กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สังกะสี แร่ธาตุนี้มีประโยชน์อย่างไร ผลกระทบเมื่อทานมาก-น้อยเกินไป

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สังกะสี แร่ธาตุนี้มีประโยชน์อย่างไร ผลกระทบเมื่อทานมาก-น้อยเกินไป

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ธาตุสังกะสี เป็นธาตุอาหารซึ่งคอยทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการทำงานในระดับเซลล์ ทำหน้าที่สลายน้ำตาลกลูโคส ช่วยบำรุงซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ ทำให้แผลบนร่างกายหายได้ไวขึ้น และมีส่วนพัฒนาการรับรู้รสชาติ และกลิ่นของเด็ก
  • คุณสามารถหาธาตุสังกะสีได้จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หอยนางรม พืชผัก หรือผลไม้ เช่น ข้าวกล้อง มะม่วง มันฝรั่ง งา แอปเปิล
  • หากรับธาตุสังกะสีน้อยเกินไป ร่างกายจะแสดงออกทางผิวหนัง เช่น ผิวแห้งลอก ผิวอักเสบระคายเคือง ขนร่วง ผิวฟกช้ำ และแผลหายช้า ประสาทรับรสชาติด้อยลง แต่หากรับมากเกินไป ก็จะเสี่ยงที่ระดับคลอเลสเตอรอลสูง เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด ท้องเสีย เวียนหัว
  • เด็กอายุ 1-10 ขวบ ควรได้รับธาตุสังกะสีวันละ 10 มิลลิกรัม เด็กวัยรุ่นอายุ 11 ปีจนถึงผู้ใหญ่อายุ 51 ปี ควรรับสังกะสีวันละ 15 มิลลิกรัม ส่วนหญิงตั้งครรภ์ และนมบุตรควรรับธาตุสังกะสีวันละ 20-25 มิลลิกรัม
  • เพื่อป้องกันไม่ให้รับสังกะสีน้อย หรือมากเกินไป คุณควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย หมั่นไปตรวจสุขภาพว่า ร่างกายขาดสารอาหารส่วนใดหรือไม่ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายได้ที่นี่)

ธาตุสังกะสี (Zinc) เป็นธาตุอาหารชนิดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์หรือพืช ด้วยบทบาทที่เรียกได้ว่า เป็นหัวใจในการทำงานร่วมกับเอนไซม์ต่างๆ มากกว่า 300 ชนิดในร่างกายของเรา 

การรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุชนิดนี้อย่างเพียงพอ จะช่วยรักษาร่างกายให้ทำงานได้อย่างสมดุล 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หน้าที่ของธาตุสังกะสีกับร่างกาย

หน้าที่สำคัญของธาตสังกะสีสำหรับร่างกาย คือ เข้าไปควบคุมกระบวนการทำงานต่างๆ ในระดับเซลล์ ทำให้อวัยวะดำเนินการทำงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

เอนไซม์ในธาตุสังกะสียังมีหน้าที่หลักสำคัญ คือ คอยขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ และเนื้อเยื่อไปยัง และเป็นทำหน้าที่เปลี่ยนกรดไฟรูวิก เป็นกรดแลคติก ซึ่งอยู่ในวัฎจักรไกลโคลิซิส (วัฎจักรการสลายน้ำตาลกลูโคส)  

นอกจากนี้ ธาตุสังกะสียังเป็นเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนที่ลำไส้เล็ก และทำหน้าที่เป็นสารประกอบโคแฟกเตอร์ (Cofactor) สำหรับสังเคราะห์กรดไรโบนิวคลีอิก หรืออาร์เอ็นเอ (Ribonucleic Acid: RNA) และสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (Deoxyribonucleic Acid: DNA)

ยังไม่หมดเท่านี้ ธาตุสังกะสียังช่วยบำรุงดูแลร่างกายส่วนที่สึกหรอ โดยเข้าไปซ่อมแซม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเอนไซม์ของร่างกาย ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง หากคุณประสบอุบัติเหตุ หรือร่างกายได้รับบาดแผล ธาตุสังกะสี คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้แผลหายได้ไวขึ้น

