การรักษาโรคเบาหวานด้วยอาหารเสริมได้ผลและปลอดภัยจริงหรือ? อาหารเสริมที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพื่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด
ควรจะกินอาหารเสริมดีหรือไม่?
ไม่ว่าจะเป็นการใช้อบเชยหรือแม็กนีเซียม ไปจนถึงการใช้สูตรยาสมุนไพร เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด อาหารเสริมที่ถือว่า “ถูกกับโรคเบาหวาน” ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ผู้ป่วยและมีขายทั่วไปตามร้านขายยาหรือร้านค้าจำหน่ายอาหารเสริม และมากกว่า 50% ของผู้ป่วยเหล่านี้ยืนยันว่าได้มีการใช้อาหารเสริม และสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยในปี 2011 พบว่าอย่างน้อย 1 ใน 4 ของผู้ป่วยได้มีการทดลองใช้อาหารเสริมเพื่อการรักษา
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คำถามสำคัญคือ... ควรลองดูไหม?
ศาสตราจารย์แห่งสาขาวิชาเภสัชบำบัด มหาวิทยาลัยยูทาห์และนักเขียนทางเภสัชศาสตร์ กล่าวว่า “ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มหนึ่งกำลังมองหาทางเลือกอื่นๆ เพื่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการบำบัดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ระดับคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้น” อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งยังคงปฏิเสธและไม่แนะนำให้มีการใช้อาหารเสริมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วยเหตุผล 2 ประการนี้
1. เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังในระยะยาวเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมในการบำบัด
2. ยังไม่มีการค้นพบว่ามีอาหารเสริมชนิดใดที่จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเท่ากับการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน ที่สามารถเชื่อมโยงกันกับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ป่วยได้
“ยังไม่มีการรักษาโรคเบาหวานโดยยาวิเศษใดๆ แน่นอน” ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งกล่าว “และสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องตระหนัดคือ ไม่มีอาหารเสริมชนิดใดสามารถรักษาโรคนี้ได้ เนื่องจาก โรคเบาหวานถือเป็นโรคที่เกิดจากการดูแลสุขภาพของตนเป็นหลัก รูปแบบการใช้ชีวิต การกิน การอยู่ การดูแลสุขภาพ และการรับยาอย่างต่อเนื่องเหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด ดังนั้น อาหารเสริมจึงไม่ใช่คำตอบหรือทดแทนสิ่งเหล่านี้ได้”
นอกจากนี้ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยังเปลี่ยนรูปลักษณ์ของอาหารเสริมไปอย่างมาก และจากการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริม พบว่ายาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น โครเมียม ก็ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ หากทว่า วิตามินดีหรือยาไซเลียมยังน่าเชื่อถือมากกว่า ดังนั้น อาหารเสริมตัวอื่นๆ ควรงดเว้น เนื่องจากเป็นโฆษณาชวนเชื่อมากกว่าที่จะใช้แล้วเห็นผลจริงๆ อย่างอาหารที่ถูกอ้างว่าเมื่อใช้แล้วจะช่วยลดน้ำหนักได้ เป็นต้น ยาประเภทนี้มักให้ผลเสียมากกว่าผลดี
อย่างไรก็ตาม เราควรเลือกใช้อาหารเสริมที่มีความปลอดภัย เพราะอย่างน้อยอาหารเสริมที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถช่วยให้เรากล้าที่จะเริ่มต้นควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือกระทั่งว่าสามารถช่วยควบคุมความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ด้วย โดยเราควรพยายามเพิ่มสารอาหารเหล่านี้เข้าไปในมื้ออาหารของเราในแต่ละวันเพื่อป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
วิตามินดี (Vitamin D)
วิตามินดีเกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำตาลในเลือดอย่างไร?
