ตรวจเลือดบอกประโยชน์

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ตรวจเลือดบอกประโยชน์

1. Ovalocyte

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบว่าเม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติเป็น รูปทรงวงกลมรี บ้างหรือไม่

Oval = วงรี
Cyte = เซลล์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำอธิบายอย่างสรุป

  • เม็ดเลือดแดงที่เป็นปกติจะต้องมีลักษณะกลมเหมือนจานกลมแบนๆ ส่วนตรงกลางเว้าทั้งสองหน้า (biconcave disk) แต่สำหรับเม็ดเลือดแดงของบางท่านที่มีรูปร่างผิดปกติซึ่งอาจมีลักษณะไม่กลมแต่กลายเป็นรูปทรงรี (ผิดไปจากทรงกลม) และอาจผิดมากไปจนกลายเป็นคล้าน ลูกรักบี้หรือลูกหนำเลี้ยบ เซลล์เม็ดเลือดแดงชนิดนี้จึงถูกอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "elliptocyte" (ellipt = โค้งวงรี, cyte = เซลล์)
  • Ovalocyte มากเกิดจากเหตุกรรมพันธุ์และอาจนำไปสู่โอกาสที่จะเกิดโรคโลหิตจาง

2. Tear drop cell

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบว่าเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างเหมือน หยดน้ำตา ออกมาปะปนกับเม็ดเลือดแดงปกติบ้างหรือไม่

คำอธิบายอย่างสรุป

  • บางตำราหรือบางคลินิกก็เรียกว่า "Dacryocyte"
    Dacry  = [กรีก] น้ำตา
    Cyte  = เซลล์
  • Tear drop cell มักจะออกมาปะปนกับ Ovalocyte กล่าวคือเป็นกลุ่มเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างค่อนข้างไปทางยาวออกทางนี้ยากที่จะกลับคืนมาเป็นเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างกลมแบนตามปกติได้อีก

การตรวจพบ Tear drop cell ทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจกำลังเกิดโรคหรือเหตุสำคัญบางประการเช่น

  • อาจเกิดสภาวะพังผืดเกาะไขกระดูก (bone marrow fibrosis)
  • อาจเกิดโรคโลหิตจางเพราะเม็ดเลือดโต (megaloblastic anemia)
  • อาจขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือกรดฟอลิก
  • อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดธาราสซีเมีย (thalassemia)

3. Burr cell

วัตถุประสงค์

            เพื่อจะทราบว่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มี ผิวขรุขระเป็นหนามแหลม ว่ามีมากน้อยเพียงใด?

คำอธิบายอย่างสรุป

                1. มีศัพท์อย่างอื่นที่เรียกแทนกันได้ เช่น "echinocyte" หรือ "crenated cell" ทุกคำมีความหมายว่ามีหนามแหลมตามผิวด้วยรอบเซลล์เม็ดเลือดแดง

                2. หากตรวจพบว่าในจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมี Burr cell เป็น จำนวนมากกว่าสันนิษฐานว่าอาจกำลังเกิดสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น

                                ก. เลือดอาจเป็นพิษเพราะเกิดโรคไตบกพร่อง (uremia)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

                                ข. ร่างกายอาจถูกไฟลวกอย่างรุนแรง

                                ค. อาจมีโรคตับร้ายแรง

4. Schistocyte

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบว่าเม็ดเลือดที่ แตกหัก หรือ ฉีกขาด มีจำนวนมากน้อยเพียงใด?

Schisto (กรีก) = divided (แบ่ง)
= split (แยก)
Cyte = เซลล์

คำอธิบายอย่างสรุป

  • ในกรณีหลอดเลือดแดงมีขนาดเล็กเพราะความชำรุดจนผนังมีความขรุขระอันเป็นเหตุให้อาจทำลายต่อเม็ดเลือดแดงให้ต้องถูกตัด หรือถูกเฉือน ให้แยกจากกันเกิดเป็นเศษของเม็ดเลือดแดงอย่างนี้ท่านผู้รู้บางท่านก็เรียกว่า "bite cell" (เซลล์ที่ถูกกัด)
  • ศษชิ้นเล็กชิ้นน้อย (fragments) ของเม็ดเลือดแดงนอกจากจะไม่มีประโยชน์เพราะขาดคุณสมบัติในการขนส่งออกซิเจนแล้วก็ยังอาจไปจับตัวกันเองทำให้มีสภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไปภายในหลอดเลือดที่เรียกว่าสภาวะ DIC (disseminated intravascular coagulation) จนทำให้หลอดเลือดอาจเกิดการอุดตันขึ้นได้

5. Spherocyte

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบว่าในกระแสเลือดมีเม็ดเลือดแดงที่มีรูปพรรณสัณฐานเป็น ทรงกลม อยู่บ้างหรือไม่?

