauterine device หรือ LNG-IUD)
- ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (Copper Intrauterine device หรือ Cu-IUD)
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการใช้ ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว (DMPA) อาจทำให้สูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูกในระหว่างที่ใช้ยาได้ ดังนั้นกรณีที่จะใช้กับผู้ที่มีอายุไม่ถึง 18 ปี จึงถือว่ามีข้อจำกัด (MEC = 2) แต่ก็ยังสามารถใช้ได้ เพราะมีประโยชน์ในการคุมกำเนิดมากและยังมีความเสี่ยงที่ไม่รุนแรง อีกทั้งมวลกระดูกที่ลดลงระหว่างใช้ยาจะสามารถเพิ่มกลับมาเป็นปกติได้หลังหยุดใช้ยาด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ DMPA ในวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกิน อาจมีผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้อีก
ข้อควรระวัง
แม้หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการเลือกวิธีคุมกำเนิดจะแนะนำว่า ผู้ที่มี BMI > 30 kg/m2 สามารถใช้วิธีคุมกำเนิดใด ๆ ก็ได้ โดยให้ผลในการคุมกำเนิดไม่แตกต่างจากผู้ที่มี BMI ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีบางการศึกษาที่รายงานถึงความผิดพลาดในการคุมกำเนิด ซึ่งอาจนำมาเป็นข้อพิจารณาและข้อควรระวังเพิ่มเติม ดังนี้
- คนอ้วนที่รับประทานยาคุมซึ่งมีปริมาณเอสโตรเจสต่ำ อาจไม่สามารถยับยั้งการตกไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังทำให้เสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น ผู้ที่มี BMI สูงกว่าเกณฑ์ปกติ (> 25 kg/m2) ที่ต้องการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ขอแนะนำให้ใช้ยาคุมที่มีปริมาณเอสโตรเจนต่อเม็ดไม่ต่ำกว่า 30 – 35 ไมโครกรัม
- ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 80 กิโลกรัมขึ้นไป หากใช้ยาฝังคุมกำเนิดยี่ห้อจาเดลล์ (ยาฝังคุมกำเนิดชนิด 2 หลอด ซึ่งมีผลคุมกำเนิดได้นาน 5 ปี) จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นเป็น 6% สำหรับการใช้ในปีที่ 5 องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ถอดจาเดลล์ออกเมื่อใช้ครบ 4 ปี
- ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม มีความเสี่ยงที่การคุมกำเนิดจะล้มเหลวเมื่อใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด ดังนั้นควรพิจารณาการใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นแทน