การวิจัยพบว่า การได้รับวิตามินดีที่ระดับ 500IU ในแต่ละวันสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 13% อย่างไรก็ตาม ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วจะได้รับประโยชน์อย่างไร และงานวิจัยที่ผ่านมาก็ยังบอกไม่ได้ว่า การรับวิตามินดีเพิ่มขึ้นจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ อย่างไรก็ตาม การได้รับวิตามินให้เพียงพอในแต่ละวันนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากวิตามินดีนั้นช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
แนะนำให้รับวิตามินดีในปริมาณ 600 – 1,000 IU ต่อวัน อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่การทานอาหารตามปกติในแต่ละวันจะทำให้เรารับวิตามินดีได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นการทานอาหารเสริมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ก่อนการทานอาหารเสริม เราควรได้รับการตรวจวัดระดับวิตามินดีในร่างกายเสียก่อนเพื่อที่จะได้รู้ว่าเราควรเพิ่มปริมาณวิตามินดีเข้าไปอีกเท่าไหร่ในแต่ละวัน ซึ่งวิธีการนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมกับเราได้ และแน่นอน หากเราสามารถรักษาระดับวิตามินดีในร่างกายไว้ได้อย่างเหมาะสม คำว่าโรคเบาหวานก็จะอยู่ห่างไกลเราออกไป
โอเมก้า 3 (Omega-3)
ไขมันดีพบได้ทั่วไปในน้ำมันปลาต่างๆ น้ำมันสกัดจากสาหร่ายทะเล และปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ ปลาเฮริง และปลาซาดีน เป็นต้น ซึ่งน้ำมันหรือปลาเหล่านี้มีประโยชน์มากต่อระบบหัวใจ ดังนั้น จึงดีมากด้วยเช่นกันกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจแทรกซ้อน โดยโอเมก้า 3 มีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันหรือไขมันอุดตันในเลือด จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ทานน้ำมันปลาสกัด มีระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ที่ต่ำลง โดยหากมีระดับที่สูงเกินไปจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
แนะนำให้ร่างกายได้รับโอเมก้า 3 อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ถ้าเราไม่ชอบทานปลา สามารถทานอาหารเสริม พวก EPA และ DHA ในปริมาณ 2,200 มก.ต่อสัปดาห์ แต่ถ้ามีโรคหัวใจร่วมด้วย ควรเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็น 1,000 มก.ต่อวัน แต่ไม่แนะนำว่าให้ทานเองในปริมาณที่มากเกินไปและควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากการรับ EPA และ DHA ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเข้มข้นมากและทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบได้
แม็กนีเซียม (Magnesium)
1 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีปริมาณแม็กนีเซียมในร่างกายน้อยกว่าปกติ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดและการทานยาขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายต้องขับถ่ายของเสียออกมาเป็นจำนวนมากซึ่งรวมถึงแม็กนีเซียมด้วย ดังนั้นการมีระดับแม็กนีเซียมในปริมาณที่น้อยในร่างกาย ทำให้ความสามารถของร่างกายที่สามารถน้ำอินซูลีนมาใช้จึงลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การได้รับแม็กนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์และตรวจหาระดับแม็กนีเซียมในร่างกายก่อนการทานอาหารเสริม และไม่ควรหาแม็กนีเซียมมาทานเอง โดยเฉพาะเมื่อเรามีอาการแทรกซ้อนจากโรคไตร่วมด้วยเพราะเมื่อเป็นโรคไตระดับแม็กนีเซียมในร่างกายจะสูงอยู่แล้ว การรับแม็กนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการความดันโลหิตต่ำและหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ดังนั้น การทานวิตามินรวมที่มีส่วนประกอบของแม็กนีเซียมและการทานธัญพืชต่างๆ รวมถึงผักใบเขียว จะทำให้ร่างกายรับแม็กนีเซียมในปริมาณที่เหมาะสมได้ ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน ดังนี้
400 มก. สำหรับผู้ชายอายุระหว่าง 19-30 ปี, 420 มก. สำหรับผู้ชายอายุ 30 ปีขึ้นไป, 310 มก. สำหรับผู้หญิงอายุระหว่าง 19-30 ปี, 320 มก. สำหรับผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป และการทานอาหารเสริมที่มีแม็กนีเซียมนั้น ไม่ควรเกิน 350 มก.ต่อวัน
ไซเลียม (Psyllium)
ไซเลียม รู้จักกันดีว่าเป็นตัวยาที่ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลได้ เนื่องจากไซเลียมมีส่วนประกอบหลักคือไฟเบอร์ที่ช่วยละลายและลดการเกิดน้ำตาลในเลือดได้ และหากเราทานไฟเบอร์ในปริมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน การทานอาหารเสริมที่มีไซเลียมก็มีประโยชน์เช่นกัน
แนะนำให้ทานอาหารเสริมที่มีไซเลียมปริมาณ 10 กรัมต่อวัน (ผงไซเลียมประมาณ 3 ช้อนชา) ปริมาณดังกล่าวสามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดหลังจากรับประทานอาหารได้ เราสามารถชงผงไซเลียม 1 ช้อนชากับน้ำเปล่า 240 มล. แล้วจิบ 20-30 นาทีก่อนมื้ออาหารแต่ละมื้อ ควรเริ่มดื่มจากปริมาณน้อยๆ ก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารหรืออาการท้องอืดท้องเฟ้อ
อบเชย (Cinnamon)
อบเชยมีสารประกอบสำคัญคือ Hydroxychalcone มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนอินซูลินและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกับอินซูลินในเซลล์มากขึ้น ทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง การศึกษาวิจัยพบว่า การจิบชาอบเชยวันละครึ่งช้อนชา สามารถลดความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดได้
แนะนำให้ลองทานอาหารเสริมเป็นแคปซูลอบเชยปริมาณ 500 มก. 2 ครั้งต่อวัน หรือชงอบเชยผงปริมาณครึ่งช้อนชาถึง 1 ช้อนชา จิบดื่มทุกวัน อย่างไรก็ตาม การทานอบเชยอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (A1C) มีปริมาณที่เหมาะสมได้ แต่ทว่า อบเชยสามารถใช้ควบคู่ไปกับการใช้ยารักษาโรคเบาหวานได้ แต่... ควรหลีกเลี่ยงการทานอบเชย หากคุณเป็นโรคตับ!!!
