May 14, 2018 22:03

ตอบโดย
จิตตรีพร
อริปริยะกุล
(พยาบาลวิชาชีพ)
eye
แนะนำให้พบจักษุแพทย์ที่รักษาเรื่องกล้ามเนื้อตาเด็กนะคะ เพื่อดูว่ามีเหล่มากน้อยเพียงใด แพทย์อาจจะพิจารณาให้ใช้แว่นตาหรือลองให้ปิดตาข้างที่ดีกระตุ้นให้ใช้ตาข้างที่เหล่ หากไม่ดีขึ้นอาจจะต้องทำการผ่าตัดดึงกล้ามเนื้อตาค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตอบโดย
ณัฐพร ชัยนคร (พยาบาลวิชาชีพ)
ภาวะตาเหล่หรือตาเขดังกล่าวที่เกิดขึ้นหลังจากศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนรุนแรง อาจเป็นภาวะตาเขชนิดอัมพาตของประสาทกล้ามเนื้อตา เกิดจากอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกอย่างรุนแรงจนทำให้ประสาทบังคับการกลอกลูกตามัดใดมัดหนึ่งเป็นอัมพาตไปทันที
การรักษาภาวะตาเหล่
การรักษาโรคนี้ประกอบด้วย
-ใส่แว่นตาหรือ contact lens
-ปิดตาข้างที่ใช้งานมากกว่า
-ใช้เลนส์prism โดยเลนส์นี้จะช่วยเปลี่ยนแสง-ที่เข้าสู่ตาและช่วยลดการหมุนของตาเพื่อให้สามารถมองได้ชัด
-การบำบัดตา คือการออกกำลังกายเพื่อช่วยให้การทำงานประสานกันของตาทั้ง 2 ข้างและการมองดีขึ้น
-การผ่าตัด
แต่ทั้งนี้ควรพาน้องไปพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยและตรวจรักษาติดตามอาการต่อเนื่องนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
น้องอายุ 5 ปี ลื่นหงายหลังหัวกระแทกพื้น มีอาเจียน ปวดศรีษะ กินไม่ได้ หลับเปนส่วนใหญ่ (ปกติเป็นเด็กร่าเร่ง) CT normal 10 วันผ่านไป อาการปวดหัวดีขึ้น เริ่มกินได้ (ปกติกินได้เยอะ) ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน แต่มีตาเหล่ CT ครั้งที่ 2 normal ต้องทำไงต่อค่ะ แล้วจะหายเปนปกติมั้ยค่ะ ปล.ลักษณะการมองของเค้าไม่เหมือนเดิมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)