April 27, 2017 12:55
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ปวดประจำเดือนมี2แบบค่ะ
1. ปวดเพราะมดลูกบีบตัวเพื่อต้องการขับเลือดประจำเดือนออกมา อาการปวดแบบนี้มักไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย สามารถบรรเทาปวดได้ด้วยตนเอง อาการปวดท้องจึงถือเป็นภาวะปกติในช่วงที่มีรอบเดือนค่ะ
2.ปวดเพราะมีโรคแอบแฝง อาการปวดแบบนี้มักมีอาการผิดปกติอื่นๆร่วม เช่น ปวดรุนแรง มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีตกขาวผิดปกติ ปริมาณประจำเดือนมาก/น้อยเกินไป สีประจำเดือนดำคล้ำ มีประจำเดือนออกมาเป็นก้อน/ลิ่มเลือด กลิ่นผิดปกติ อาการผิดปกติเหล่านี้อาจบ่งถึงสัญญาณอันตรายของโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธ์เช่น เนื้องอก ซีสต์ และมะเร็งค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การปวดท้องประจำเดือน หรือปวดระดู แบ่งสาเหตุการเกิดได้เป็นหลายสาเหตุ เหตุแรกคือ ภาวะการปวดท้องประจำเดือนแบบปฐมภูมิ เป็นภาวะปวดท้องประจำเดือนที่เราทำการตรวจเบื้องต้นแล้วไม่พบรอยโรคผิดปกติในอุ้งเชิงกราน กลุ่มนี้มักเกิดในสตรีอายุน้อย ๆ ซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไป อีกสาเหตุคือ ภาวะการปวดท้องประจำเดือนที่เกิดจากโรคที่เราพบบ่อย ๆ ทางโรคเฉพาะสตรี มักเกิดในผู้หญิงที่อายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป ได้แก่ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งคือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญอยู่นอกโพรงมดลูก ไปเจริญอยู่ที่ชั้นกล้ามเนื้อมดลูกก็ทำให้เกิดเนื้องอกมดลูกประเภทหนึ่งไปเจริญอยู่ที่รังไข่ ทำให้เกิดลักษณะมีเลือดเก่าๆ อยู่ในรังไข่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายช็อกโกแลต เราก็รู้จักกันดีในโรคช็อกโกแลตซีสต์ ภาวะโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ก็จะทำให้ผู้ป่วยปวดท้องประจำเดือนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปอาจนำไปสู่ภาวะปัญหาการมีบุตรยาก เนื่องจากเกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน
การรักษาภาวะปวดท้องประจำเดือนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย ในกรณีที่ตรวจดูแล้วไม่พบรอยโรคผิดปกติ แพทย์จะให้การรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ถ้าตรวจพบเนื้องอกหรือซีสต์ขนาดไม่ใหญ่มาก ก็จะพิจารณาให้ฮอร์โมนเพื่อเป็นการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยให้การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการดูแลตนเอง โดยเฉพาะสุภาพสตรี ควรได้รับการตรวจสุขภาพโรคเฉพาะสตรี (นรีเวชวิทยา) อย่างน้อยปีละครั้ง พร้อมทั้งคอยหมั่นสังเกตรอบประจำเดือนของตัวเองว่ามาสม่ำเสมอหรือไม่ และที่สำคัญคือ ภาวะการปวดประจำเดือน ถ้าการปวดประจำเดือนมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
อาการปวดประจำเดือนผิดปกติ ต้องคิดถึงโรคอื่นด้วยนะค่ะ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ช็อกโกแลคซีสต์ เลือดออกในอุ้งเชิงกราน เนื้องอกมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ นิ่วท่อไต ไส้ติ่งอักเสบค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การปวดประจำเดือนเป็นการแสดงอาการเสี่ยงถึงการมีโรคอื่นจริงใหม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)