กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Lermera (เลอร์เมร่า)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ยาคุมกำเนิดเลอร์เมร่า (Lermera ®) เป็นยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนรวม 2 ชนิด ได้แก่ Ethinyl Estradiol ขนาด 0.03 มิลลิกรัม และ Levonorgestrel ขนาด 0.15 มิลลิกรัม ใน 1 แผงประกอบด้วยเม็ดยา 21 เม็ด

เพื่อความเข้าใจว่ายาคุมชนิดนี้แตกต่างกับยาคุมชนิดอื่น และเหมาะสมกับผู้ใช้ในกลุ่มใดนั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงส่วนประกอบในเม็ดยาเสียก่อน โดยปกติแล้ว ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม จะประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ฮอร์โมนกลุ่มเอสโตรเจน (Estrogen) 

ได้แก่ เอธินิล เอสตราไดออล (Ethinyl Estradiol หรือ EE) และ เมสทรานอล (Mestranol) โดยทั่วไปในยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมมักจะใช้ Ethinyl Estradiol เป็นส่วนประกอบโดยมีขนาดตั้งแต่ 0.02 – 0.05 มิลลิกรัม ฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการ ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก บวมน้ำ (เรียกฤทธิ์เหล่านี้โดยรวมว่า Estrogenic Effect) โดยฤทธิ์ที่เกิดจะขึ้นอยู่กับปริมาณของ Ethinyl Estradiol ยิ่งยามีปริมาณของ Ethinyl Estradiol มาก ทำให้เกิด Estrogenic Effect ได้มากขึ้น ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมในรุ่นหลังจึงมีการใช้ Ethinyl Estradiol ไม่เกิน 0.03 มิลลิกรัม เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว

ฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสติน (Progestin) 

เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือนโพรเจสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นตามธรมชาติ มีคุณสมบัติในการยับยั้งการตกไข่ โปรเจสตินที่ใช้ในยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมมีหลายรุ่น คือ

  1. โปรเจสตินรุ่นที่ 1 ได้แก่ นอร์อีธินโดรน (Norethindrone) เอธิโนไดออล ไดอะซิเตท (Ethynodiol diacetate) นอร์เจสเทรล (Norgestrel) และนอร์อีธินโดรน อะซิเตท (Norethindrone acetate) โปรเจสตินรุ่นแรกเป็นกลุ่มที่ยังมีฤทธิ์ Estrogenic Effect สูง ซึ่งนอกจากฤทธิ์ Estrogenic Effect แล้ว ยังมีฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการขนดก มีสิว ผิวมัน น้ำหนักตัวเพิ่มด้วย (เรียกฤทธิ์เหล่านี้โดยรวมว่า Androgenic Effect) โปรเจสตินกลุ่มที่ 1 จึงเป็นกลุ่มที่มีผลข้างเคียงสูงกว่ากลุ่มอื่น แต่มีราคาถูกว่ากลุ่มอื่น
  2. โปรเจสตินรุ่นที่ 2 ได้แก่ เลโวนอร์เจสเทรล (Levonorgestrel) โปรเจสตินรุ่นนี้เป็นรุ่นพัฒนาที่ไม่มีฤทธิ์ Estrogenic Effect อยู่แล้ว แต่มีฤทธิ์ Androgenic Effect สูงกว่ากลุ่มแรก ทำให้ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้อาจพบผลข้างเคียง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก บวมน้ำ ได้น้อยกว่ารุ่นแรก แต่ก็อาจพบอาการขนดก มีสิว ผิวมัน น้ำหนักตัวเพิ่ม ได้มากกว่ารุ่นแรกด้วยเช่นกัน
  3. โปรเจสตินรุ่นที่ 3 ได้แก่ นอร์เจสทิเมท (Norgestimate) เดโซเจสเทรล (Desogestrel) โปรเจสตินพัฒนารุ่นที่ 3 เป็นรุ่นที่ลดฤทธิ์ Estrogenic Effect และ Androgenic Effect ให้น้อยลง ผลข้างเคียงจึงน้อยกว่าสองรุ่นแรก
  4. โปรเจสตินรุ่นที่ 4 ได้แก่ โดรสไพรีโนน (Drospirenone) เป็นรุ่นพัฒนาสูงสุดของโปรเจสติน มีคุณสมบัติเด่นคือไม่มีทั้งฤทธิ์ Estrogenic Effect และ Androgenic Effect ซึ่งนอกจากจะไม่มีฤทธิ์แล้ว ยังมีฤทธิ์ยับยั้ง Androgenic Effect และ Mineralocorticoid ที่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำอีกด้วย เป็นรุ่นที่มีผลข้างเคียงต่ำที่สุดในทั้งสี่รุ่น และเป็นรุ่นที่มีราคาแพงที่สุด

นอกจากโปรเจสตินทั้ง 4 รุ่นแล้ว ยังมีกลุ่มไซโปรเทอโรน อะซิเตท (Cyproterone acetate) มีฤทธิ์ยับยั้ง Androgenic Effect มากกว่า Drospirenone (แต่ไม่ได้ยับยั้ง Mineralocorticoid ที่ทำให้เกิดการบวมน้ำ) ซึ่งคุณสมบัตินี้เอง จึงทำให้มีการนำยาชนิดนี้มาใช้รักษาสิว

ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากชนิดของโปรเจสติน และปริมาณของ Ethinyl Estradiol ในยาคุมกำเนิดเลอร์เมร่าแล้ว ยาคุมกำเนิดนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มรุ่นที่ 2 ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นยาคุมกำเนิดที่อาจพบผลข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก บวมน้ำได้น้อย แต่ก็อาจพบอาการขนดก มีสิว ผิวมัน น้ำหนักตัวเพิ่มได้มากกว่า จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสิว หรือมีผิวมันอยู่แล้ว เพราะอาจทำให้อาการดังกล่าวรุนแรงขึ้น

ยาคุมกำเนิดแต่ละกลุ่มจะต่างกันที่ชนิดของโปรเจสตินและปริมาณของ Ethinyl Estradiol ที่จะส่งผลต่อการเกิดผลข้างเคียง โดยกลุ่มที่มีผลข้างเคียงต่ำก็จะมีราคาที่สูงขึ้นไปด้วย เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่ายาคุมกำเนิดเลอร์เมร่า มีชนิดของโปรเจสตินและปริมาณของ Ethinyl Estradiol ไม่ต่างกันกับยาคุมกำเนิดยี่ห้ออื่นๆ ในรุ่นที่ 2 เช่น Microgynon® 30 Zarine® ซึ่งมีข้อบ่งใช้เพื่อการคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียว ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาสิว

หากรับประทานยาคุมเลอร์เมร่าที่มีโปรเจสตินที่ให้ฤทธิ์ Androgenic Effect สูง ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยา (http://pertento.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_DRUG/SEARCH_DRUG/pop-up_drug.aspx?Newcode_U=U1DR2A1022600004411C), 20 June 2019.
Endocrinology: Adult and Pediatric (Seventh Edition), Chapter 134 (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780323189071001347), 20 June 2019.
MedScape, Oral Contraceptives: Their Mode of Action and Dermatologic Applications (https://www.medscape.com/viewarticle/502371_5), 20 June 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)