กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล

คุณสามารถควบคุมโรคนี้ได้หากได้รับความช่วยเหลือ
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล

สิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งของโรควิตกกังวล (Generalized Anxiety Disorder หรือ GAD) คือ การเรียนรู้วิธีการควบคุมความกังวลและอาการทางการบางอย่างที่เกิดขึ้น บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมความกังวลและให้คุณสามารถย้อนกลับมาอ่านได้หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม

เข้าใจโรควิตกกังวล

การเข้าใจโรคเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่จะช่วยให้สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณได้พบแพทย์หรือนักจิตบำบัดมาก่อน คุณอาจรู้พื้นฐานของการเข้าใจโรควิตกกังวล แต่ความเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับตัวโรคนั้นจะทำให้คุณเข้าใจสถานการณ์ของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น บทความต่อไปนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการทำความเข้าใจโรควิตกกังวลอย่างละเอียด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • แนวทางการวินิจฉัยโรควิตกกังวล บทความนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของอาการของโรคและวิธีการที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการวินิจฉัยโรค โดยบุคลากรทางการแพทย์จะยึดแนวทางการวินิจฉัยจาก DSM-5 เป็นหลักในการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชทั้งหมด
  • วิตกกังวลธรรมดาหรือเป็นโรควิตกกังวล? มีหลายครั้งที่เราอาจสงสัยว่าความกังวลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความกังวลแบบปกติหรือเป็นโรค บทความนี้จะช่วยให้คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 อย่างได้ โดยทั่วไป โรควิตกกังวลมักทำให้คุณมีอาการกังวลต่อเนื่องนานหลายเดือนและอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าสังคมหรือการทำงานได้
  • อาการทางกายของโรควิตกกังวล อาการที่พบได้บ่อยของโรควิตกกังวล คือ อาการทางกาย ซึ่งบทความนี้สามารถใช้เป็นแนวทางเรียนรู้ตัวอย่างที่พบได้บ่อย อาการที่พบได้บ่อย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ตัวสั่น เป็นลม หรือไม่มีสมาธิ

รูปแบบการควบคุมอาการ

การควบคุมอาการของโรคมีได้หลายรูปแบบ โดยใช้เพื่อจัดการกับความเครียดและความกังวล บางวิธีจะเน้นไปที่การจัดการปัญหาและเรื่องราวต่อจากนั้น ในขณะที่บางวิธีจะใช้การหลีกเลี่ยงปัญหาหรือการนั่งสมาธิ บทความต่อไปนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจกระบวนการเหล่านี้มากขึ้น

  • วิธีการจัดควบคุมความกังวล มีหลายวิธีพื้นฐานที่คุณสามารถเรียนรู้เพื่อช่วยควบคุมโรคจากบทความนี้
  • วิธีการควบคุมอาการวิตกกังวลเฉพาะปัญหา บทความนี้จะพูดถึงหลักการควบคุมปัญหาที่สำคัญมากที่สุดวิธีหนึ่งเพื่อใช้กับโรควิตกกังวลหรือปัญหาอื่นๆ ในชีวิต

เทคนิกการจัดการปัญหา

นอกเหนือจากรูปแบบการจัดการปัญหาแบบต่างๆ แล้วยังมีอีกหลายเทคนิกที่สามารถใช้ช่วยลดหรือควบคุมอาการของโรควิตกกังวลได้ การเรียนรู้ในสิ่งที่เรียกว่า "กล่องเครื่องมือต่อต้านความกังวล" จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิตให้มีความสุข

  • การควบคุมลมหายใจและโรควิตกกังวล การควบคุมลมหายใจเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลดีในการควบคุมอาการวิตกกังวล
  • โรควิตกกังวลกับปัญหาการนอนหลับ การค้นหาวิธีการนอนหลับให้ดีขึ้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการควบคุมอาการของโรควิตกกังวล และบทความนี้พูดถึงวิธีที่สำคัญและควรลองปฏิบัติ
  • 5 วิธีในการจัดการกับโรควิตกกังวล บทความนี้จะแสดงข้อแนะนำและเคล็ดลับในการช่วยจัดการอาการต่างๆ

แนวทางการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นสุดท้ายที่สำคัญที่สุดของการควบคุมอาการของโรคก็คือการเข้ารับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ วิธีการบำบัดบางอย่างอาจช่วยให้คุณรู้วิธี การปรับเทคนิคในการผ่อนคลายมาใช้กับในชีวิตจริง และวิธีอื่นๆ อาจเน้นที่ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้กังวลและทำไมถึงเกิดขึ้น

  • ประเภทของการรักษาโรควิตกกังวล มีหลายวิธีที่สามารถใช้รักษาโรควิตกกังวลได้ บทความนี้กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีที่นิยมและได้ผลดีที่สุด
  • การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับโรควิตกกังวล บทความนี้ครอบคลุมถึงงานวิจัยที่ระบุถึงวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในโรควิตกกังวล
  • การทำ cognitive-behavioral therapy สำหรับโรควิตกกังวล การทำ CBT เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่นิยมมากที่สุดในโรควิตกกังวล

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dillon Browne, Ph.D. , What to know about anxiety What to know about anxiety (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323454.php), October 26, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป