March 04, 2019 02:52
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีอารมณ์เศร้า ร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือเป็นติดต่อกันนานมากกว่าที่ควรจะเป็นนั้นถือเป็นอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้แม้จะไม่มีความคิดอยากฆ่าตัวตายครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ในกรณีนี้หมอแนะนำให้ลองไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาต่อไปได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
หากรู้สึกว่าตนเองมีอาการหลายๆอย่างตรงกับที่คุณหมอให้ไว้ด้านบน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีในเรื่องของการคิดแผนฆ่าตัวตาย แต่หากเริ่มมีความรู้สึกว่าไม่อยากอยู่ มีความเศร้าเยอะขึ้น ร้องไห้บ่อยๆ และเริ่มที่จะทำให้การเรียน การทำงาน หรือแม้กระทั่งเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้อื่นเสียไป ตรงนี้ก็ควรที่จะติดต่อกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมิน และรับการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปนะครับ เพราะว่าหากปล่อยไว้ อาจจะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น และอาจจะทำให้การทำงานหรือการเรียนในชีวิตได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นครับ
ในการเข้าพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ก็จะทำให้คุณได้รับยาหรือการทำจิตบำบัดควบคู่กันไปขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของคุณ ตัวจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่เจอนะครับ แต่นอกจากการเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว การดูแลตนเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน โดยคุณอาจจะลองเริ่มจากการทานอาหารหรือการนอนหลับให้เพียงพอ ซึ่งจะมีส่วนในการควบคุมอารมณ์เศร้า และเปลี่ยแปลงความคิดบางอย่างของคุณได้ในระยะยาว นอกจากนั้นอยากให้คุณได้ลองใช้เวลาให้กับตัวเราเองเพื่อทำกิจกรรมที่ชอบทำหรือทำแล้วมีความสุขโดยอาจจะเป็นในเรื่องของ การออกกำลังกาย การดูหนัง ฟังเพลง ก็ได้ครับ สิ่งสำคัญก็คือให้เวลาตนเองได้พักผ่อนจิตใจ และดูแลตนเองได้อย่างเต็มที่และสามารถมีสภาพจิตใจที่เข้มแข็งขึ้นได้
สุดท้ายนี้หากต้องการที่จะพูดคุยกับใครซักคนแต่ว่ายังไม่พร้อมที่จะเข้าพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา คุณสามารถโทรไปที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้นะครับเพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ปลายสายเพื่อรับคำแนะนำหรือข้อมูลที่จะมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตของคุณครับ หากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
หากสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรคซึมเศร้าสามารถเช็คอาการด้วยการทำแบบประเมินซึมเศร้าด้วยตัวเองดูก่อนนะคะ โดยในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7 วัน 1 คะแนน
≥7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
จากนั้นรวมคะแนน หากได้มากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทางโรคจะช่วยให้อาการดีขึ้น ปรับตัวได้มากขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติอีกครั้งนะคะ
ซึมเศร้าเกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ การรักษาจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้เราควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมต่างๆได้อย่างเหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
หากสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรคซึมเศร้าสามารถเช็คอาการด้วยการทำแบบประเมินซึมเศร้าด้วยตัวเองดูก่อนนะคะ โดยในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7 วัน 1 คะแนน
≥7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
จากนั้นรวมคะแนน หากได้มากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทางโรคจะช่วยให้อาการดีขึ้น ปรับตัวได้มากขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติอีกครั้งนะคะ
ซึมเศร้าเกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ การรักษาจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้เราควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมต่างๆได้อย่างเหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คือหนูไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าไหมแต่ที่อ่านข้อสังเกตุมามันตรงทุกข้อยกเว้นข้อที่บอกว่าอยากฆ่าตัวตาย หนูไม่ได้อยากไม่ได้อยากฆ่าตัวตายส่วนมากจะมีความริดที่ว่า ไม่อยากอยู่ตรงนี้อยากออกไปข้างนอกอยากอยู่คนเดียว ส่วนมากที่ไปอยู่คือสะพานลอยค่ะ แต่ไม่ได้มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายนะคะ คิดแค่ว่าอยากหายไปไม่อยากอยู่ตรงนี้ และอาการเป็นมาหลายเดือนแล้วค่ะร้องไห้ทุกวันค่ะ ตอนนี้สับสนว่าตัวเองได้เป็นไหมหรือแค่เครียด คุณหมอมีแนะนำไหมคะ หนูอาจจะพิมพ์งงๆ ขอโทษด้วยนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)