การเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่ใช้ยาบางชนิด

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่ใช้ยาบางชนิด

ในอดีต จะมีความกังวลว่ายาหลาย ๆ ชนิด อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ หากมีการใช้ในระหว่างที่คุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนวิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมนะคะ

แต่เมื่อมีการศึกษาวิจัยต่อมาเรื่อย ๆ ก็ทำให้มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และสามารถชี้ชัดได้ว่า ยาใดที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจริง ๆ และไม่เพียงจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนวิธีอื่น ๆ อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยล่าสุด กองควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) ได้จัดทำและเผยแพร่หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการเลือกวิธีคุมกำเนิด (Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use) ฉบับปรับปรุงปี 2017 มีข้อมูลเกี่ยวกับยาที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดวิธีต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ

 

ประเภท

ห่วงอนามัย ชนิดหุ้มทองแดง (Cu-IUD)

ห่วงอนามัย ชนิดเคลือบฮอร์โมน (LNG-IUD)

ยาฝัง

คุมกำเนิด

(Implant)

ยาฉีด

คุมกำเนิด

ชนิด 3 เดือน

(DMPA)

ยาเม็ด

สูตรฮอร์โมน

โปรเจสติน

(POP)

ยาคุมฮอร์โมน

รวมทุกชนิด

(CHC)

ยาต้านไวรัส

Fosamprenavir (FPV)

1/2*

1*

1/2*

1*

2*

2*

2*

3*

All other ARV’s

1/1*/2*

ยาต้านจุลชีพอื่น ๆ

Broad spectrum antibiotics

1

1

1

1

1

1

Antifungals

1

1

1

1

1

1

Antiparasitics

1

1

1

1

1

1

Rifampin, Rifabutin

1

1

2*

1*

3*

3*

ยากันชัก

Phenytoin, Carbamazepine, Barbiturates, Primidone, Topiramate, Oxcarbazepine

1

1

2*

1*

3*

3*

Lamotrigine

1

1

1

1

1

3*

ยาต้านซึมเศร้า

SSRIs

1

1

1

1

1

1

สมุนไพร

St. John’s wort

1

1

2

1

2

2

หมายเหตุ : ความหมายของการแบ่งประเภทการใช้

ประเภท

นิยาม

ข้อสรุป

U.S. MEC 1

ไม่มีข้อจำกัด (สามารถใช้วิธีนี้ได้)

ใช้ได้ ไม่มีข้อจำกัด

U.S. MEC 2

มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง แต่โดยทั่วไป ถือว่าประโยชน์ที่จะได้รับมีเหนือกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ใช้ได้ แต่ควรมีการ

ตรวจติดตามผล

U.S. MEC 3

มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง และไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้

ควรหลีกเลี่ยงการใช้

เว้นแต่ไม่มีทางเลือกอื่น

U.S. MEC 4

มีความเสี่ยงต่อสุขภาพซึ่งยอมรับไม่ได้ (ใช้วิธีนี้ไม่ได้)

ห้ามใช้โดยเด็ดขาด

จะเห็นได้ว่า ยาหลาย ๆ ชนิดที่เคยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาคุมกำเนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะชนิดที่ออกฤทธิ์กว้าง ได้แก่ Ampicillin Amoxycillin Tetracycline Sulfamethoxazole, ยาฆ่าเชื้อรา Griseofulvin, ยาต้านปรสิต Metronidazole ไม่ได้มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดดังที่เคยกังวล และสามารถใช้ร่วมกันได้นะคะ

โดยข้อมูลในปัจจุบัน ตามแนวทางที่เผยแพร่ล่าสุดชี้ว่า มีเฉพาะยาบางตัวในกลุ่มยาต้านไวรัสเอดส์, ยารักษาวัณโรค, ยากันชัก และสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ตเท่านั้น ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการคุมกำเนิด แต่ในบางกรณี ก็สามารถใช้ร่วมกันได้หากจำเป็นค่ะ 

แนวทางแก้ไข หากจำเป็นต้องใช้ยาที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด

พิจารณาเฉพาะยาที่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนี้ค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ยาต้านไวรัสเอดส์ 

มีเฉพาะ Fosamprenavir (FPV) เท่านั้นที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการใช้ยาตัวนี้ในประเทศไทยค่ะ 
ส่วนการคุมกำเนิดในผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ตัวอื่น ๆ จะจัดอยู่ในระดับไม่มีข้อจำกัดการใช้ (U.S. MEC 1) หรือใช้ได้ หากจำเป็น (U.S. MEC 2) จึงสามารถใช้ได้ตามที่ต้องการค่ะ แต่หากต้องการทราบข้อมูลโดยละเอียดของยาแต่ละตัว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรในทีมดูแลนะคะ เพราะข้อมูลมีเยอะมากจริง ๆ ค่ะ (หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ดิฉันขี้เกียจพิมพ์นั่นเอง ฮ่า)

2. ยารักษาวัณโรค (Rifampin)

หลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมทุกชนิดในระหว่างที่ใช้ยา Rifampin ค่ะ (U.S. MEC 3) แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

  • ควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีปริมาณ Ethinylestradiol อย่างน้อย 30 ไมโครกรัม/เม็ด 
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว อาจลดประสิทธิภาพได้หากใช้ร่วมกับ Rifampin (U.S. MEC 3) ซึ่งการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ ดังนั้น แนะนำให้เลือกใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นแทนค่ะ 
  • ยาฝังคุมกำเนิด สามารถใช้ได้หากจำเป็น (U.S. MEC 2)
  • ส่วนยาคุมชนิดที่ฉีดทุก 3 เดือน และห่วงอนามัย ไม่มีข้อจำกัดการใช้นะคะ (U.S. MEC 1)

3. ยากันชัก (Phenytoin, Carbamazepine, Barbiturates, Topiramate, Oxcarbazepine, Lamotrigine)

  • ยา Phenytoin, Carbamazepine, Barbiturates, Topiramate และ Oxcarbazepine ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเช่นเดียวกันกับยา Rifampin 
  • ส่วน Lamotrigine ให้หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม, แผ่นแปะคุมกำเนิด และยาฉีดคุมกำเนิดชนิดที่ฉีดทุก 1 เดือน เพราะยาคุมจะทำให้ระดับยาในเลือดของ Lamotrigine ลดต่ำลงมาก จนควบคุมอาการชักไม่ได้ค่ะ (U.S. MEC 3) 

สิ่งที่กล่าวมา ดิฉันอ้างอิงจากแนวทางของ U.S. CDC ปี ค.ศ.2016 – 2017 นะคะ ซึ่งมีรายละเอียดหลายอย่างเปลี่ยนไปจากในอดีต (แค่เทียบกับปี ค.ศ.2015 ข้อมูลบางอย่างก็ต่างกันแล้วค่ะ)

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังคงทำการศึกษาอยู่เรื่อย ๆ การค้นพบใหม่ ๆ ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ความรู้จึงไม่เคยที่จะหยุดนิ่ง ดังนั้น ในอนาคต แนวทางการเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดในผู้ที่ใช้ยาบางชนิด ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ได้นะคะ ต้องก้าวให้ทันโลกค่ะ คิดซะว่าไอโฟนขยันออกรุ่นใหม่รวดเร็วฉันท์ใด การค้นพบข้อมูลทางยาก็ปรับเปลี่ยนได้เร็วฉันท์นั้นล่ะค่ะ (ฮ่า)


แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Which method of contraception suits me?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/which-method-suits-me/)
Contraceptive use and method choice among women with opioid and other substance use disorders: A systematic review. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4842019/)
How to Choose Birth Control: Effectiveness, Costs, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/birth-control/choosing-method)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาคุมที่ใช้แทนกันได้
ยาคุมที่ใช้แทนกันได้

ยาเม็ดคุมกำเนิดสูตรเดียวกัน มียี่ห้อใดบ้าง

อ่านเพิ่ม