  • Sphere = ทรงกลม
  •  Cyte = เซลล์

คำอธิบายยังสรุป

  • ลักษณะรูปร่างของเม็ดเลือดแดงที่ปกตินั้น จะมีลักษณะเป็นจานกลมแบน ตรงกลางจานจะเว้าเข้าข้างในทั้งสองด้าน (biconcave disk) ทั้งนี้เพื่อให้มีอัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรของเม็ดเลือดแดงมีค่าสูงสุด แต่ในกรณีของผู้ที่มีเม็ดเลือดแดงซึ่งมีรูปร่างเป็นทรงกลม (sphereocyte) เหมือนลูกปิงปองจึงย่อมทำให้อัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรของเม็ดเลือดแดงตารางเมตรมีค่าน้อยกว่าค่าของเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างปกติโดยเหตุนี้จึงย่อมลำเลียงออกซิเจนได้น้อยกว่านั้นคือการแสดงสภาวะโรคโลหิตจาง
  • ในกรณีของผู้ที่มีเม็ดเลือดแดงเป็นรูปทรงกลมนั้น มันจะมีสภาวะที่เลวร้ายมากยิ่งขึ้นตรงที่เม็ดเลือดแดงทรงกลมนั้นก็ยังอาจมีหลายขนาด จึงยิ่งทำให้เซลล์ทั่วไปของอวัยวะอื่นในตัวเจ้าของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอมากยิ่งขึ้นจึงอาจเกิดอาการตัวซีด ตาเหลือง

สาเหตุ

สาเหตุสำคัญเท่าที่ทราบกันในปัจจุบันว่า เม็ดเลือดแดง ที่มีรูปร่างผิดปกติกลายเป็นทรงกลมไปได้นั้นก็เพราะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อาจสืบเนื่องมาจากกรรมพันธุ์
  • อาจเกิดในคนที่เคยดื่มเหล้าอย่างหนักติดต่อกันมานานจนติดถึงระดับที่นับได้ว่าเป็นสภาวะติดแอลกอฮอล์คล้ายยาเสพติด (alcohol abuse) ติดต่อมาจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามหากหยุดการดื่มเหล้าได้โดยเด็ดขาดอย่างกะทันหันแล้วก็ยอมอาจจะเกิดอาการอย่างหนึ่งที่ทางการแพทย์ท่านจะเรียกว่า "Zieve's syndrome" คงจะตรงกับคำในภาษาไทยในทำนองคล้ายๆกับคำว่า "ลงแดง" ก็เห็นจะได้

สภาวะ "ซีพส์ ซินโดรม" อาจจะก่อให้เกิดสถานการณ์ที่เป็นอันตรายดังนี้

  • อาจทำให้ไขมันในหลอดเลือดเพิ่มค่าสูงขึ้นมากทุกตัว (hyperlipoproteinaemia) ทั้งนี้ย่อมเป็นอันตรายต่อหัวใจและสมองอย่างร้ายแรงได้
  • อาจเกิดสภาวะดีซ่าน (jaundice) จากเหตุเพราะตับชำรุดบกพร่อง
  • อาจเกิดการปวดช่องท้อง (abdominal pain)
  • โดยประการสำคัญที่สุดก็คืออาจเกิดสภาวะเม็ดเลือดแดงถูกแปลรูปร่างไปเป็นทรงกลมนั่นคือ "spherocyte" อันเป็นโรคโลหิตจางที่มีชื่อเรียกในทางการแพทย์ว่า "hemolytic anemia" (โรคโลหิตจาง ชนิดเม็ดเลือดแดงแตกโดยง่าย)

หลีกเลี่ยงการเกิดสภาวะซีพส์ ซินโดรม

  • ไม่ดื่มเหล้าเลย หรือ ไม่ดื่มประจำหรือ 
  • หากดื่มจนติด ก็ไม่ควรหยุดอย่างกะทันหันแต่ควรค่อยๆ ลดปริมาณลงเพื่อให้ร่างกายปรับตัวได้ทัน

วัตถุประสงค์

เพื่อทราบจำนวน เกล็ดเลือด (บางตำราก็เรียก แผ่นเลือด) ว่ามีจำนวนกี่เซลล์ต่อ 1 ลิตร (L) ของน้ำเลือด เนื่องจากมากไปก็อาจเกิดโทษ แต่น้อยไปก็อันตราย