กรดแอลฟาไลโปอิค (Alpha lipoic acid–ALA)
เนื่องจากระบบประสาทที่ถูกทำลายไปในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้เกิดอาการปวดชาตามนิ้วมือหรือนิ้วเท้า กรดแอลฟาไลโปอิค หรือ ALA ซึ่งเป็นกรดไขมันต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยลดอาการปวดชาดังกล่าวได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้อีกว่า ALA นั้นอาจไปกระตุ้นให้ระดับของอนุมูลอิสระสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเช่นกัน นักวิจัยบางกลุ่มอ้างว่า ALA อาจชะลอการพัฒนาโรคของระบบประสาทที่เกิดจากโรคเบาหวาน หากแต่เป็นเพียงการทดลองในห้องแล็ป ไม่ใช่การศึกษาทดลองระยะยาวกับมนุษย์ และยังพบว่า ALA จะทำงานได้ดีเมื่อได้รับโดยการฉีดเข้าเส้นเลือดมากกว่าการรับในรูปแบบของยา
แนะนำว่า ควรได้รับ ALA ตั้งแต่เนิ่นๆ ที่มีอาการเจ็บชา เพราะหากรอให้มีอาการมากขึ้น ALA ก็ไม่อาจช่วยได้ การรับ ALA ควรรับที่ปริมาณ 600 มก.ต่อวัน ซึ่งเราสามารถได้รับกรด ALA จากการทาน ผักขม บร็อกโคลี่ มะเขือเทศ ถั่ว ผักกะหล่ำ หรือรำข้าวได้เช่นกัน
หลีกเลี่ยงเมล็ดลูกซัด (Fenugreek)
จากการศึกษาพบว่า เมล็ดลูกซัด ที่เป็นเครื่องเทศสมุนไพรนี้ ไม่อาจรับประทานเป็นอาหารเสริมรักษาโรคเบาหวานได้
หากสมุนไพรลูกซัดดังกล่าวช่วยได้จริง ก็จะมีประโยชน์เพียงน้อยนิดเท่านั้น เพราะการทานลูกซัดให้ผลข้างเคียงมากกว่า คือทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องเสีย และมีผลต่อปฏิกิริยาของยาลดน้ำตาลในเลือด แต่ถ้ายังอยากลอง ก็สามารถดื่มแบบชาหรือผสมลงในอาหารได้ ไม่ควรรับประทานแบบยาหรือแคปซูล
หลีกเลี่ยงโครเมี่ยม (Chromium)
โครเมี่ยมนั้นเป็นที่นิยมกันในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยการศึกษาวิจัยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า โครเมี่ยมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ปัญหาคือ การศึกษาบ่งบอกว่าโครเมี่ยมอาจเพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือดกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราสามารถได้รับโครเมี่ยมอย่างเพียงพอได้จากการบริโภค ธัญพืชต่างๆ บร็อกโคลี่ ถั่วเขียว เห็ด ฯลฯ เนื่องจากการรับโครเมี่ยมในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียต่อตับและไต นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ ดังนั้น ปริมาณที่เหมาะสมและปลอดภัยคือ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน นอกจากนี้ การรับโครเมี่ยมในปริมาณที่มากเกินจะไปรบกวนกระบวนการรักษาหลักของยาจำพวก ยาลดกรด ยาลดความดันโลหิต หรือยาแก้ปวดที่ไม่มีสเตียรอยด์ เป็นต้น
หลีกเลี่ยงมะระ
มะระเป็นพืชผักที่ได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศแถบทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออก อินเดีย และอเมริกาใต้ นอกจากนี้ มะระยังถูกนำมาแปรรูปเป็นยาแคปซูลเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบหลักฐานจากการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนว่า มะระสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของมนุษย์ได้อย่างแท้จริง
การทานมะระจากการประกอบเป็นอาหารนั้นเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ แต่หากทานเป็นยาหรืออาหารเสริมนั้นยังมีอันตราย เนื่องจาก มะระทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาจเกิดอาการแพ้ได้