พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
เขียนโดย
พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ประจำเดือนสีดำ ทำอย่างไรดี?

ประจำเดือนสีดำบอกถึงอาการผิดปกติใดไหม มีอาการใดควรสังเกตเพิ่มเติมบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประจำเดือนสีดำ ทำอย่างไรดี?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ประจำเดือนสีดำ มีสาเหตุมาจากเลือดที่ข้างอยู่ในโพรงมดลูกไปสัมผัสกับอากาศจนเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน
  • หากมีประจำเดือนสีดำร่วมกับมีประจำเดือนมามากผิดปกติ นั่นอาจหมายถึงฮอร์โมนที่ทำงานผิดปกติ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน และหากเสียเลือดมากไป ก็อาจทำให้ขาดธาตุเหล็กได้
  • หากประจำเดือนสีดำมาในปริมาณน้อยมาก ก็อาจเป็นสัญญาณของเยื่อบุมดลูกเจริญผิด หรือมีถุงน้ำในรังไข่ที่ได้
  • หากคลำพบก้อนเนื้อ หรือท้องน้อยโตขึ้น ร่วมกับมีประจำเดือนสีดำ นั่นอาจเป็นสัญญาณของเนื้องอก หรือมะเร็งรังไข่ได้ ซึ่งจะต้องรีบไปเข้ารับการตรวจทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

ประจำเดือนที่มีลักษณะปกติจะเป็นสีแดง แต่ขณะเดียวกันหากมันเกิดการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติภายในมดลูก สีประจำเดือนก็สามารถเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยผู้หญิงหลายคนอาจเคยเผชิญประจำเดือนสีแดงสด สีแดงเข้ม รวมไปถึงประจำเดือนสีดำมาก่อน

ความหมายของประจำเดือนสีดำ 

ประจำเดือนสีดำ คือ เลือดที่ค้างอยู่ในโพรงมดลูกมีการสัมผัสกับอากาศจนเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เมื่อออกมาจึงเห็นเป็นสีดำ สีคล้ำ ซึ่งเป็นภาวะปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ มักพบในช่วงวันแรกๆ หรือช่วงวันท้ายๆ ของการมีประจำเดือน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงทุกคนไม่ควรละเลยการสังเกตสีของประจำเดือน เพราะบางครั้งการที่ประจำเดือนสีเข้ม ดำ คล้ำ อาจบ่งบอกถึงการมีพยาธิสภาพในโพรงมดลูกจนเกิดการขัดขวางการไหลของประจำเดือน แล้วทำให้เลือดมีสีดำ 

อาการอื่นๆ ที่อาจมาพร้อมกับประจำเดือนสีดำ

  1. ประจำเดือนมาน้อย ประกอบกับมีอาการปวดท้องประจำเดือน โดยอาจเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวน้อย ขาดสารอาหาร ความเครียด โรคไทรอยด์ การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นเวลานาน หรือการมีพยาธิสภาพในมดลูก เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ถุงน้ำในรังไข่ จนทำให้ประจำเดือนผิดปกติ

    อย่างไรก็ตามหากอยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน (วัยทอง) ก็อาจมีประจำเดือนสีดำ คล้ำ ประจำเดือนมาน้อยได้

  2. ประจำเดือนมามากจนล้นผ้าอนามัย ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือประจำเดือนมานานมากกว่า 1 สัปดาห์ ประจำเดือนเป็นลิ่มเลือดขนาดใหญ่ อาจแสดงถึงความผิดปกติของอวัยวะระบบสืบพันธุ์ หรือระบบฮอร์โมนที่ทำงานผิดปกติ

    นอกจากนี้ประจำเดือนที่มามากเกินไปยังอาจบ่งบอกถึงการอักเสบ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน และหากมีการเสียเลือดมากขณะมีประจำเดือน อาจนำไปสู่ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กได้

  3. มีเลือดออกกระปริดกระปรอย หรือมีเลือดออกนอกรอบประจำเดือน อาจบ่งบอกถึงการเจริญเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ เช่น ติ่งเนื้อ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรืออาจเป็นการเสียสมดุลของฮอร์โมนจากการใช้ยาคุมกำเนิด และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  4. ประจำเดือนมีสีดำคล้ำ หรือสีส้มแดง ตลอดรอบเดือน ร่วมกับมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะลำบาก แสบ คันช่องคลอด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ มีไข้ ซึ่งบ่งบอกถึงการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

  5. ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็น กลิ่นคาว และตกขาวผิดปกติ มีสีเขียว เหลือง เป็นฟอง ตกขาวปนเลือด หรือตกขาวปริมาณมาก มีกลิ่นเหม็น มีหนอง แสดงถึงการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

  6. คลำพบก้อนบริเวณท้องน้อย หรือท้องโตขึ้น ร่วมกับอาการปวดท้อง มีประจำเดือนผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก อาจแสดงถึงการมีถุงน้ำ เนื้องอก หรือมะเร็งรังไข่

จะเห็นได้ว่าอาการผิดปกติของประจำเดือนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่เรื่องน้ำหนักตัว อาหารการกิน ความเครียด การติดเชื้อ ไปจนถึงการมีพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน 

ดังนั้นเมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ สีของประจำเดือนเปลี่ยนไป ประจำเดือนมีสีดำ คล้ำผิดปกติ ร่วมกับมีอาการอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจ วินิจฉัยโรค และรักษาได้อย่างทันท่วงที 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Webmd.com, What Your Period Says About Your Health (https://www.webmd.com/women/ss/slideshow-period-related-to-health ), 7 May 2018.
The American College of Obstetricians and Gynecologists, Menstruation (https://www.acog.org/-/media/For-Patients/faq049.pdf?dmc=1&ts=20190614T1606341034)
The American College of Obstetricians and Gynecologists, Abnormal uterine bleeding (https://www.acog.org/-/media/For-Patients/faq049.pdf?dmc=1&ts=20190614T1606229159)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)
ปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps)

เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ทำอย่างไรให้ "วันนั้นของเดือน" ไม่ใช่วันทุกข์อีกต่อไป

อ่านเพิ่ม