คำอธิบายอย่างสรุป

                1. เกล็ดเลือด (platelet) เป็นเซลล์เลือดที่มีศัพท์แพทย์เรียกเป็นทางการอีกชื่อหนึ่งว่า “thrombocyte” มีต้นกำเนิดมาจากไขกระดูกเช่นเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดชนิดอื่น ขณะเมื่อยังเป็นวัยรุ่นจะถูดกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “megakaryocyte” ซึ่งควรอยู่แต่ในไขกระดูก ไม่ควรพบในกระแสเลือด

                                                Thrombos (กรีก)                       =             clump, clot

                                                                                              =             อุดกั้น

                                                Cyte                                       =             เซลล์

                2. เกล็ดเลือดเมื่อโตเต็มที่และออกมาสู่หลอดเลือดแล้วจะมีรูปร่างเป็นแผ่นกลมหรือรีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ไมครอน (แต่ขนาดเม็ดเลือดแดงประมาณ 6.7 ไมครอน) นับว่ามีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของเม็ดเลือดแดงเท่านั้น

                3. เกล็ดเลือดจะไหลวนเวียนอยู่ในกระแสเลือดโดยมีอายุขัยประมาณ 6-11 วัน ภายหลังจากนั้นเกล็ดเลือดรุ่นเก่าก็จะถูกทำลายส่วนใหญ่โดยม้ามและส่วนน้อยโดยตับ

                4. หน้าที่โดยทั่วไปของเกร็ดเลือดได้แก่

                                ก. เมื่อเกิดบาดแผลจะช่วยให้เลือดที่ไหลออกมาเกิดการแข็งตัวอันเป็นการห้ามเลือดไม่ให้ไหลพ้นออกนอกร่างกายมากเกินไป

                                ข. มีหน้าที่กลืนกินสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัสบางชนิด

                                ค. มีหน้าที่เก็บสะสมสารชีวเคมีบางอย่างเช่นฮอร์โมน epinephrine, serotonin และเอนไซม์บางตัว

ค่าปกติ Platelet Count

                1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)

                2. ค่าปกติทั่วไป

หน่วย SI : 150 - 400 x 109 /L

 

หน่วยทั่วไป : 150,000 - 400,000 cells/mm.3

 

ค่า ผิดปกติที่ถือว่าวิกฤติ

<50,000/mm.3 หรือ >1 ล้าน/mm.3

ค่าปกติ

1. ในทางน้อย ย่อมทำให้เมื่อเกิดบาดแผลเลือดอาจจะหยุดช้ากว่าปกติในการนี้ย่อมอาจแสดงผลว่า

  • ได้เกิดสภาวะที่มีศัพท์แพทย์เรียกว่า "thrombocytopenia" หมายถึงสภาวะการมีเกล็ดเลือดน้อยกว่าปกติข้อสันนิษฐานชั้นต้นอาจเกิดจากโรคของไขกระดูก
    Throm (กรีก) = clump (จับตัวเป็นก้อน)
    Cyte = เซลล์
    Penia = น้อย
  • อาจเกิดสภาวะม้ามโตกว่าปกติจึงดักจับเก็บทำลายเกล็ดเลือดมากผิดปกติ
  • อาจเกิดการเสียเลือด ณ จุดหนึ่งจุดใดของร่างกาย
  • อาจมีการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคโมหรือวิธีเคมีบำบัด (cancer chemotherapy) ย่อมมีผลเสียหายทำลายต่อไขกระดูกซึ่งมีบทบาทในการผลิตเกล็ดเลือด

2. ในทางมากอาจแสดงผลว่า

  • อาจเกิดโรคมะเร็งเกี่ยวกับไขกระดูกเช่น leukemia, lymphoma
  • อาจเกิดโรคภาวะเม็ดเลือดแดงมากทำให้เกล็ดเลือดต้องพลอยมากไปด้วย
  • อาจขาดธาตุเหล็กทำให้ไขกระดูกต้องเร่งผลิตเม็ดเลือดแดงเพื่อให้การจับออกซิเจนของเลือดมีความพอเพียงแม้เกล็ดเลือดจะมิได้ใช้เหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญแต่เกร็ดเลือดก็ต้องพลอยถูกผลิตออกมามากต่ำเม็ดเลือดแดงไปด้วย

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง (พลเอกประสาร เปรมะสกุล) ได้โดยการซื้อหนังสือ (คู่มือแปลผลการตรวจเลือด)


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blood Test: Erythrocyte Sedimentation Rate (ESR) (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/test-esr.html)
4 important blood tests for women-and what the results mean - Harvard Health (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/4-important-blood-tests-for-women-and-what-the-results-mean)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม