โรคภูมิต้านตนเองเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานผิดพลาดและทำให้ร่างกายเริ่มโจมตีตนเอง
หน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกัน คือ การป้องกันร่างกายของคุณจากโรคภัยและการติดเชื้อ ในคนสุขภาพดี ระบบภูมิคุ้มกันจะจดจำเชื้อโรค เช่น แบคทีเรียและไวรัสว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกและโจมตีมัน แต่ในบางคนระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่ถูกต้องและจดจำผิดพลาดว่าเนื้อเยื่อที่ดีในร่างกายเป็นสิ่งแปลกปลอมภายนอกและโจมตีเนื้อเยื่อดีเหล่านั้น สิ่งนี้นำไปสู่สภาวะที่เรียกว่า โรคภูมิต้านตนเองที่อาจจะส่งผลต่อร่างกายคุณในหลายๆ ตำแหน่ง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคภูมิต้านตนเอง
มีการประมาณการกันว่าร้อยละ 5-8 ของประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกามีชีวิตอยู่ร่วมกับโรคภูมิต้านตนเองและนักวิจัยก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเหตุใด แต่ความชุกของโรคภูมิต้านตนเองดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้น โรคภูมิต้านตนเองสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่กลุ่มผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์เป็นกลุ่มที่มีโอกาสที่จะเกิดได้มากที่สุด ผู้หญิงแอฟริกัน-อเมริกัน (African-American) ผู้หญิงพื้นเมืองชาวอเมริกันและผู้หญิงที่มีเชื้อสายสืบทอดมาจากชาวสเปนมีโอกาสที่จะเกิดโรคมากกว่าหญิงคอเคเซียน (Caucasian) พันธุกรรมก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดว่าใครจะเป็นโรคภูมิต้านตนเอง ดังนั้น หากคุณมีประวัติของคนในครอบครัวที่เป็นโรคภูมิต้านตนเอง คุณก็มีโอกาสเพิ่มขึ้น
โรคภูมิต้านตนเองที่พบบ่อย
โรคภูมิต้านตนเองมีมากกว่า 80 ชนิด แต่โรคที่พบบ่อย ได้แก่
- โรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ (Graves’ disease) โรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษเป็นโรคภูมิต้านตนเองที่ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid gland) ทำงานมากเกินไป ซึ่งเหล่าคนที่เป็นโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษอาจมีปัญหาในการนอนหลับ หงุดหงิด น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ตาโปน ร้อนง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผมเปราะ ประจำเดือนลดลง หรือมือสั่น ในขณะที่บางคนที่เป็นโรคนี้อาจะไม่ได้มีอาการเลย การกลืนรังสีไอโอดีนที่จะช่วยทำลายเซลล์ธัยรอยด์ (Thyroid cell) ใช้ในการรักษาโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษและช่วยให้หายจากภาวะนี้ได้ประมาณร้อยละ 90 จากการใช้แค่หนึ่งครั้ง ร้อยละ 10 ต้องใช้ครั้งที่สอง และคนจำนวนเล็กน้อยที่ต้องใช้การผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ออก
- โรคต่อมธัยรอยด์อักเสบฮาชิโมโต (Hashimoto’s thyroiditis) เป็นการอักเสบของต่อมธัยรอยด์ที่ทำให้มีภาวะธัยรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism คือ การที่ต่อมธัยรอยด์ทำงานลดลง) โรคต่อมธัยรอยด์อักเสบฮาชิโมโตเกิดเมื่อระบบภูมิคุ้มกันโจมตีต่อมธัยรอยด์ แม้ว่าบางครั้งอาจจะไม่มีอาการ แต่โรคต่อมธัยรอยด์อักเสบฮาชิโมโตมันทำให้คอพอก คือ ต่อมธัยรอยด์โตขึ้นจนเห็นเป็นก้อนที่คอ มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่ม ซึมเศร้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง ขี้หนาว ผมและผิวหนังแห้ง และท้องผูก ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะกับโรคต่อมธัยรอยด์อักเสบฮาชิโมโต แต่สามารถรักษาภาวะธัยรอยด์ต่ำและคอพอกได้ด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement therapy) ที่จะให้ฮอร์โมนธัยรอยด์ที่ร่างกายต้องการ
- โรคพุ่มพวง หรือ โรคเอสแอลอี (Systemiclupus erythematosus) ในโรคเอสแอลอี สารภูมิต้านทาน (antibody) ที่สร้างโดยระบบภูมิต้านทานโจมตีร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวมไขข้อและอวัยวะได้รับบาดเจ็บ arthritis อาการปวดข้อ ผื่นคันและผื่นแพ้แสง การรักษาโรคเอสแอลอีมีหลายหลายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค แต่มีการใช้ยาแก้ปวดยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (NSAIDs) ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressant) สเตียรอยด์ (Corticosteroids) และการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่น การลดความเครียด การหลีกเลี่ยงแสงแดด และเปลี่ยนการรับประทานอาหาร
- โรคเบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) ในโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ที่มักจะได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เด็กหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (ก่อนอายุ 30 ปี) ระบบภูมิต้านทานโจมตีเซลล์ในตับอ่อนที่มีหน้าที่สร้างอินซูลิน เมื่อระดับอินซูลินไม่มากพอ ร่างกายคุณจะไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ นำไปสู่ปัญหามากมาย เช่น ภาวะไตล้มเหลว สูญเสียการมองเห็น ปัญหาต่อระบบไหลเวียนโลหิต เส้นเลือดสมองตีบ และโรคหัวใจ การรักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 1 คือ การรับอินซูลินโดยตรงจากแพทย์ เฝ้าสังเกตระดับน้ำตาลในเลือด ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และขยับตัวอยู่เสมอ
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) คนที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอาจประสบอาการอ่อนแรง ปัญหาในการทรงตัวและประสานงาน ปัญหาในการพูดการเดิน ชา สั่น เสียประสาทรับความรู้สึกตามแขนขา มียามากมายที่จะช่วยรักษาอาการต่างๆ ของผู้ป่วย รักษาเมื่ออาการกำเริบ ปรับเปลี่ยนแก้ไขสาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และเพิ่มความสามารถในการทำงาน
- โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากภูมิคุ้นกันต้านตนเอง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีเนื้อเยื่อไขข้อ ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ข้อผิดรูป อ่อนเพลีย อ่อนแรง ไม่อยากอาหาร น้ำหนัก และในบางครั้งอาจทำให้ต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียง เช่นเดียวกับโรคภูมิต้านตนเองอื่นๆ โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์เกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อย่างไรก็ดี สิ่งที่โรคนี้ต่างจากโรคภูมิต้านตนเองโรคอื่น คือ ช่วงอายุที่เกิดอาการอยู่ในช่วง 30-50 ปี โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์มีอาการแสดงต่างกันในแต่ละคน ดังนั้น การรักษาจึงแตกต่างกันตามคนและมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ชะลอหรือหยุดการทำลายไขข้อ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
หากคุณมีโรคภูมิต้านตนเอง คุณและแพทย์ของคุณจะร่วมกันวางแผนการรักษา อาการของโรคภูมิต้านตนเองมักเป็นๆ หายๆ และมีอาการซ้ำตามเวลาที่ผ่านไป ซึ่งนั่นหมายความว่าอาการอาจจะมาแบบทันทีทันใด ทำให้ต้องมีการรักษาในทันที ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาสำหรับโรคภูมิต้านตนเองส่วนใหญ่ แต่นักวิจัยต่างพยายามศึกษาหนทางในการรักษาใหม่ๆ ยาสามารถช่วยบรรเทาอาการ รวมถึงอาจทำให้การดำเนินโรคเป็นไปได้ช้าลง นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายบ่อยๆ การพักผ่อนและการจัดการความเครียด อาจนำมารวมในแผนการรักษาโรคภูมิต้านตนเอง