August 02, 2019 14:07
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
น่าจะเป็นเรื่องของ กลั่มบุคลิคภาพที่ผิดปกติ ถ้ามีเวลาเเนะนำปรึกษาจิตเเพทย์ครับ
คนไข้บางกลุ่มจะอายที่ต้องไปพบจิตเเพทย์ เเต่จริงๆไม่ใช่เรื่องที่น่าอายเเต่อย่างใด (และ กรณีถ้าเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ อยากไปตรวจโดยไม่มีผู้ปกครองก็สามารถทำได้ครับ ถ้ามีอันตราย หรือจำเป็นต้องเเจ้งผู้ปกครอง คุณหมอจะเเจ้งคนไข้ก่อนครับ)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากอาการที่เล่ามาอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
1.อารมณ์แปรปรวนในช่วงก่อนมีประจำเดือน
2.จากความผิดปกติทางบุคลิกภาพและการปรับตัวต่อสถานการณ์ใหม่
3.จากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ซึ่งเป็นที่มาของความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า สมาธิสั้น เป็นต้น
ในกรณีที่มีความคิดลบ มีอารมณ์แปรปรวน ปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆได้ยาก ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน แบบนี้ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
อาการตรงนี้จากที่หนูเล่ามาน่าจะเป็นเรื่องของความวิตกกังวลมากกว่าเรื่องซึมเศร้านะครับเนื่องจากว่าคุณได้เล่าถึงความคิดที่เข้ามาเยอะๆ ความเครียด ความกลัว ซึ่งอาการที่เล่ามาทั้งหมดนี้ส่วนมากแล้วเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่าวิตกกังวลเป็นหลักครับ
โดยในเบื้องต้น การจัดการกับความคิดและความวิตกกังวลเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากและควรที่จะได้รับการจัดการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาครับ โดยคุณอาจจะได้รับยา และได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดหรือพฤติกรรมบางอย่างนะครับ
นอกจากการเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว การหันกลับมาดูแลตนเองให้มากขึ้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือสนุกผ่อนคลาย และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดและความวิตกกังวลตรงนี้ลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของอารมณ์ที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ และหากมีคำถามอืนๆก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการตามที่เล่ามานั้นเป็นอาการที่ค่อนข้างกว้างนะครับ แต่ก็เป็นอาการที่อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติทางด้านจิตใจได้ เนื่องจากอาการข้างต้นนั้นเป็นมาอย่างต่อเนื่องและมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว
อาการตามที่เล่ามานี้มีโอกาสที่จะเป็นได้จากหลายกลุ่มโรคครับ เช่น
- อารมณ์ที่แปรปรวนตามรอบเดือน
- โรคซึมเศร้าชนิดเรื้อรัง
- โรควิตกกังวล
- โรคกลัวการเข้าสัง
- ความผิดปกติของบุคลิกภาพบางอย่าง
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรลองตรวจพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมดูก่อนเพราะการที่จะวินิจฉัยโรคทางด้านจิตใจได้นั้นจะต้องอาศัยการประเมินอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมควบคู่กันไปผ่านทางการพูดคุยกับจิตแพทย์โดยตรวครับ และเมื่อตรวจจนทราบสาเหตุที่แน่ชัดแล้วก็จะสามารถให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ในส่วนของรายละเอียดที่ไม่ได้ลงเพราะคิดว่าอาจจะยาวมากไปและอาจจะเนื้อหาวกไปวนมาจึงตัดสินใจลบทิ้งค่ะ การไปหาจิตแพทย์เป็นอะไรที่หนูกลัวคนอื่นจะคิดว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจหรือไร้สาระ กลัวตัวเองคิดไปเองจึงไม่กล้าไปพบ แต่ทั้งนี้ต้องขอบคุณคุณหมอทุกคนมากนะคะที่ให้คำปรึกษา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
การไปพบจิตแพทย์ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโรคทางด้านร่างกายครับ เพราะการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจก็เป็นการเจ็บป่วยในรูปแบบหนึ่งเช่นกัน คนเราจะไม่สามารถมีสุขภาพที่ดีได้ถ้าหากสุขภาพกายและใจไม่ได้ดีไปด้วยกันครับ
หมอแนะนำว่าถ้ารู้สึกว่าอาการที่เกิดขึ้นมีผลรบกวนการใช้ชีวิตและไม่สามารถควบคุมได้ ก็ไม่ควรกังวลที่จะไปพบจิตแพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอบคุณมากค่ะหมอ จะลองดูอาการไปก่อนค่ะ
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบจิตแพทย์นะคะ จิตแพทยื เป็นแพทย์เฉพาะทางที่ให้การรักษาที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์และพฤติกรรมค่ะ หากเรามีอาการผิดปกติส่วนไหนก็ต้องพบแพทย์เฉพาะทางด้านนั้น จะทำให้ได้รับการรักษาได้ตรงจุดทำให้อาการนั้นดีขึ้นได้เร็วค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เข้าใจแล้วค่ะ ถ้าไม่ดีขึ้นยังไงจะไปพบแพทย์ดูค่ะ
เป็นคนคิดลบมาตั้งแต่เด็กๆ มองโลกในแง่ร้ายและคิดมากตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ ยิ่งโตอาการยิ่งหนักขึ้นเรื่อยๆ อารมณ์ร้อนโมโหง่าย ร้องไห้ง่าย รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้เรื่องเลย พอช่วงเข้ามหาลัยเกิดความเครียดความกลัวการจากบ้าน ไม่กล้าเข้าสังคม รู้สึกกลัวที่ต้องออกไปอยู่กับคนไม่รู้จัก ไปทำความรู้จักใหม่ เครียดจนน้ำหนักลด วันแรกที่ไปถึงร้องทั้งวันเลยตัดสินใจกลับบ้าน หลังๆมาจะเกิดอาการที่บางครั้งรู้สึกหดหู่ เครียด ขึ้นมาเฉยๆแล้วก็จะร้องไห้ออกมาแล้วพยายามจิกแขนหรือกอดตัวเองไว้ แต่อาการจะเป็นไม่นานและหายไป หนูอยากรู้ว่าหนูเก็บตัวมากไปรึป่าว หรือที่ผ่านมาเป็นอาการโฮมซิคหรือก่อนมีประจำเดือนอารมณ์แปรปรวนปกติ หรือโรคอื่นๆ ในส่วนของซึมเศร้าหนูไม่ได้เป็นเพราะยังสนุกและหัวเราะเวลาดูหนังหรือการ์ตูนอยู่
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)