December 20, 2018 00:45
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีอารมณ์ผิดปกติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยที่ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดเจน บางครั้งเศร้า ไม่อยากทำอะไร จนมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย บางครั้งก็กลับมาร่าเริง พูดเก่งขึ้น จนส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน รบกวนการใช้ชีวิตนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- การปรับตัวกับความเครียดที่ผิดปกติ
- โรคอารมณ์สองขั้วหรือโรคไบโพลาร์
- โรคซึมเศร้า
- อารมณ์ที่แปรปรวนตามรอบเดือน
การที่จะบอกสาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ผิดปกติเหล่านี้ได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยการตรวจประเมินอาการจากจิตแพทย์โดยตรงก่อนครับ เนื่องจากการวินิจฉัยโรคทางอารมณ์จะต้องมีการประเมินอาการในหลายๆส่วน เช่น อาการที่เกิดขึ้นโดยรวม ลักษณะของอารมณ์ ความคิด วิธีการพูด ตลอดไปจนถึงท่าทางต่างๆ และในหลายๆสาเหตุที่เป็นไปได้นั้นก็อาจเกิดขึ้นได้จากการทำงานของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติไป การรักษาด้วยยาเพื่อปรับการทำงานของสารเคมีในสมองใหม่จึงยังอาจมีความจำเป็นอยู่ครับ
ในเบื้องต้นนั้นหมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการเพิ่มเติมก่อน เพื่อที่จะได้ให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และเลือกวิธีการที่จะรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ โดยอาจเป็นการรักษาด้วยยา ทำจิตบำบัด การเข้ากิจกรรมกลุ่ม ฯลฯ ซึ่งวิธีการรักษานั้นก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็นและความเหมาะสมของแต่ละบุคคลซึ่งทางจิตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเบือการรักษาที่เหมาะสมให้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาจะพบได้ว่าคุณเคยมีประสบการณ์ในการดูแลด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเองอยู่พักหนึ่ง และตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับสภาวะว้าวุ่น และสับสนในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองนะครับ
ในส่วนนี้หากว่าไม่ต้องการยาในการรักษา สิ่งที่สามารถทำได้ก็คือการนัดกับนักจิตวิทยาเพื่อเข้ารับการพูดคุยและเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้เรียนรู้ตนเองมากขึ้นครับ แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งการรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการพูดคุยกับนักจิตวิทยาก็จะสามารถมาส่งเสริมให้ผลการรักษาเป็นไปได้อย่างน่าพึงพอใจมากขึ้นได้นะครับ
เพราะว่าจากที่เล่ามามีอาการอื่นๆหลากหลาย ซึ่งค่อยๆเป็นตัวที่ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณไม่มีสิ่งที่ต้องดูแลมากกว่าปกติ ดังนั้น คุณอาจจะต้องลองหันกลับมาดูแลตนเองมากขึ้น พยายามแบ่งเวลาส่วนหนึ่งเพื่อทำกิจกรรมที่จะทำให้ผ่อนคลายหรือทำกิจกรรมที่น้องชอบนะครับ เพราะการเรียนที่มากเกินไปก็จะเป็นการเพิ่มความเครียดให้ตนเอง ที่จะทำให้สมองเราไม่สามารถมีสมาธิและยังส่งผลต่อสภาพจิตใจของเราอีกด้วย การลองออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการพูดคุยปรึกษาปัญหาเหล่านี้กับคนที่เราไว้ใจนั่น ก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้น้องสามารถบริหารจัดการกับความเครียดในชีวิตที่เกิดขึ้นได้ครับ พยายามทานอาการให้ครบมื้อไว้ และพยายามนอนหลับให้ได้เพียงพอนะครับ
