March 05, 2019 07:25
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
จากอาการข้างต้นนั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะเข้าได้กับการเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ครับ เนื่องจากเท่าที่อ่านดูคุณไม่ได้มีอารมณ์เศร้าหรือเบื่ออย่างต่อเนื่อง แต่จะเป็นเฉพาะในบ่งเวลาหรือในบางสถานการณ์เท่านั้น นอกจากโรคซึมเศร้าแล้วอาการในลักษณะนี้ก็อาจเป็นเพียงแค่ความเครียดตามปกติ หรืออาจเป็นเพียงลักษณะพื้นฐานของบุคลิกเดิมก็ได้ครับ
ในส่วนของโรคซึมเศร้านั้นจะเริ่มสงสัยได้ถ้าหากมีอาการคือมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ถ้าหากรู้สึกว่าอาการที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากก็สามารถไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการก่อนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคซึมเศร้าครับ
นอกจากนี้หมอก็แนะนำว่าควรดูแลสุขภาพจิตของตนเองก้วยโดยการจัดแบ่งหาเวลาให้ตนเองได้ผ่อนคลายโดยการทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เล่นดนตรี วาดรูป ฯลฯ พยายามออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ รวมถึงอาจบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นให้คนในครอบครัวช่วยรับฟังเพื่อที่จะได้ช่วยแก้ปัญหานี้ไปด้วยกันครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
หากสงสัยเกี่ยวกับอาการซึมเศร้า แนะนำให้ลองทำแบบประเมินซึมเศร้าด้วยตัวเองดูก่อนนะคะ โดยในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7 วัน 1 คะแนน
≥7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
จากนั้นรวมคะแนน หากได้มากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทางโรคจะช่วยให้อาการดีขึ้น ปรับตัวได้มากขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติอีกครั้งนะคะ
ซึมเศร้าจำเป็นต้องรักษาด้วยยาร่วมกับการทำจิตบำบัด ผู้ป่วยบางคนมีอาการเข้าข่ายซึมเศร้า แต่คิดว่าจะหายได้เองไม่ได้รับการรักษา ทำให้โรคเรื้อรังและรักษายากขึ้นได้ค่ะ ในกรณีของคุณหากประเมินแล้วมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า แนะนำพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม รับคำแนะนำหรือรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการของภาวะโรคซึมเศร้าอยู่อย่างชัดเจน แต่บางอาการที่กล่าวมาอาจมีสัญญาณในเรื่องของความเครียดที่สะสม หรือความกดดันที่ได้รับจากภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของคุณทำให้คุณรู้สึกว่าตนเองไม่ค่อยมีพลังงาน ง่วง เบื่อ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องของแรงบรรดาลใจ หรือแรงขับดันที่จะทำให้คุณมองเห็นว่าตนเองจะต้องทำอะไรในแต่ละวันมันไม่มี ทำให้คุณไม่รู้สึกว่าชีวิตกำลังเดินหน้าไปด้วยความตื่นเต้น
ทั้งนี้สิ่งที่ผมกล่าวมาด้านบนเป็นเพียงการคาดเดานะครับ หากมีอะไรตรงไหน ที่อยากจะให้ข้อมูลเพิ่มหรืออธิบายบางอย่าง ก็สามารถแจ้งเข้ามาได้ครับ ซึ่งการที่จะพยายามจัดการกับทุกสิ่งเหล่านี้ที่ผ่านมา ในเบื้องต้นหากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับเรื่องนี้ได้โดยลำพัง คุณก็สามารถติดต่อกับนักจิตวิทยา เพื่อรับบริการการให้คำปรึกษาเพื่อให้คุณเรียนรู้ในการรับมือกับความเครียด และค้นหาเป้าหมาย ความฝันของคุณได้ครับ
นอกจากการเข้าพบกับนักจิตวิทยาแล้ว การดูแลตนเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน โดยคุณอาจจะลองเริ่มจากการทานอาหารหรือการนอนหลับให้เพียงพอไม่นอนเยอะเกินไป ซึ่งจะมีส่วนในการควบคุมอารมณ์ให้คงที่และเปลี่ยแปลงความคิดบางอย่างของคุณได้ในระยะยาว นอกจากนั้นอยากให้คุณได้ลองใช้เวลาให้กับตัวเราเองเพื่อทำกิจกรรมที่ชอบทำหรือทำแล้วมีความสุขโดยอาจจะเป็นในเรื่องของ การออกกำลังกาย การดูหนัง ฟังเพลง ก็ได้ครับ สิ่งสำคัญก็คือให้เวลาตนเองได้พักผ่อนจิตใจ และดูแลตนเองได้อย่างเต็มที่และสามารถมีสภาพจิตใจที่เข้มแข็งขึ้นได้
สุดท้ายนี้หากต้องการที่จะพูดคุยกับใครซักคนแต่ว่ายังไม่พร้อมที่จะเข้าพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา คุณสามารถโทรไปที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้นะครับเพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ปลายสายเพื่อรับคำแนะนำหรือข้อมูลที่จะมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตของคุณครับ หากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การรักษา สามารถหายได้ไหมคะ หายขาดจากอะไรแบบนี้
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
อาการเหล่านี้จะมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากน้อยขนาดไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรคครับ
หมอแนะนำว่าในเบื้องต้นนั้นควรลองไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมและให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้อย่างถูกต้องครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ของหนูอยู่ในระดับน้อยค่ะ ประเมินแล้วได้10คะแนน 7-12คะแนนอยู่ในเกณฑ์ระดับน้อย สามารถแก้ไขหรือรักษาเบื้องต้นยังไงคะ
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ถึงแม้จะทำแบบประเมินแล้วมีความเสี่ยงน้อย แต่ถ้าหากได้คะแนนตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไป หมอก็แนะนำให้ลองไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการเพิ่มเติมก่อนครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
หากมีอาการต่อเนื่องเกินกว่า 2 สัปดาห์ ควรไปพบจิตแพทย์นะคะ ประเมินอาการอื่นๆเพิ่มเติม หรือ จะลองสังเกตอาการดูก่อนก็ได้ โดยการปรับแผนการดำเนินชีวิตดูใหม่ ลองทำอะไรที่ไม่จำเจดูก่อน ออกกำลังกาย เข้านอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ลดการเล่นสมาร์โฟน หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำดูก่อน หากรวมระยะเวลา 1 เดือน ยังคงมีอาการเบื่อ เหนื่อยหน่าย ไร้ความสุข แบบนี้ต้องพบจิตแพทย์ทันทีนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาค่ะ เป็นคนชอบคิดมาก ช่วงหลังๆมีอาการเหม่อ เข้าใจอะไรยาก นอนเยอะ นอนเท่าไหร่ก็ยังง่วง ตื่นมาไม่ค่อยสดใส ชอบเบื่อกับการอยู่กับคนอื่นเยอะๆ อยู่แต่กับครอบครัวและแฟน คิดจะลงมือทำอะไรก็ขี้เกียจ แต่เวลาเข้ากับใครก็เป็นปกตินะคะ อารมณ์ไม่ได้ขึ้นลง อารมณ์ปกติ ถ้าอารมณ์ขึ้นก็สามารถบังคับตัวเองได้ หนูไม่อยากคิดว่าตัวเองกำลังจะเป็นกลุ่มซึมเศร้า อยากมาปรึกษาหมอดีกว่าค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)