June 06, 2019 18:38
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ถ้าหากมีอาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าได้ก็สามารถไปพบจิตแพทย์ในโรงพยาบาลที่สะดวกเพื่อตรวจประเมินอาการได้เลยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
โรคซึมเศร้าเป็นโรคผิดปกติทางด้านอารมณ์ ค่อนข้างเป็นนามธรรม ซึ่งแตกต่างจากโรคหรืออาการทางร่างกาย การตรวจวินิจฉัยต้องอาศัยการถามประวัติอาการ ความรู้สึก และการให้ผู้ป่วยทำแบบประเมินอาการ หรือ หากมีการใช้กลไกทางจิตจนอาการซึมเศร้าแสดงออกมาแบบไม่ชัด จิตแพทย์ก็อาจส่งตรวจทางจิตวิทยาเพื่อหา sign ซึมเศร้าค่ะ
อาการเด่นๆ ของโรคซึมเศร้า ได้แก่
1.นอนไม่หลับ /หลับมากเกินไป
2.ท้อแท้ ซึม เศร้า ไม่สดชื่น
3.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
4.ทานได้น้อยลง/ทานได้เยอะกว่าปกติ
5.หงุดหงิด
6.ไม่มีสมาธิ ขี้ลืม
7.รู้สึกไร้ค่า
8.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
9.อยากตาย/พยายามทำร้ายตัวเองค่ะ
หากมีอาการเกิน 7 ข้อ ต่อเนื่องทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์ ก้อาจมีแนวโนัมที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ
สาเหตุหลัก เกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้การคิด การรับรู้ การแสดงออกทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไปจากเดิม
การรักษาที่ได้ผลดีคือการรักษาด้วยยา ร่วมกับการทำจิตบำบัด
การดูแลตัวเองในขณะรักษา ควรทานยาสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น/สารเสพติด หมั่นออกกำลังกาย ไปพบแพทยืตามนัดทุกครั้ง หากมีอาการผิดปกติในระหว่างทานยาให้ไปพบแพทยืก่อนนัดทันทีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
โรคซึมเศร้าสามารถไปหาหมอแล้วก็ตรวจได้เลยเหรอครับ แล้วมีอาการภายนอกยังไงครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)