สุดท้ายนี้หากมีความคิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้นเยอะ สิ่งที่พอจะสามารถทำได้ก็คือการลองโทรเข้าไปที่เบอร์สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ซึ่งมีบริการ 24 ชม. หรือสมาคมสะมาริตันส์ 02-713-6793 เวลา 12:00 น. - 22:00 น. ซึ่งเขาจะมีบริการในด้านการใหัคำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ทำให้อย่างน้อยคุณก็สามารถพูดคุยปรึกษากับเจ้าหน้าที่ที่ได้มีการอบรมด้านนี้มาได้ครับ โดยก็จะไม่มีการเสียค่าบริการครับ นอกจากนั้นหากมีอะไรสงสัยก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ โดยจะพยายามหาคำตอบมาให้ได้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการดังกล่าวเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติของการปรับตัว หรือจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ในกรณีที่ปล่อยให้มีอาการต่อเนื่องนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ อาจนำไปสู่โรคทางด้านอารมณ์ อย่างโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้วก็เป็นไปได้ค่ะ
วิธีการรักษาที่ได้ผลดี อาจจำเป็นต้องใช้ยา เพื่อปรับสมดุลการหลั่งสารเคมีในสมอง ซึ่งจะช่วยให้ความคิด สภาวะทางอารมณ์ รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกได้เหมาะสมมากขึ้น จากนั้นหากประเมินแล้วพบปัญหาบางอย่างที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการอาจต้องทำจิตบำบัดควบคู่กันไปด้วย
หากมีอาการต่อเนื่องนานๆ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำพบจิตแพทย์เถอะนะคะ เพราะหากถึงขั้นนี้ลำพังวิธีการปรับตัว ปรับใจ หรือทักษะการควบคุมอารมณ์ อาจไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หนูไม่รู้ตัวเองเป็นอะไร.. บ่อยครั้งหนูอยากอยุ่คนเดียวในที่เงียบๆไม่ต้องเจอใครอีกเลย อยากขังตัวเองไว้ในห้อง แต่บางที..ก็อยากออกมาข้างนอกไปในที่คนเยอะๆไปในที่ๆไม่มีใครรู้จัก หนูพูดไม่เก่ง หนูไม่ใช่คนช่างพูด บ่อยครั้งคนรอบข้างบอกหนูโลกส่วนตัวสูง หนูไม่ชอบให้ใครมายุ่งกับของๆหนู หนูมีปัญหาเรื่องอารมณ์รุนแรงซึ่งเคยได้รับการรักษามาแล้วครั้งนึงแต่ก็หยุดไปเพราะหนูไม่ยอมไปหาหมออีก อยู่ต่อหน้าคนอื่นหนูเป็นคนร่าเริง พูดเก่ง มั่นใจในตัวเอง หนูมักมีอาการปวดหัวและเวียนหัวบ่อยครั้งจนต้องพบแพทย์พวกเขาลงความเห็นว่าหนูเครียดเกินไป หนูไม่รู้ว่าตัวเองเครียดอะไร หนูลืมเรื่องราวต่างๆบ่อยครั้ง จำไม่ได้ว่าตัวเองพูดอะไรในสองสามนาทีก่อน ลืมแม้กระทั่งตัวเองกำลังโกรธอะไร เศร้าเรื่องอะไร กังวัลเรื่องอะไร หรือเครียดเรื่องอะไร หนูเคยคิดฆ่าตัวตาย...แต่หนูห่วงครอบครัว หนูรู้สึกไร้ค่า อยากนอนเฉยๆ อยากนอนนานๆ ไม่อยากทำอะไร รู้สึกอ่อนเพลียตลอด ร่างกายไม่สดชื่น หนูรู้สึกสบสนในตัวเอง บ่อยครั้งหนูพูดไม่หยุดพูดเร็ว พูดเหมือนไม่เคยได้พูด แต่เมื่อถึงจุดๆนึงหนูจะหยุดพูดกะทันหัน และไม่พูดอีกเลย (หมายถึงไม่พูดทั้งวัน) หนูทรมานและอยากหาย แต่หนูไม่ต้องการยา!!
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)