June 10, 2019 09:44
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
หากมีอาการต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ อาจจะไม่ใช่ความเบื่อจากเรื่องในชีวิตประจำวันแบบธรรมดา แต่อาจบึงถึงอาการผิดปกติทางสภาวะอารมณ์ ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าก็เป็นไปได้ค่ะ
เบื้องต้นลองประเมินอาการซึมเศร้าด้วยตัวเองดังนี้นะคะ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมวันนี้ มีอาการเหล่านี้เกิน 7 ข้อและเป็นต่อเนื่องเกือบทุกวันหรือไม่
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.มีปัญหาการนอนหลับ
5.มีปัญหาด้านการกิน
6.ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืม
7.หงุดหงิด รำคาญใจ กระสับกระส่าย
8.ขี้น้อยใจ รู้สึกไร้ค่า
9. อยากตาย หรืออยากทำร้ายตัวเอง
หากประเมินแล้วมีอาการเข้าข่ายซึมเศร้า ควรไปพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ การรักษาจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมองให้เป็นปกติ ร่วมกับการทำจิตบำบัดเพื่อช่วยให้ปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
เหมือนที่พี่นักจิตวิทยาได้แจ้งไว้นะครับ ว่าจากอาการดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้ว่าจะพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้าได้หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันนนาน และเริ่มมีอาการอื่นๆเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่อยากให้ตระหนักก็คือสาเหตุของอาการเหล่านี้ว่าตัวเรามีสาเหตุมาจากอะไรหรือว่ามีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เรารู้สึกเบื่อ รู้สึกว่าไม่มีแรงจะทำอะไร ซึ่งการตระหนักรู้ในสาเหตุก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำมาซึ่งวิธีการที่เหมาะสมในการดูแลตนเองของเราครับ
หากคุณรู้สึกว่าอาการเหล่านี้ค่อนข้างเข้ามารบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ก็อยากแนะนำให้ลองเข้าปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาดูได้นะครับเพื่อรับการประเมินและพูดคุยในเรื่องแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปครับ
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ผมขอเพิ่มเติมว่า คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเบื่อหน่ายลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการฝึกเพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากทราบว่า อาการที่รำคาญทุกอย่าง เบื่อทุกอย่าง อยากอยู่คนเดียว อ่อนเพลีย ทำอะไรนานๆไม่ได้ อาการเหล่านี้เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้างครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)