ข้าวโอ๊ต
ข้าวโอ๊ตนั้นมีเส้นใยอาหารสูงและย่อยได้ช้ากว่าคาร์โบไฮเดรตสังเคราะห์ การรับประทานข้าวโอ๊ตจะทำให้ร่างกายของคุณปล่อยน้ำตาลกลูโคสเข้ากระแสเลือดช้ากว่าอาหารประเภทอื่นซึ่งจะป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างฉับพลัน งานวิจัยหนึ่งพบว่าการรับประทานธัญพืชวันละ 4 ที่นั้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะก่อนเบาหวานได้ถึง 30% งานวิจัยอื่นนั้นก็พบว่าหากคุณทานธัญพืช คุณจะมีการอักเสบในร่างกายที่ลดลงซึ่งอาจจะช่วยความโอกาสในการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน โรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูงได้
อบเชย
อบเชยนั้นมีส่วนประกอบที่ชื่อ hydroxychalcone ซึ่งอาจกระตุ้นตัวรับอินซูลินในเซลล์และทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลกลูโคสได้ดีขึ้น งานวิจัยพบว่าการรับประทานอบเชยวันละ ½ - 1 ช้อนชานั้นช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารได้โดยเฉลี่ยที่ 9 จุดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คุณอาจจะโรยอบเชยลงในข้าวโอ๊ตหรือในกาแฟก็ได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
องุ่น
มีงานวิจัยที่พบว่าการรับประทานผลไม้สดโดยเฉพาะองุ่น, บลูเบอร์รี่และแอปเปิ้ลนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญ ผู้ที่รับประทานผลไม้อย่างน้อย 2 ที่ต่อสัปดาห์นั้นจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ประมาณ 23% เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่า 1 ที่ต่อเดือน แต่ต้องรับประทานเป็นผลไม้สดไม่ใช่น้ำผลไม้ เพราะมีงานวิจัยที่พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำผลไม้นั้นจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 21%
น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอกนั้นอุดมไปด้วยไขมันชนิดไม่อิ่มตัวซึ่งอาจช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลินได้ งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานไขมันชนิดดีเหล่านี้เป็นอาหารเช้าในปริมาณมากนั้นมีความไวต่ออินซูลินที่ดีกว่าตลอดทั้งวันเมื่อเทียบกับผู้ที่ทานอาหารเช้าที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัวหรือคาร์โบไฮเดรต นอกจากนั้นไขมันชนิดไม่อิ่มตัวนี้ยังอาจจะช่วยลดไขมันที่หน้าท้องซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
ถั่ว (แบบเป็นฝัก)
ถั่วนั้นเป็นแหล่งรวมทั้งคาร์โบไฮเดรตชนิดดี โปรตีนที่ไม่ติดมัน และเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมระดับความหิว งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับประทานถั่วมากนั้นสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจลงได้
ไข่
ไข่นั้นอุดมไปด้วยโปรตีน ( 6 กรัมต่อไข่ทั้งฟอง) และมีผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ดีต่อสุขภาพเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานนั้นจำกัดการรับประทานไข่แดงอยู่ที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่คุณสามารถรับประทานไข่ขาวได้ถี่กว่านั้น ไข่ขาวจากไข่ฟองใหญ่ 1 ฟองนั้นจะให้พลังงานประมาณ 16 แคลอรี่และโปรตีน 4 กรัม
ผลิตภัณฑ์จากนม
งานวิจัยพบว่าแคลเซียม แมกนีเซียมและวิตามินดีในนม ชีสและโยเกิร์ตนั้นทำให้ร่างกายไวต่ออินซูลินมากขึ้น งานวิจัยอีกชิ้นยังพบว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมทุกวันยังจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้มากกว่า 20% งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานไข่วันละ2 ฟองนั้นจะมีแนวโน้มในการเกิดปัญหาจากที่มีน้ำตาลในเลือดสูงลดลง 26%
Kale
ผักทุกชนิดนั้นเป็นอาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผักใบเขียว เนื่องจากเป็นแหล่งของแมกนีเซียม วิตามินเค และยังมีงานวิจัยที่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีขึ้นอีกด้วย ผักใบเขียวเหล่านี้มีสาร sulforaphane ซึ่งมีคุณสมบัติลดการอักเสบและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันการทำลายเส้นเลือด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปลา
งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ที่มีระดับกรดไขมันโอเมกา 3 ในเลือดสูงที่สุดนั้นจะมีการอักเสบทั่วร่างกายน้อยที่สุดซึ่งการอักเสบเหล่านี้จะทำให้โรคเบาหวานและปัญหาเรื่องน้ำหนักนั้นแย่ลง และเนื่องจากเนื้อสัตว์ติดมันทั้งหลายนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นควรเปลี่ยนมารับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันเช่นปลาหรือไก่ที่ไม่ติดหนังแทน
แครนเบอร์รี่
แครนเบอร์รี่นั้นมีแร่ธาตุหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ anthocyanins ซึ่งดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดระดับ cholesterol และความดันโลหิตอีกด้วย
Quinoa
Quinoa นั้นมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด และยังสามารถช่วยป้องกันการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างฉับพลันและทำให้คุณรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น
แอปเปิ้ล
การรับประทานแอปเปิ้ลวันละ 1 ลูกนั้นสามารถลดระดับ cholesterol ชนิดที่ไม่ดีได้ 40% และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยจากการที่แอปเปิ้ลและผลไม้นั้นมีเส้นใยอาหารสูง
หอมแดง
หอมแดงไม่ได้ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารเท่านั้นแต่ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและมีเส้นใยอาหาร, โพแทสเซียมและโฟเลตสูงซึ่งล้วนแต่ผลดีต่อหัวใจของคุณ
ถั่ว (แบบเม็ด)
ถั่วอุดมไปด้วยวิตามินอี ไขมันไม่อิ่มตัว เส้นใยอาหาร sterol จากพืช กรดไขมันโอเมกา 3 และ L-arginine ซึ่งทำให้หลอดเลือดนั้นมีแนวโน้มเกิดลิ่มเลือดลดลง ถั่วยังสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย
หน่อไม้ฝรั่ง
หน่อไม้ฝรั่งนั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อ glutathione ซึ่งช่วยลดผลของหลายๆ โรคที่กระทำต่อร่างกาย เช่นโรคเบาหวาน โดยสามารถเพิ่มการสร้างอินซูลินและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด