กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Glutathione (กลูตาไธโอน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

กลูตาไธโอนสารจากธรรมชาติ

เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

กลูตาไธโอน (Glutathione) คือสารที่ตับผลิตตามธรรมชาติและพบอยู่ในผลไม้ ผัก และเนื้อสัตว์ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดต้อหิน (glaucoma) และต้อกระจก (cataracts) ป้องกันจุดด่างดำ ริ้วรอย รักษาหรือป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลายจากภาวะติดสุรา หอบหืด มะเร็ง โรคหัวใจ (ภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) และคอเลสเตอรอลสูง) โรคตับ โรคที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ (เช่น AIDS) ความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) และโรคพากินสัน (Parkinson’s disease) สารกลูตาไธโอนยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ต่อสู้และขจัดโลหะที่มีปริมาณระดับเป็นพิษออกจากเซลล์

กลูตาไธโอนสามารถนำไปเป็นยาสูดดมเพื่อรักษาโรคปอดอย่างโรคพังพืดในปอดที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิด (Idiopathic pulmonary fibrosis (IPF)) โรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) และโรคปอดในผู้ป่วย HIV

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บางการศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะฉีดกลูตาไธโอน (ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ) ในการรักษาภาวะมีบุตรยากของผู้ชาย

ขณะนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับการฉีดกลูตาไธโอนเข้าเส้นเลือด (Intravenously (by IV)) เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง (Anemia) ในผู้ป่วยโรคไตที่ต้องเข้ารับการฟอกไต ป้องกันปัญหาที่ไตหลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา และประสิทธิภาพของการฉีดกลูตาไธโอนเข้าเส้นเลือดเพื่อช่วยให้โรคพาร์กินสันดีขึ้น ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย รวมถึงการเพิ่มการไหลเวียนโลหิต และลดการเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแข็งตัว รักษาเบาหวาน และป้องกันผลข้างเคียงที่เป็นพิษจากการบำบัดเคมี

กลูตาไธโอนทำงานอย่างไร?

กลูตาไธโอนเกี่ยวข้องกับหลายๆ กระบวนการในร่างกายตั้งแต่การก่อร่างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อไปจนถึงการผลิตสารเคมีและโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกายและระบบภูมิคุ้มกัน

การใช้และประสิทธิภาพของกลูตาไธโอน

ภาวะที่อาจใช้กลูตาไธโอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฉีดเข้าเส้นเลือด

  • ลดผลข้างเคียงจากการบำบัดเคมีรักษามะเร็ง

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่ากลูตาไธโอนรักษาได้หรือไม่ และขณะนี้ยู่ในขั้นตอนของการวิจัย

โดยการรับประทาน

  • ต้อหิน (Glaucoma)
  • ต้อกระจก (Cataracts) 
  • ชะลอความแก่ชรา
  • รักษาหรือป้องกันภาวะติดแอลกอฮอล์
  • หอบหืด (Asthma)
  • มะเร็ง
  • โรคหัวใจ
  • ระดับคอเลสเตอรอลสูง
  • ปัญหาที่ตับ
  • AIDS
  • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome)
  • สูญเสียความทรงจำ
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
  • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
  • ภาวะสุขภาพอื่น

โดยการสูดดม

  • รักษาโรคปอด
  • ภาวะสุขภาพอื่น

โดยการฉีดเข้าเส้นเลือด

  • รักษาโรคพาร์กินสัน
  • เบาหวาน
  • โลหิตจางในผู้ที่ต้องเข้ารับการฟอกไต
  • หลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)
  • ภาวะมีบุตรยากในชาย
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของกลูตาไธโอนเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของกลูตาไธโอน

กลูตาไธโอนถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนมากหากบริโภคด้วยการรับประทาน สูดดม หรือฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อ แต่ผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ทั้งหมดของกลูตาไธโอนนั้นยังคงเป็นปริศนา

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้กลูตาไธโอนในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย

ปฏิสัมพันธ์ของกลูตาไธโอน

ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องปฏิสัมพันธ์ของกลูตาไธโอน


28 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Effects of Oral Glutathione Supplementation on Systemic Oxidative Stress Biomarkers in Human Volunteers. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3162377/)
7 health benefits of glutathione. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323936)
Glutathione: Benefits, Side Effects, Dosage, and Interactions. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/benefits-of-glutathione-89457)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)