ธาตุสังกะสียังสำคัญในการเจริญเติบโตของวัยเด็กด้วย โดยเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนการรับรู้รสชาติ และการได้กลิ่นให้มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ร่างกายของคนเราจะไม่ได้รับเอาธาตุสังกะสีมาใช้ทั้งหมด โดยเมื่อธาตุชนิดนี้จะถูกนำเข้าสู่ร่างกายผ่านกระบวนการย่อยอาหาร หลังจากนั้นจะถูกดูดซึมอยู่ที่ลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) และลำไส้เล็กตอนกลาง (Jejunum) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่การดูดซึมของสารชนิดนี้มักจะถูกขัดขวางโดย ทองแดง แคลเซียม ไฟเทต แคดเมียม และใยอาหาร ทำให้ธาตุสังกะสีบางส่วนที่ไม่ถูกดูดซึม ก็จะถูกขับถ่ายออกพร้อมน้ำย่อยจากตับอ่อน ส่งผ่านลำไส้ใหญ่รวมตัวกับอุจจาระ และปัสสาวะ ซึ่งจะมีปริมาณที่ถูกขับออกมาตามธรรมชาติราว 500 ไมโครกรัม

อาหารที่มีธาตุสังกะสีสูง

  1. อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ทุกประเภท ตับ นม เนย ปู กุ้ง ไข่
  2. หอยนางรมให้ธาตุสังกะสีจำนวนมาก ประมาณ 745 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม
  3. พวกพืชผัก เช่น ข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดพืช วุ้นเส้นไม่ฟอกขาว งา มันฝรั่ง ผักใบเขียวต่างๆ
  4. ผลไม้ เช่น มะม่วง สับปะรด แอปเปิ้ล

โทษของที่ร่างกายได้รับสังกะสีมากเกินไป

  1. คนที่ได้รับสังกะสีมากเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของระดับคลอเลสเตอรอล เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด
  2. คนที่ได้รับมากเกินกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน จะทำให้เกิดอาการที่รู้สึกได้คือ ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ เกร็งบริเวณกล้ามเนื้อท้อง และเกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
  3. คนที่ได้รับสังกะสีมากๆ สูงมากกว่า 1.5 เท่าของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เพราะสังกะสีจะเข้าไปลดการดูดซึมทองแดง และธาตุเหล็ก

โทษของที่ร่างกายได้รับสังกะสีน้อยเกินไป

กรณีที่เกิดภาวะขาดสังกะสี ร่างกายจะแสดงออกมาด้วยอาการทางผิวหนัง เช่น 

  • ขนตามร่างกายร่วง 
  • ผิวหนังเป็นรอยเขียวฟกช้ำได้ง่าย 
  • เป็นแผลเรื้อรังไม่ยอมหายสักที 
  • มีการอักเสบระคายเคืองที่ผิวหนัง 
  • ผิวแห้งลอกไม่มีความชุ่มชื้น 
  • ผิวหยาบกร้าน โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อพับ 
  • ประสาทการรับรสเริ่มด้อยประสิทธิภาพ
  • แผลหายช้า 
  • หญิงที่ให้นมบุตร การขาดธาตุสังกะสีจะส่งผลไปถึงการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกน้อย

การรับประทาน สังกะสี ให้ได้สัดส่วนที่เพียงพอต่อร่างกายแบบไม่เกิดโทษ จะต้องอยู่ในปริมาณที่ขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละวัย

  • ในเด็กอายุระหว่าง 1-10 ขวบ ควรได้รับวันละ 10 มิลลิกรัม
  • ในเด็กวัยรุ่นอายุ 11-22 ปี ควรได้รับ 15 มิลลิกรัม
  • ผู้ใหญ่อายุ 23-51 ปี ควรได้รับวันละ 15 มิลลิกรัม
  • ในหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ควรได้รับวันละ 20-25 มิลลิกรัม

การได้รับธาตุสังกะสีตามปริมาณด้านบนก็ถือว่า เพียงพอกับความต้องการแล้ว ถึงแม้ในประเทศไทยจะพบคนจำนวนน้อยมากที่ขาดธาตุสังกะสี แต่การเรียนรู้เพื่อให้ทราบโทษของการได้รับมากเกินไป ก็เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับร่างกายได้ทางหนึ่ง

การรับประทานธาตุสังกะสีมากเกินไปก็อาจก่อเกิดเป็นโทษ ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ร่างกายได้รับธาตุสังกะสี ในการนำไปใช้ได้เพียงพอ และปลอดภัยมากที่สุด


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zinc 101: Uses, Dosage, Foods, Supplements, Risks, and More. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/zinc/)
Zinc: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-982/zinc)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป